ทรงสร้างประโยชน์สุข ศูนย์เรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ฯ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีร้อยเอ็ด(1) เสกสรร สิทธาคม [email protected] “ ….ความจริงเคยพูดเสมอในที่ประชุมอย่างนี้ว่า การที่จะเป็นเสือนั้นมันไม่สำคัญ สำคัญที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินหมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ให้มีพอเพียงกับตัวเอง...” พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลที่9 พระราชทานเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2540 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงให้ความสำคัญต่อการศึกษาทรงตระหนักถึงพสกนิกรทุกคนที่ควรต้องได้รับการส่งเสริมสนับสนุนให้ได้เรียนหนังสือหรือได้ศึกษาเรียนรู้ทั้งสายสามัญสายวิชาชีพอย่างทั่วถึง ทั้งในระบบ นอกระบบและหรือตามอัธยาศัย เฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนในท้องถิ่นห่างไกลความจริญ เยาวชนในครอบครัวที่ยากจนขาดแคลนทุนทรัพย์ทรงให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ทรงเอาพระราชหฤทัยใส่ให้เกิดการจัดการศึกษาอย่างเช่นทรงจัดตั้งโรงเรียนพระราชทานโอกาสให้แก่ยาวชนมีช่องทางได้เรียนหนังสือเช่นโรงเรียนวังไกลกังวล โรงเรียนพ่อหลวงอุปถัมภ์ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ฯ เป็นต้น ทรงส่งเสริมการศึกษานอกโรงเรียนเช่นทรงก่อตั้งโรงเรียนพระดาบสเป็นต้นแล้วยังทรงส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัย เช่นการพระราชทานแนวทางให้เกิดศึกษาเรียนรู้ในทางประกอบอาชีพผ่านโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริอันมีศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริทั้ง 6 แห่งเป็นต้น การศึกษาตามอัธยาศัยตามแนวพระราชดำรินั้นทรงให้ความสำคัญกับอาชีพการเกษตรอันเป็นอาชีพหลักของคนไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่9 จึงพระราชทานหลักการประกอบอาชีพเกษตรกรรมอันได้แก่เกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ ให้เป็นทางเลือกของคนไทยทุกคนเพื่อศึกษาเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต แล้วสำคัญเหนืออื่นใดทรงเป็นแบบอย่างแห่งการศึกษาเรียนรู้ตลอดชีวิตทรงเป็นแบบอย่างแห่งการศึกษาการฝึกฝนจนมีพระอัจฉริยภาพคือทรงเชี่ยวชาญอย่างเอกอุในศาสตร์แห่งการอาชีพหลากหลายด้าน ด้วยเพราะทรงมีความเพียร ทรงมีความอดทนไม่ทรงท้อที่จะต้องทำให้สำเร็จและรอบรู้ที่นำมาซึ่งความภาคภูมิใจของคนไทยทั้งประเทศจนทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งการช่างฝีมือไทย”ตัวอย่างเช่นพระอัฉริยภาพในการสร้างเรือใบมด ทรงสร้างกังหันชัยพัฒนาเป็นต้น ในทางอาชีพเกษตรกรรมก็ทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญา “กษัตริย์เกษตร”เช่นเดียวกัน กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) เป็นกระทรวงหน่วยงานภาครัฐที่มีภารกิจหน้าที่จัดการศึกษาอบรมบ่มนิสัยเยาวชนตั้งแต่ยังเล็กไปจนเติบโตเพื่อให้มีความรู้ความสามารถควบคู่ไปกับความเป็นคนดีมีระเบียบวินัย เพื่อสามารถนำเป็นเครื่องมือในการสร้างฐานะครอบครัว เป็นกำลังสร้างชาติบ้านเมืองไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง โดยน้อมนำหลักการทรงงาน น้อมนำแนวพระราชดำรัส พระราชดำริมาเป็นหลักเป็นนโยบายได้กำหนดเป้าหมายในการขับเคลื่อนการจัดการเรียนการสอนทุกระดับตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงฯสู่สถานศึกษา หนึ่งในหน่วยงานสังกัดกระทรวงศึกษาคือกรมอาชีวศึกษาที่จัดการเรียนการสอนสายวิชาชีพ ได้ตระหนักถึงการเดินตามรอยพระยุคลบาทอย่างเป็นต้นว่าอาชีพการเกษตรกรรม เพื่อปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนรู้จักการใช้ชีวิตในการเรียนอย่างรู้หน้าที่เรียนหนังสือการลงมือทำด้วยความเพียร ขยันอดทน ด้วยความเอาใจใส่ตั้งใจยอมรับการอบรมบ่มนิสัยเป็นคนดีที่จะเรียนร่วมกับคนอื่นทำกิจกรรมร่วมกับคนอื่นอย่างมีเมตตามีความรักรู้จักให้อภัยแก่กันและกันอันเป็นการปลูกฝังหล่อหลอมวิถีแห่งความรู้จักพอเพียงตามแนวพระราชดำริเดินตามรอยเบื้องพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่9 ได้เริ่มศึกษาเรียนรู้วิถีแห่งเกษตร สภาพแวดล้อมคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติต่างๆไม่ว่าจะเป็นแหล่งน้ำ ต้นไม้ ชีวิตทุกชีวิตที่อยู่ร่วมกันอย่างสุขสงบมากกว่าจะไปเบียดเบียน ให้เริ่มได้เห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติต่างๆฝึกการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นอย่างเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และแบ่งปัน มีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมและเห็นคุณค่าของวัฒนธรรรม ประเพณี ศิลปะ ค่านิยม และเอกลักษณ์ของความเป็นไทย จัดการศึกษาให้ก้าวย่างไปบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงฯน้อมนำศาสตร์พระราชา มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และการบริหารจัดการสถานศึกษา เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติในทุกระดับได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล พัฒนาผู้เรียนให้มีความพร้อมทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และ สติปัญญา เพื่อความสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข เป็นพลังสำคัญของประเทศชาติสืบไป(อ่านต่อ) ข้อมูล : ชาญณรงค์ ช่างสลัก และสุทธิลักษณ์ ศิรินันติกุล วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีร้อยเอ็ด