รมว.บัวแก้ว แถลงผลงานไทยบนเวทียูเอ็น เป็นชาติแรกในเอเชีย และชาติที่สองของโลกขจัดปัญหาติดเอดส์จากแม่สู่ลูก มีหลักประกันสุขภาพครอบคลุมร้อยละ 99.87 ของประชากร ร้อยละ 90 ของเด็กไทยเข้าถึงการศึกษา ร้อยละ 99.6 มีน้ำดื่มสะอาดบริโภค และร้อยละ 40.8 ของหมู่บ้านได้รับบริการอินเตอร์เน็ต เมื่อวันที่ 20 ก.ค. 60 ที่กระทรวงการต่างประเทศ ถนนศรีอยุธยา นางสาวบุษฎี สันติพิทักษ์ อธิบดีกรมสารนิเทศ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยถึงการเดินทางไปกล่าวถ้อยแถลงของนายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการประทรวงการประเทศ บนเวทีหารือทางการเมืองระดับสูงว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (High Level Political Forum on Sustainable Development - HLPF) ที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ (ยูเอ็น) มหานครนิวยอร์ก สหรัฐฯ เมื่อวันที่ 17 และ 18 ก.ค. ที่ผ่านมาตามเวลาท้องถิ่น ประเทศสหรัฐฯ โดยนายดอน ได้กล่าวถ้อยแถลงถึงการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ เพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 และได้นำเสนอแนวทางขจัดความยากจน และเสริมสร้างความมั่งคั่งจากประสบการณ์ของไทย เพื่อแบ่งปันให้นานาประเทศได้ทราบ ทั้งเรื่องการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยเริ่มจากระดับท้องถิ่น และชุมชุน ได้รับฟังความคิดเห็น และเปิดให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม ผ่านการใช้โยบายประชารัฐที่มุ่งสร้างหุ้นส่วนด้านการพัฒนาระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน นอกจากนี้ ไทยยังสร้างและส่งเสริมหุ้นส่วนด้านการพัฒนาระดับโลกตามเป้าหมายที่ 17 ของการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยในช่วงที่ดำรงตำแหน่งประธานกลุ่ม 77 เมื่อปี 2559 ไทยได้เสนอความร่วมมือหุ้นส่วนเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทาง ผลที่เป็นรูปธรรมได้มีการจัดตั้ง UN office for south – south co-operation มาตั้งสำนักงานภูมิภาคในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียแปซิฟิก อีกทั้งไทยได้รับมอบหมายจากประเทศอาเซียน ให้เป็นผู้ประสานงานอาเซียน-ยูเอ็น ในเรื่องความร่วมมือและส่งเสริมการขับเคลื่อนประชาคมอาเซียน ในกรอบวิสัยทัศน์ 2025 กับกรอบวิสัยทัศน์การพัฒนาที่ยังยืน 2030 รวมถึงการผลักดันประเด็นการพัฒนาที่ยั่งยืนในกรอบ ASIA Cooperation Dialog (ACD) ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำสุดยอดเมื่อปีที่แล้ว และได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ประสานงานสาขาการพัฒนาที่ยั่งยืนของที่ประชุมว่าเรื่องการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ และการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย (CICA) ในบริบทของการเสนอรายงานต่อเวทียูเอ็นนั้น รมว. ต่างประเทศได้กล่าวถึงความคืบหน้าสำคัญในการขับเคลื่อนวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนของไทย อาทิ การลดความยากจน และความเหลื่อมล้ำ การมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ความก้าวหน้าในด้านการให้บริการสาธารณสุข และการดำเนินนโยบายประชุมรัฐที่เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยไทยได้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในการขับเคลื่อน การแบ่งปันแนวทางการพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยเน้นการไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ซึ่งไทยพร้อมให้ความร่วมมือกับประเทศต่างๆ ในการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ สำหรับตัวอย่างที่แสดงถึงผลสำเร็จนั้น นายดอนได้ยกตัวอย่าง มาตรการส่งเสริมสวัสดิการสังคม ที่ยังประโยชน์แก่ประชาชนที่มีรายได้ตำในปี 2559 ถึง 7.5 ล้านคน มีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ครอบคลุมร้อยละ 99.87 ของประชาชน ไทยเป็นประเทศแรกในเอเชีย และเป็นประเทศที่สองในโลกที่สามารถขจัดปัญหาเรื่องการติดต่อโรคเอชไอวี และซิฟิลิส จากแม่สู่ลูก ร้อยละ 90 ของเด็กสามารถเข้าถึงการศึกษา ในขณะเดียวกัน ร้อยละ 99.6 ของประชากร สามารถเข้าถึงการมีน้ำดื่มที่สะอาด ซึ่งรัฐบาลไทยตั้งเป้าหมายบรรลุให้ได้ร้อยละ 100 ภายในสิ้นปี 2560 ร้อยละ 40.8 ของหมู่บ้าน ได้รับบริการอินเตอร์เน็ต ซึ่งรัฐบาลตั้งเป้าหมายต้องบรรลุร้อยละ 100 ภายในปี 2561 ทั้งนี้ การเข้าประชุมดังกล่าวไม่ได้มีเพียงตัวแทนรัฐบาลไทยเท่านั้นที่ได้ไปกล่าวรายงานสถานการณ์ประเทศไทย แต่ยังมีตัวแทนจากภาคเอกชนคือนายฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัดมหาชน ไปกล่าวรายงานในฐานะหัวหน้ากลุ่มภาคเอกชน คณะทำงานเศรษฐกิจฐานล่างและประชารัฐ ร่วมนำเสนอในเรื่องการมีส่วนร่วมของภาคเศรษฐกิจเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านนโยบายประชารัฐ นอกจากนี้ยังมีตัวแทนเยาวชนไทย เป็นนักศึกษาจากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไดนำเสนอมุมมองทัศนะความเห็นเรื่องบทบาทของเยาวชนไทยต่อทิศทางการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วย