พญ.ชินมนัส ตั้งจาตุรนต์รัศมี ประชาสัมพันธ์สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ระบุภาวะผมบางจากพันธุกรรม เรียกว่า โรคผมบางจากพันธุกรรม หรือที่เรียกกันว่า โรคศีรษะล้าน เกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมร่วมกับฮอร์โมนเพศชายที่มีมากกว่าปกติ ขณะในผู้หญิงสาเหตุยังไม่แน่ชัด ทำให้ปัจจุบัน จึงนิยมเรียกโรคผมบางจากพันธุกรรมกันใหม่ว่า โรคผมบางที่มีรูปแบบเฉพาะ โรคนี้เกิดในผู้ป่วยวัยกลางคน จะเริ่มมีอาการตั้งแต่หลังวัยรุ่น ชายจะเป็นในช่วงอายุน้อยมากกว่าหญิง การรักษา ผู้ชายจะใช้ยาทา-ยากิน ถ้าเป็นไม่มากใช้ยาทา 2-5% Minoxidil lotion แต่ถ้าเป็นมาก อาจใช้ ยาทา2-5% Minoxidil lotionร่วมกับยากินFinasteride 1 มก.ต่อวัน หญิง ใช้ยาทา 2-5% Minoxidil lotion อย่างเดียว ขณะยากินพบว่ายังไม่ได้ผล ที่สำคัญ หญิงตั้งครรภ์-ให้นมลูก อาจทำให้เกิดความผิดปกติกับทารกได้ ทั้งต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์เพื่อระวังผลข้างเคียงอีก การรักษาวิธีอื่น เช่น ย้ายปลูกถ่ายรากผม เหมาะกับคนผมบางมากและอาจทำได้เฉพาะบางราย, ใช้เลเซอร์ -หมวกเลเซอร์ กระตุ้นให้มีผมมากขึ้น เหมาะกับกรณีผมบางไม่มาก อีกทั้งยังไม่มีการศึกษาผลข้างเคียงระยะยาว ขณะผลข้างเคียงของยาทาอาจระคายเคืองหนังศีรษะ (7%) ขนขึ้นหน้า (5%) ปวดศีรษะ (3%) ขณะยากินในเพศชาย อาจมีผลให้การแข็งตัวของอวัยวะเพศลดลง (1-2%) ทั้งต้องระวังลดขนาดยากับผู้ป่วยโรคตับ ทั้งนี้ การรักษาผมบางที่มีรูปแบบเฉพาะนี้ต้องทำไปตลอด หากหยุดยา ผมอาจกลับไปบางเท่าเดิม ขณะการรักษาที่ใช้เวลานานอาจทำให้หลายรายท้อ แต่หากไม่รักษา ผมก็จะบางมากขึ้นอีก โดยพบว่ามีโอกาสถึง 93% ที่ผมจะบางเพิ่มขึ้นในช่วง 5 ปี จึงควรรักษาอย่างต่อเนื่องและประเมินผลใน 1 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยาออกฤทธิ์มากที่สุด... ภาพ http://www.natureshop.in.th/