เมื่อเวลา 15.00 น.วันที่ 17 ก.ค.60 นายสมชาย แสวงการ โฆษกคณะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามั ญพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ประกอบรั ฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดี อาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมื อง พ.ศ.สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้แถลงข่าวว่าการแก้ไขร่างพ.ร. บ.ฯนี้ให้มีผลกับคดีที่กำลังอยู่ ในการพิจารณาของชั้นศาลนั้น ทาง สนช. ,กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ผู้แทนจากศาลรัฐธรรมนูญ,ได้ ตรวจสอบดูแล้วว่าไม่ขัดหลักการ การพิจารณาคดีอาญาโดยตั วจำเลยไม่อยู่หรือที่เรียกกันว่ าการพิจารณาลับเหลังจำเลยนั้น ไม่ได้ขัดกับหลักสากล เนื่องจากกติการะหว่างประเทศว่ าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิ ทางการเมือง (ICCPR) นั้นให้ข้อยกเว้นในกรณีที่ จำเลยไม่มาศาล ศาลก็พิจารณาหลับหลังได้ นายสมชายกล่าวต่อว่าขอยืนยันว่ าร่างพ.ร.บ.ฯฉบับนี้ไม่มี เจตนาจะล่าแม่มดหรือเอาผิดกั บคนบางคน แต่มีเป้าหมายเพื่อให้ความเป็ นธรรมกับทุกคน ทุกฝ่าย ร่างพ.ร.บ.ฯนี้ไม่มีผลย้อนหลัง มีแต่เดินไปข้างหน้า หลักร่างพ.ร.บ.ฯเป็นการเปลี่ ยนวิธีในการดำเนินการ ซึ่งที่ผ่านมาการใช้พ.ร.บ.พิ จารณาคดีแบบเดิมสามารถนำเอานั กการเมืองแค่เพียงคนเดียวคือนาย รักเกียรติ สุขธนะ อดีตรัฐมนตรีว่าการ (รมว.)กระทรวงสาธารณสุขมาติดคุ กเท่านั้น ส่วนคดีที่เหลือผู้ต้องสงสัยก็ หลบหนีออกนอกประเทศไปหมด นายสมชายกล่าวว่สเนื้อหาที่บั ญญัติในร่างพ.ร.บ.ฯนี้นั้นจะยึ ดถือตามหลักสากลเป็นหลัก คือมีการออกหมายเรียกหมายจับ พอฝ่ายจำเลยได้รับหมายจับ ถ้าเขาไม่มาศาลแต่ว่าแต่ งทนายเข้ามาสู้คดี เขาก็ยังได้สิทธิรื้อฟื้นคดี และได้สิทธิอุทธรณ์ด้วย แต่ถ้าหาก 3 เดือนหลังจากที่จำเลยได้รั บหมายจับ จำเลยยังไม่มาปรากฏตัวที่ศาล ศาลก็มีสิทธิพิจารณาคดีลับหลั งจำเลยได้ ส่วนอายุความของคดีสำหรับผู้ที่ สู้คดีนั้นก็ยังเท่าเดิมทุ กประการ เมื่อถามว่าเมื่อร่างพ.ร.บ.ฯฉบั บนี้มีผลบังคับใช้แล้ว จะดำเนินการอย่างไรกับ คดีที่พิพากษาไปแล้ว จำเลยยังหลบหนีอยู่และก็อยู่ ในอายุความ นายสมชายกล่าวว่าต้องดูที่มาตรา 24 ของร่างพ.ร.บ.ฯ ในวรรค 1,2 และ 3 ซึ่งมีคำพิพากษาศาลฎีกาอยู่แล้ว ถ้าจะนำมาใช้ประโยชน์ก็ทำได้ การหนีคดีนั้นจะต้องมีการแบ่งลั กษณะให้ชัดเจน กรณีที่จำเลยหลบหนีไปก่อนมีคำพิ พากษาของศาล กรณีที่จำเลยไม่ยอมไปที่ศาล ถ้าหากทำแบบนี้ก็จะทำให้อายุ ความของคดีสะดุดลงทันที ถ้าเขากลับมา ก็ต้องนับอายุความต่อเนื่องไป เช่นเดียวกันถ้าศาลตัดสินว่ าจำคุก 15 ปี ถ้าหากจำเลยหนีไปในปีที่ 3 พอกลับมาก็ต้องมารับโทษอีก 15 ปีดังนั้นถ้าเขาจะหนีก็ต้องหนี ไปให้ตลอดชีวิต นายสมชายกล่าวต่อว่าต่อจากนี้ จะต้องส่งร่างพ.ร.บ.ฯไปให้กับ กรธ. ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระอื่นๆเพื่อให้เขาดูว่าจะขัดต่ อเจตนาของรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งขณะนี้ตนยังตอบไม่ได้จะตั้ งกรรมการวิสามัญหรือไม่ แต่ถ้าหน่วยงานที่เขารับร่าง พ.ร.บ.ฯไป หากเขาเห็นว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญก็ต้องตั้งคณะกรรมาธิการวิสามั ญขึ้นมา