“เอชอาร์ดับเบิลยู” จี้ไทยระงับกฎหมายบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว ชี้ยิ่งเพิ่มโทษยิ่งเปิดช่องทุจริต และให้นายจ้างละเมิดแรงงาน แนะตั้งกลไกระดับชาติตรวจสอบการละเมิดอย่างจริงจัง เมื่อวันที่ 8 ก.ค. 60 ฮิวแมนไรต์วอช (เอชอาร์ดับเบิลยู)ได้ออกมาวิจารณ์ถึง พรก.บริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 มิ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งมีรายละเอียดถึงโทษปรับสูงถึง 4 แสน – 8 แสนบาทต่อแรงงานหนึ่งคน สำหรับนายจ้างที่จ้างแรงงานที่ไม่มีเอกสารถูกต้องเข้าทำงาน ส่วนตัวแรงงานเองอาจได้รับโทษจำคุกสูงสุดถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 2 พันถึง 1 แสนบาท หรือถึงแม้มีเอกสารถูกต้อง แต่หากทำงานผิดประเภทไม่ตรงกับที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมแรงงาน นายจ้างก็มีสิทธิโดนปรับ 4 แสนบาท แส่วนแรงงานอาจถูกปรับสูงสุด 1 แสนบาท โดย นายแบรด อดัมส์ ผู้อำนวยการภาคพื้นเอเชียเอชอาร์ดับเบิลยู กล่าวว่า การข่มขู่แรงงานไม่จดทะเบียนด้วยโทษปรับที่สูง และโทษจำคุกที่ยาวนาน จะทำให้ง่ายต่อการเกิดการทุจริตในเจ้าหน้าที่ รวมถึงเพิ่มโอกาสที่นายจ้างจะละเมิด และทำร้ายแรงงาน ซึ่งสิ่งที่ประเทศไทยต้องการคือกฎหมายที่คุ้มครองสิทธิของแรงงานอพยพ ไม่ใช่สร้างความหวาดกลัวที่นำมาซึ่งการหลั่งไหลอพยพออก ทั้งนี้ นับตั้งแต่ประกาศใช้กฎหมายมีแรงงานแห่งอพยพออกแล้วจำนวนมาก ซึ่งพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ชี้แจงถึงความจำเป็นของปฎหมายฉบับนี้ เพื่อจบริหารจัดการแรงงานไม่ขึ้นทะเบียนที่คาดว่า มีอยู่ถึง 3 ล้านคนในประเทศ และเป็นมาตรการที่เข้มข้นขึ้นเพื่อตอบสนองความกังวลของนานาชาติแต่การค้ามนุษย์ของไทย ฮิวแมนไรต์วอชยัง เรียกร้องให้รัฐบาลไทยจัดตั้งกลไลรับเรื่องราวร้องทุกข์ระดับชาติขึ้นมา เพื่อดำเนินการตรวจสอบการละเมิดแรงงานอย่างจริงจัง และรวดเร็ว โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีการทำร้ายแรงงาน และครอบครัว และปรับปรุงลดขั้นตอนขึ้นทะเบียนที่ไม่จำเป็น อันยุ่งยากซับซ้อน และก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายมาก โดยนายอดัมส์ กล่าวเพิ่มว่า ชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานอพยพในประเทศไทย ยังไม่ปลอดภัย และไม่แน่นอน กฎหมายที่เลือกปฏิบัติของรัฐบาลจะทำให้สถานการณ์ยิ่งรุนแรงแรงขึ้น แทนที่จะผลักดันการออกกฎระเบียบใหม่ที่ไปละเมิดสิทธิแรงงานควรจะต้องให้ความสำคัญกับการดำเนินคดีผู้ที่ละเมิดแรงงานมากกว่า