เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2560 ที่ห้องแถลงข่าว กระทรวงการต่างประเทศ ถนนศรีอยุธยา นางบุษฎี สันติพิทักษ์ อธิบดีกรมสารนิเทศ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีกำหนดจะเข้าร่วมการประชุม High Level Political Forum on Sustainable Development (HLPF)ในระระหว่างวันที่ 15 – 20 ก.ค. 2560 นี้ ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐฯเพื่อนำเสนอรายงานผลการอนุวัติวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ในระดับชาติ โดยสมัครใจ (Voluntary National Reviews - VNR) ของประเทศไทย ในโอกาสนี้ไทยจะใช้โอกาสนี้ในการยืนยันเจตนารมย์ของไทยในการส่งเสริม และดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goal: SDG) เป็นโอกาสของไทยที่จะให้ข้อมูลในการพัฒนาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงเพื้อให้บระะลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งในช่วงปี2559ที่ไทยเป็นประธานกลุ่มจี 77 ก็ได้มีการจัดประชุมเชิญทูต และผู้แทนประเทศต่างๆ มาร่วมรับฟังแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในการบรรลุเอสดีจี 2 ครั้ง ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดี ได้รับความชื่นชมอย่างมาก โดยหัวข้อหลักของการประชุม HLPF ในปีนี้คือ การขจัดความยากจนและส่งเสริมความมั่งคั่งในโลกที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประเทศต่างๆ ได้รายงาน VNR ตามตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ ประเด็นที่ประเทศไทยจะนำเสนอได้แก่ การใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในการบรรลุเป้าหมายพัฒนาอย่างยั่งยืนและไทยพร้อมที่จะแบ่งปันเรื่องนี้กับประเทศต่างๆ นอกจากนี้ยังจะใช้โอกาสนี้ ในการแจ้งให้นานาชาติทราบว่าไทยให้ความสำคัญเรื่องนี้ในระดับเป็นวาระแห่งชาติ ด้วยการมีการตั้งคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน(กพย.) ซึ่งมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ภายใต้คณะกรรมการชุดนี้ ยังมีคณะอนุกรรมอีก3ชุด สำหรับ17เป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืนของยูเอ็นที่ไทยได้ดำเนินการ และบรรลุไปบ้างแล้วประกอบด้วย เป้าหมายที่ 1การขจัดความยากจน เป้าหมายที่ 2 การขจัดความหิวโหย เป้าหมายที่ 3 การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี เป้าหมายที่ 5 ความเท่าเทียมทางเพศ เป้าหมายที่9อุตสาหกรรมนวัตกรรมโครงสร้างพื้นฐาน เป้าหมายที่ 14การรักษาและใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล และเป้าหมายที่ 17 ความมีการพัฒนาที่ยั่งยืน อนึ่งการประชุม HLPF ครั้งนี้ จะมี 44ประเทศ นำเสนอรายงาน VNR ซึ่งไทยจะเป็น 1 ใน3 ประเทศจากอาเซียน นอกเหนือจากอินโดนีเซีย และมาเลเซีย ที่จะนำเสนอรายงานดังกล่าว