ขณะที่สภาพเศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ตที่ผ่านมาได้รับการขับเคลื่อนจากอุตสาหกรรมท่องเที่ยว โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวรวม 14.4 ล้านคนในปี 2562 แบ่งเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ 10 ล้านคน และนักท่องเที่ยวชาวไทย 4 ล้านคน มีรายได้รวมจากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวรวม 480,000 ล้านบาท แต่ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจภูเก็ตเกิดการชะงัก สูญเสียรายได้ไม่น้อยกว่า 160,000 ล้านบาท ซึ่งถ้าหากยังไม่สามารถเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งได้ ตัวเลขความสูญเสียทางเศรษฐกิจจะเพิ่มขึ้น และส่งผลให้เกิดปัญหาภาวะการจ้างงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ร่วมมือสร้างสรรค์กลยุทธ์ ในเรื่องนี้ นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า ได้นำโครงการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวภายใต้คอนเซ็ปต์ภูเก็ต โมเดล ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(โควิด-19) หรือ ศบศ.ไปแล้ว และล่าสุดที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 25 สิงหาคมที่ผ่านมาเห็นชอบในหลักการแล้วเช่นกัน เหลือเพียงการพิจารณาของศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(โควิด-19) หรือ ศบศ. (ชุดใหญ่) ซึ่งคาดว่าน่าจะสามารถสรุปได้ในอีกไม่เกิน 2 สัปดาห์นี้ พิพัฒน์ รัชกิจประการ สำหรับ ภูเก็ตโมเดล ในขณะนี้ได้เพิ่มการดำเนินงานเป็น 2 รูปแบบประกอบด้วย1.ดำเนินการผ่านบริษัทไทยแลนด์ ลองสเตย์ หรือบริษัท ไทยจัดการลองสเตย์ จำกัด เป็นแบบนักท่องเที่ยวแจ้งความประสงค์จะเข้ามาในประเทศไทย โดยขอกักตัวเอง14 วันในรูปแบบ ASQ (alternative statequarantine) หรือกักตัวอยู่ในห้องของโรงแรมที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาล โดยจ่ายค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด เมื่อครบ 14 วันสามารถเดินทางภายในจังหวัดได้ แต่หากต้องการเดินทางข้ามจังหวัดก็ต้องกักตัวรวมเป็น 21 วัน ส่วน 2.ดำเนินการแบบทั่วไป เป็น ภูเก็ตโมเดลเดิมที่ผ่านการเห็นชอบของ ศบศ.แล้ว ในลักษณะของการกักตัวในพื้นที่ของโรงแรม หรือเรียกว่า area quarantine โดยกระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬา สาธารณสุข คมนาคม และมหาดไทยจะมีการลงพื้นที่จังหวัดภูเก็ตในวันที่ 5-6 กันยายนนี้ เพื่อไปทำประชาวิจารณ์ความเห็นของประชาชนในพื้นที่ภูเก็ต ซึ่งถ้าทุกฝ่ายเห็นด้วยในรูปแบบดังกล่าวการดำเนินงานน่าจะเริ่มได้ในวันที่ 1 ตุลาคม 2563 นี้ ด้าน นายณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ทางจังหวัด และองค์กรเอกชนได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการฟื้นฟู และกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ จึงมีการร่วมมือกันสร้างสรรค์กลยุทธ์ที่เน้นกระตุ้นการเดินทางเข้าจังหวัดภูเก็ตในครึ่งปีหลังหามาตรการในการช่วยเหลือ และเยียวยาผู้ประกอบการที่มีอยู่กว่าหลายพันรายในภูเก็ต แม้จะไม่สามารถชดเชยรายได้ที่หายไปจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ แต่อย่างน้อยจะทำให้ผู้ประกอบการอยู่รอดจนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติที่คาดว่าน่าจะเร็วสุดน่าจะอยู่ในช่วงกลางปี 2564 ยุทธศาสตร์ฟื้นฟูแบบเร่งด่วน ภูมิกิตติ์ รักแต่งาม อย่างไรก็ตาม นายภูมิกิตติ์ รักแต่งาม นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงยุทธศาสตร์ฟื้นฟูการท่องเที่ยวเชิงรุกแบบเร่งด่วนภายใต้ภูเก็ตโมเดล ว่า เป็นการสร้างทางรอดให้กับการท่องเที่ยวไทย ในการที่จะนำไปเป็นโมเดลนำร่องให้กับการท่องเที่ยวส่วนภูมิภาคอื่นๆ ได้นำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ท่องเที่ยวต่อไป ทั้งนี้จากการหารือกับผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยวในทุกๆ ด้านของภูเก็ต ได้มีข้อสรุปที่จะนำไปยื่นให้กับภาครัฐ เพื่อนำไปพิจารณาถึงการเปิดน่านฟ้ารับนักท่องเที่ยว มีอยู่ด้วยกัน 4 ข้อ คือ 1.Test on Arrival ทดสอบเมื่อมาถึง โดยมีโรงพยาบาลรองรับอยู่ 2 แห่ง คือ โรงพยาบาลกรุงเทพฯ จังหวัดภูเก็ต และโรงพยาบาลสิริโรจน์ 2.Tacing การติดตาม จะนำแอปพลิเคชั่นที่ทางภาครัฐใช้อยู่แล้วสัก 1 แอปมาเป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อง่ายต่อการติดตามเมื่อเกิดการติดเชื้อขึ้น 3.Treating capacity การเยียวยา ในกรณีนี้ทางจังหวัดภูเก็ตมีความพร้อมรองรับผู้ป่วยขั้นโคม่าของโควิด-19 โดยเฉพาะถึง 50 เตียง 4.Targeting กำหนดเป้าหมาย โดยจะเป็นการเจาะจงกลุ่มนักท่องเที่ยวที่สามารถดูแล และติดตามได้อย่างเคร่งครัด ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาถ้าภาครัฐบาลเห็นด้วยก็สามารถดำเนินการได้ทันที ก็น่าจะสร้างทางรอดให้กับการท่องเที่ยวภูเก็ต และจะกลายเป็นโมเดลให้กับจังหวัดอื่นๆ ในช่วงที่ยังไม่สามารถเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติทั่วไปได้ เพราะถ้ายิ่งปล่อยเวลาไปอีกไม่กี่เดือนตัวเลขความสูญเสียทางเศรษฐกิจก็จะเพิ่มขึ้น และส่งผลให้เกิดปัญหาการเลิกจ้างงานมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยสภาพเศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ตที่ผ่านมาได้รับการขับเคลื่อนจากอุตสาหกรรมท่องเที่ยว มี GDP จากภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวถึง 85% ของเศรษฐกิจโดยรวมทั้งจังหวัด มีจำนวนนักท่องเที่ยวรวม 14.4 ล้านคนในปี 2562 แบ่งเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ 10 ล้านคน และนักท่องเที่ยวชาวไทย 4 ล้านคน มีรายได้รวมจากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวรวม 480,000 ล้านบาท