ทรงสร้างประโยชน์สุขสู่ปวงประชา เสกสรร สิทธาคม [email protected] อาชีวะพัฒนานศ.เทคนิคราชบุรีทำดีถวายพ่อ ปรับปรุงระบบไฟฟ้าให้รร.รุจิรพัฒน์ถวายเป็นพระราชกุศล(1) “คุณธรรม ข้อหนึ่งที่ยังมีอยู่อย่างบริบูรณ์ในจิตใจของคนไทยก็คือ การให้ การให้นี้ไม่ว่าจะให้สิ่งใด แก่ผู้ใดโดยสถานใดก็ตาม เป็นสิ่งที่พึงประสงค์อย่างยิ่ง เพราะเป็นเครื่องประสานไมตรีอย่างสำคัญระหว่างบุคคลกับบุคคลและให้สังคมมี ความมั่นคงเป็นปึกแผ่นด้วยสามัคคีธรรม” พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๕ ศูนย์ประชาสัมพันธ์สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.)กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)ชวนไปเยือนโรงเรียนรุจิรพัฒน์ 555 หมู่3 ตำบลตะนาวศรี อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ห่างจากตัวจังหวัดราวๆ 100 กิโลเมตรไปกลับก็ตกราว 200 กิโลเมตร ณ พื้นที่นั้นอีกไม่กี่มากน้อยก็ถึงเทือกเขาตะนาวศรี ข้ามไปอีกฟากก็ประเทศเมียนม่า ที่โรงเรียนก็เห็นยอดเขาตะนาวศรีเหมือนจะอยู่แค่เอื่อมไปหนนี้ไปเยี่ยมชมกิจกรรมที่วิทยาลัยเทคนิคราชบุรีนำคณะนักเรียนนักศึกษาครูอาจารย์ไปทำความดีเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลโครงการ “อาชีวะพัฒนา”ทำความดีถวายพ่อ ด้วยการปรับปรุงระบบไฟฟ้าในอาคารทั้งโรงเรียนใหม่เพื่อให้เด็กนักเรียนมีแสงสว่างอย่างสม่ำเสมอในการเรียน โรงเรียนริจรพัฒน์พื้นที่อำเภอสวนผึ้งอำเภอเล็กๆอยู่ห่างตัวจังหวัดพอสมควรอย่างที่บอก เห็นจะพูดได้เต็มปากกระมังว่าโรงเรียนนี้อยู่ไกลปืนเที่ยง ชาวบ้านในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นชนเผ่ากระเหรี่ยง กระหร่างและเชื่อสายพม่าที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารราว 95% ในอดีตนั้นชาวชนเผ่าส่วนหนึ่งมีรับจ้างทำงานอยู่ในเหมืองแร่ โรงเรียนซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่เหมืองเก่าจึงเป็นสถานศึกษารองรับลูกหลานชนเผ่าดังกล่าวที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)เปิดสอนอนุบาลถึงมัธยมปีที่3 ชุมชนรอบๆโรงเรียนอยู่ในรัศมีป่าอนุรักษ์ตามพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าสิริพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่9 โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้งศูนย์ศิลปาชีพในพื้นที่อำเภอสวนผึ้งด้วยพระราชประสงค์ให้เป็นแหล่งสร้างงาน สร้างอาชีพและเกิดรายได้แก่ชาวบ้าน โรงเรียนที่อยู่ไกลปืนเที่ยงอย่างรุจิรพัฒน์จึงนับเป็นโรงเรียนที่ไม่อาจจัดการเรียนการสอนได้อย่างราบรื่นนัก ต้องพบเจออุปสรรคหลายอย่างหลายด้าน โดยเฉพาะการขาดแคลนเกี่ยวกับอุปกรณ์การเรียนการสอน การขาดแคลนที่สำคัญเห็นจะเป็นด้านครูเพราะอยู่ไกลกันดาร ไม่มีครูที่อยากจะไปอยู่นัก ไปสอนไม่นานก็ขอย้ายเพราะไม่สะดวกในการดำเนินชีวิต แล้วก็ยังขาดแคลนปัจจัยทำนุบำรุงด้านเครื่องอุปโภค ปัจจัยบำรุงอุปกรณ์การเรียนการสอน แต่ว่ากันว่าผู้บริหารส่วนหนึ่งคุณครูส่วนหนึ่งก็ทุ่มเทหัวใจอุทิศตัวอบรมบ่มนิสัยเยาวชนให้เป็นคนดีมีความรู้เพื่อเป็นเครื่องมือสร้างฐานะครอบครัว พัฒนาชุมชนและเป็นคนดีของสังคม จนได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานความช่วยเหลือผ่านกองทุนการศึกษาพระราชทานที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้คณะองคมนตรีดูแล ในส่วนพื้นที่จังหวัดราชบุรีนั้นนายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรีดูแลรับผิดชอบ มีผู้ใจบุญใจกุศลรับรู้ถึงความยากลำบากและเดือดร้อนของโรงเรียนได้ยื่นมือเข้าช่วยทำนุบำรุงร่วมโดยเสด็จพระราชกุศล ทำให้มีความพร้อมความสะดวกหลุดพ้นจากสภาพที่เคยขาดแคลนเครื่องมืออุปกรณ์การเรียนการสอน คุณครูได้รับการดูแลให้อยู่ดีมีสุขไม่ลำบากดังแต่ก่อน มีเรือนพักครู ที่สร้างโดยเงินกองทุนพระราชทาน วันนี้โรงเรียนรุจิรพัฒน์มีพัฒนาการด้านการจัดจัดการเรียนการสอน ทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สัญญาณการศึกษาทางไกล น้ำดื่มสะอาดจากเครื่องกรองน้ำที่ทันสมัย ที่สำคัญชาวชุมชนได้ร่วมรับประโยชน์จากทุกสิ่งทุกอย่างเหล่านี้ด้วย แต่ทุกอย่างล้วนอนิจจัง เกิดขึ้น แล้วก็เสื่อมสลาย อุปกรณ์ระบบไฟฟ้า สายไฟ ปลั๊กไฟถึงกาลเวลาที่จะต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลง เพราะเป็นความสำคัญหนึ่งในความสะดวกการเรียนการสอนของเด็กๆ นั่นคือสายไฟฟ้า ทั้งในห้องเรียนห้องพัก เบ้าปลั๊ก ทั้งความสว่าง ทั้งคอมพิวเตอร์ ถึงเวลาต้องเดินสายใหม่ ก่อนจะเล่าถึงโครงการทำความดีถวายพ่อของวิทยาลัยเทคนิคราชบุรี ณ โรงเรียนรุจิรพัฒน์ ตำบลตะนาวศรี อำเภอสวนผึ้ง ขอพูดถึงความเป็นมาแห่ง “โครงการกองทุนการศึกษา”พระราชทานพอสังเขป “ให้ครูรักเด็ก และเด็กรักครู ให้ครูสอนให้เด็กมีน้ำใจต่อเพื่อน ไม่ให้แข่งขันกัน แต่ให้แข่งกับตัวเอง และให้เด็กที่เรียนเก่งช่วยสอนเพื่อนที่เรียนช้ากว่า ให้ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนทำร่วมกัน เพื่อให้เห็นคุณค่าของความสามัคคี” พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช นายแพทย์ เกษมวัฒนชัย องคมนตรี เชิญกระแสพระราชดำรัสข้างต้นนำสู่การเกิดโครงการทุนการศึกษาพระราชทาน แล้วเล่าให้ฟังพอสรุปความได้ว่าในช่วงปี พ.ศ.2553 โรงเรียนบางมูลนากภูมิวิทยาคม ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1-6 ตั้งอยู่ที่อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร มีนักเรียนประมาณ 2,000 คน และคณาจารย์ ประมาณ 90 คน ได้รับการพัฒนาให้เป็นโรงเรียนคุณธรรมแห่งแรก โดยมี นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ในฐานะศิลย์เก่าของโรงเรียน เป็นผู้ริเริ่มปรับปรุงและพัฒนาโรงเรียนจนประสบผลสำเร็จ และได้รับการยกย่องให้เป็นโรงเรียนคุณธรรม “บางมูลนากภูมิวิทยาคมโมเดล” ต่อมาในช่วงต้นปี พ.ศ.2555 พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่9 ทรงมีพระราชประสงค์ว่า “ให้โรงเรียนสร้างคนดีให้แก่บ้านเมือง” และทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้ง “โครงการกองทุนการสึกษา” โดยได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อดำเนินงานในกองทุนฯ และได้พระราชทานหลัก 3 ประการในเรื่องครูและนักเรียน ดังนี้ “ให้ครูรักเด็ก และเด็กรักครู ให้ครูสอนให้เด็กมีน้ำใจต่อเพื่อน ไม่ให้แข่งขันกัน แต่ให้แข่งกับตัวเอง และให้เด็กที่เรียนเก่งช่วยสอนเพื่อนที่เรียนช้ากว่า ให้ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนทำร่วมกัน เพื่อให้เห็นคุณค่าของความสามัคคี” ทิ้งท้ายที่มาของโครงการกองทุนการศึกษาพระราชทานที่นายแพทย์ เกษม วัฒนชัยให้ข้อมูลเป็นเบื้องต้นไว้เท่านี้ก่อน(อ่านต่อ) …............................................................