เกษตรอาชีวะประชุมปฏิบัติการสู่สมาร์ทฟาร์มเมอร์ ย้ำสืบสานตามแนวทฤษฎีใหม่อันเนื่องมาจากพระราชดำริ (1) “การใช้เทคโนโลยีอันทันสมัยในงานต่างๆ นั้น ว่าโดยหลักการควรจะได้ผลมากในเรื่องประสิทธิภาพการประหยัดและการทุ่นแรงงาน แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังคงต้องคำนึงถึงสิ่งอื่นอันเป็นพื้นฐานและส่วนประกอบการงานที่ทำด้วย อย่างในประเทศของเรา ประชาชนทำมาหาเลี้ยงตัวด้วยการกสิกรรมและการลงแรงทำงานเป็นพื้นฐาน การใช้เทคโนโลยีอย่างใหญ่โตเต็มรูปหรือเต็มขนาดในงานอาชีพหลักของประเทศย่อมจะมีปัญหา ผลที่เกิดก็จะพลาดเป้าหมายไปห่างไกลและกลับกลายเป็นผลเสีย ดังนั้น จึงต้องมีความระมัดระวังมากในการใช้เทคโนโลยีปฏิบัติงาน คือควรจะพยายามใช้พอเหมาะพอดีแก่สภาวะบ้านเมืองและการทำกินของราษฎร เพื่อให้เกิดประสิทธิผลด้วยความประหยัดอย่างแท้จริง”  พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรซึ่งทรงตระหนักว่า การส่งเสริมหรือสร้างเสริมสิ่งที่ชาวชนบทขาดแคลน และเป็นความต้องการอย่างสำคัญ คือ ความรู้ ด้านต่างๆ ชาวชนบทควรจะมีความรู้ในเรื่องของการทำมาหากิน การทำการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมโดยทรงเน้นถึงความจำเป็นที่จะต้องมี ตัวอย่างแห่งความสำเร็จ ในเรื่องการพึ่งตนเอง ซึ่งทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้ราษฎรในชนบทได้มีโอกาสได้รู้ได้เห็นถึงตัวอย่างของความสำเร็จนี้ และนำไปปฏิบัติได้เองซึ่งทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้ตัวอย่างของความสำเร็จทั้งหลายได้กระจายไปสู่ท้องถิ่นต่างๆ ทั่งประเทศ วิธีการให้ความรู้แก่ประชาชนนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในกรพัฒนา วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชุมพรโดยนายนิพนธ์ ภู่พลับผู้อำนวยการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อยกระดับการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาสาขาเกษตรกรรมช่วงวันที่27-28 กค.60ที่ผ่านมา โดยมีผู้บริหารคือผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรฯทั่วประเทศในสังกัดกรมอาชีวะมาร่วมประชุมรวมแล้วก็เกือบ 200 คน ด้วยต่างตระหนักว่าวันนี้โลกเปลี่ยนไปมีเทคโนโลยีเข้ามาเสริมการพัฒนาคุณภาพประสิทธิภาพและปริมาณผลผลิตที่เวลานี้มีการตั้งเป้าหมายให้ประเทศก้าวทันโลกด้านการพัฒนา เดินขนาบคู่ขนานกันไปเรียกกันว่า “ไทยแลนด์4.0” ภาคเกษตรกรรมของไทยในอดีตที่ผ่านมาใช้แรงคนแรงสัตว์เป็นกำลังสำคัญ วันนี้ก็ต้องเปลี่ยนแปลงแล้วเปลี่ยนให้ทันยุคสมัยก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 ที่น่าจะหมายถึงการมีความรู้เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีเข้ามารับใช้พัฒนาปริมาณ คุณภาพ ประสิทธิภาพ ความสะอาดด้วยภาพการเกษตรกรรมไทยและตัวเกษตรกรที่กำลังก้าวคู่ไปกับความเปลี่ยนแปลงต้องเป็น “สมาร์ทฟาร์มเมอร์” โดยผ่านกระบวนการผลิตยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ของวิทยาลัยเกษตรฯสังกัดอาชีวศึกษานี่แหละ ได้ฟังความรู้สึกของผู้บริหารวิทยาลัยเกษตรฯบางท่านแบบนอกรอบฟังน้ำเสียงดูผู้บริหารวิทยาลัยเกษตรฯยืนยันว่าไม่ว่าประเทศไทยจะก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงทางการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมเพื่อสู่ไทยแลนด์4.0หรือจะเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ก็ตามที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีการผลิตภาคเกษตร การบริโภค แต่หลักการพัฒนาการทำอาชีพเกษตรกรรมของเกษตรกรเองและที่ปลูกฝังหล่อหลอมสอนเยาวชนในสถานศึกษาเกษตรและเทคโนโลยี ความรู้อันเกิดจากรากฐานแห่งภูมิปัญญาของบรรพชน ที่ผ่านการดำเนินชีวิตร่วมกันในชุมชนด้วยความรักเมตตาสามัคคี แบ่งปันเอื้อเฟื้อ ร่วมกันอนุรักษ์สืบสานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะยังเป็นรากฐานที่มั่นคงเป็นตัวยึด หรือพูดง่ายๆยังคงปลูกฝังสำนึกให้หนักแน่นอยู่ในคุณธรรมจริยธรรมนำไปต่อยอดโดยการพัฒนาเครื่องมือในทางอาชีพอย่างจริงจัง อันเป็นการเดินตามรากฐานแนวพระราชดำริเกษตรทฤษฎีใหม่ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ถึงวันนี้และต่อเนื่องในอนาคตไม่อาจปฏิเสธเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้ แต่ทั้งหลายทั้งปวงนั้นล้วนก้าวเดินไปบนฐานหลักคือภูมิปัญญาที่เน้นสำนึกคุณธรรมจริยธรรม ความเจริญจิตใจเป็นที่หนึ่งตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมั่นคงจริงๆ เสียงผู้บริหารวิทยาลัยเกษตรฯอาชีวศึกษาว่าตรงกันอย่างนั้น โดยมีการเอาเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นความรู้สมัยใหม่ที่เกษตรกรเองก็ต้องการอยู่แล้วและได้ถ่ายทอดผ่านเยาวชนเกษตรรุ่นใหม่หรือยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ไปในเวลาเดียวกันด้วยเข้ามาประยุกต์ใช้กับวิถีแห่งภูมิปัญญาไทยที่มีพัฒนาการเชิงคุณภาพในการดำรงวิถีแห่งวัฒนธรรมประเพณีในการดำเนินชีวิตที่มีคุณค่าอยู่แล้วเพื่อให้เกิดคุณภาพ ประสิทธิภาพ ได้ปริมาณ ได้การลดต้นทุนและเน้นย้ำเรื่องระบบอินทรีย์เป็นหัวใจเพื่อได้ผลผลิตมีคุณค่าและคุณภาพก่อประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภคอย่างแท้จริงเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์อย่างสมบูรณ์แบบที่มีความไม่ประมาทและเกิดการประหยัดในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสืบสานตามแนวพระราชดำรัสที่พระราชทานไว้ (อ่านต่อ)