ศาสตร์พระราชา ...เพื่อความผาสุกของปวงประชา (จบ) อุทมพร สุขแพทย์ ผู้ใหญ่บ้านชุมชนหมู่ 8 สามัคคี ตำบลนิคมสร้างตนเอง อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี หลุ่มขนมครก หยุดท่วม-หยุดแล้ง อย่างยั่งยืน หนึ่งปีที่ทำหลุมขนมครกสู่หัวคันนาทองคำ บทพิสูจน์ของการจัดการน้ำที่แก้ปัญหาได้จริง ผู้ใหญ่อ้อย หันหลังให้ชีวิตในเมืองหลวงกลับบ้าน เมื่อได้พบกับความสูญเสียอย่างต่อเนื่องทำให้คิดได้ว่าต่อให้มีเงินมากมายขนาดไหนก็ไม่สามารถยื้อชีวิตไว้ได้ จากนั้นจึงมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณประโยชน์แก่แผ่นดิน ผู้ใหญ่อ้อยได้ปรับพื้นที่ 19 ไร่ ขุดหนองน้ำขนาดใหญ่เพื่อเป็นหลุมขนมครก ปั้นหัวคันนาเป้นรูปเลบ 9 ซึ่งแปรเปลี่ยนเป็นหัวคันนาทองคำให้ผลผลิตมากมายเหลือกินภายในเวลาเพียง 1 ปี หนองน้ำของผู้ใหญ่อ้อยได้ช่วยรองรับน้ำจากชุมชนในฤดูน้ำหลากและเป็นแหล่งน้ำสำรองในฤดูแล้ง พื้นที่แห่งนี้ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าการบริหารจัดการน้ำแบบนี้แก้ปัญหาได้จริง ปัจจุบันผู้ใหญ่อ้อยเป็นผู้นำเครือข่ายลพบุรี เป็นกำลังหลักของการเผยแพร่ศาสตร์พระราชาต่อไป ศูนย์เรียนรู้ชุมชน บ้านหินโง่น มีพื้นที่ หมู่ 5 ตำบลศิลา อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อเขาหัวโล้นกำลังจะเปลี่ยนเป็นเขาหัวจุก บ้านหินโง่นมีพื้นที่เป็นภูเขาหัวโล้นเพราะการถางป่าเพื่อปลูกข้าวโพด เมื่อได้ทำตามแนวทางศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่น หลุ่มขนมครก หยุดท่วม-หยุดแล้ง อย่างยั่งยืน “เปลี่ยนเขาหัวโล้นมาเป็นเขาหัวจุก” จนเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์มีพืชพรรณที่หลากหลาย ทั้งไม้ผลและพืชผักอันเป็นแหล่งอาหารและให้ความร่มเย็น เป็นตัวอย่างของการเปลี่ยนแล้วรอดโดยแกนนำคนสำคัญคือ ครูศิลา ม่วงงาม แห่งโรงเรียนบ้านหินโง่นผู้ได้ทำตามแนวพระราชดำริมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2530 จนประสบความสำเร็จ สามารถเป็นต้นแบบของชุมชนได้ เมื่อโครงการฯ ไปถึงจึงเกิดความร่วมมือในการขยายผลไปยังพื้นที่โรงเรียนและชุมชนใกล้เคียง เกิดการทำเกษตรผสมผสานตามแนวขั้นบันได ปลูกหญ้าแฝก สร้างบ่อปลา และเล้าไก่ รวมทั้งการนำพลังงานทดแทนจากโซลาร์เซลล์ไปใช้ในการดึงน้ำขึ้นสู่ที่สูง ปุจจุบันที่นี่เป็นพื้นที่เรียนรู้ของชุมชน และเป็นต้นแบบของการเก็บน้ำไว้บนที่สูง โดยการขุดบ่อพักน้ำและทำการเพาะปลูกแบบต่างระดับ ก่าลี ตระกูลพสุพชระ บ้านห้วยกระทิง อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก ผู้พบทางรอดของชีวิตด้วยศาสตร์พระราชา ลุงก่าลี เป็นชาวปกากะญอที่อยู่ที่บ้านห้วยกระทิงมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ ต่อมาเมื่อมีการประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งบชาติ เขาและครอบครัวผู้เข้าไปปลูกข้าวในป่า จึงกลายเป็นผู้รุกป่าและถูกเจ้าหน้าที่จับกุม ลุงก่าลีเคยถึงกับคิดสั้น จนมาเห็นตัวอย่างการทำเกษตรแบบวิถีดั้งเดิมตามแนวทางศาสตร์พระราชาของเพื่อนบ้านที่ไปอบรมจากศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง เขาก็เห็นทางออกหันมาทำเกษตรแบบดังเดิมเหมือนกับที่พ่อแม่เคยทำน้อมนำศาสตร์พระราชาเกษตรทฤษฎีใหม่เดินตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นประทีปนำทางโดยการขุดบ่อน้ำทำนาขั้นบันได ปลูกพืชผสมผสาน ลดการปลูกข้าวโพด เพื่อเพิสูจน์ว่า คนกับป่าอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน ไม่ว่าพวกเขาจะเป็นใครบนแผ่นดินไทย ไม่ว่าพวกเขาจะนับถือศาสนาอะไร และมีภูมิหลังทางเศรษฐกิจสังคมอย่างไร ศาสตร์พระราชาได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่านี่คือ “ทางรอด” ที่ทำให้พวกเขามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถพึ่งพาตนเอง แลอยู่ในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี ซึ่งเป็น “การพัฒนาที่ยั่งยืน” อันเป็นเป็าหมายสูงสุดในการพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช ที่พระองค์พระราชทานไว้ให้กับพสกนิกรของพระองค์ด้วยความรักและความห่วงใย นันทนา ปรมานุศิษฐ์/เรื่อง วารสารวัฒนธรรม