องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ อปท. นอกจากจะมีหน้าที่หลักในการดูแลพื้นที่ ดูแลงานด้านบริการสาธารณะให้กับพี่น้องประชาชนแล้ว การดูแล บริหารทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในพื้นที่ก็เป็นอีกหนึ่งหน้าที่หลักที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน นายวรวิทย์ บุรณศิริ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)พะเยา กล่าวว่า อบจ.พะเยา ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องการบริหารทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ โดยเฉพาะเรื่องน้ำ เรื่องป่า อย่างในกรณีเรื่องน้ำ จังหวัดพะเยามีลำน้ำอยู่ 2 ลำน้ำหลัก ก็คือที่กว๊านพะเยา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของต้นลำน้ำอิง ต้นกำเนิดของแม่น้ำอิงที่ไหลไปลงแม่น้ำโขง คือไหลขึ้น ลำน้ำที่ 2 คือ ลำน้ำยม เป็นลำน้ำที่เกิดที่ อ.ปง อ.เชียงม่วน ลำน้ำยม จะไหลไปกรุงเทพมหานคร หรือไหลลงใต้ โดยเมืองพะเยาจะมีน้ำ 2 ลำน้ำหลักนี้ เพราะฉะนั้นเราต้องพยายามบริหารลำน้ำทั้งสองลำน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับพี่น้องประชาชน ต้องแก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งให้ได้ การชะลอน้ำ การบริหารจัดการน้ำให้ได้คือปัจจัยสำคัญ “ปัญหาที่เราเจอ คือ เรื่องการส่งเสริมการสร้างอ่างเก็บน้ำค่อนข้างจะยาก เพราะกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับไม่เอื้ออำนวย เช่นกรณีกว๊านพะเยา ก็จะมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับที่เราจะต้องดูเมื่อต้องการพัฒนาเรื่องการเพิ่มปริมาณน้ำกว๊านหรือการปรับปรุงคุณภาพน้ำกว๊าน ส่วนในพื้นที่ของน้ำยมต้องมาดูในเรื่องของเขตอนุรักษ์ เขตสัตว์ป่า เขตอุทยานต่างๆ ถ้าเจาะเรื่องพวกนี้ได้ เราจะเสียพื้นที่ไม่มาก แต่เราจะบริหารจัดการน้ำให้ดียิ่งขึ้น ก็จะเป็นประโยชน์ให้กับคนจังหวัดพะเยา อ.ปง อ.เชียงม่วน รวมทั้งคนในลุ่มลำน้ำ คนสุโขทัย รวมถึงคนในกรุงเทพมหานคร ก็คือบริหารทำยังไงให้น้ำไม่แล้ง คือน้ำไม่ท่วม ก็ต้องชะลอน้ำเอาไว้ในพื้นที่” นายกอบจ.พะเยา กล่าวว่า บทบาทของอบจ.พะเยา คือการดูแลพื้นที่ ประสานพี่น้องประชาชน อบจ.สามารถเข้าไปสำรวจ เข้าไปช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในหลายด้าน ที่ผ่านมาก็ได้ร่วมกับหลายหน่วยงานที่เข้ามาดูแลพื้นท่ แต่บทบาทของอบจ. สามารถทำได้ต่อเนื่องกว่า เพราะการเป็นท้องถิ่นก็จะอยู่ในพื้นที่ประจำ แต่หัวหน้าส่วนราชกาอื่น จะมีการย้ายไปย้ายมา เราก็จำเป็นจะต้องขับเคลื่อนองคาพยพต่างๆไปพร้อมๆกัน อย่างเช่น ปัจจุบันยมีคณะผู้บริหารของจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด มีหัวหน้าส่วนราชการต่างๆ ที่สามารถทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี แต่ต่อมาผู้ว่าฯเกษียณ หัวหน้าส่วนราชการย้ายไปอยู่ที่อื่น คนใหม่มาก็ต้องมาต่อ ดังนั้นท้องถิ่นก็จะต้องเป็นตัวหลักต้องพาต่อยอดงานให้ เดินไปข้างหน้าตามแนวทางที่เราดำเนินการไว้ โดยไม่เดินถอยหลัง ไม่ต้องเริ่มต้นใหม่ มันก็จะเกิดการพัฒนาที่เป็นรูปธรรม หรือเป็นยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน ก็คือเหมือนยุทธศาสตร์ของประเทศ ยุทธศาสตร์ของจังหวัดก็ต้องมีอย่าง 5 ปี 10 ปีหรือ20 ปี “นอกจากการดูแลด้านงานบริการให้พี่น้องประชาชนแล้ว อบจ.พะเยา ยังให้ความสำคัญเรื่องของน้ำเรื่องของป่า ซึ่งจังหวัดพะเยาถือว่ายังโชคดีที่เรามีป่าไม้ถึง 50กว่าเปอร์เซ็นต์ การถูกทำลายยังน้อยกว่าจังหวัดข้างเคียง ส่วนในเรื่องน้ำ เรามีเป้าหมายที่จะต้องสร้างแหล่งเก็บน้ำให้ได้มากที่สุด ซึ่งปัจจุบันสามารถเก็บได้แค่ 10 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณน้ำ แต่ถ้าเราสามารถเก็บปริมาณน้ำให้ได้มากกว่านี้เรื่อยๆขึ้นไป จะทำให้เกิดประโยชน์แก้เรื่องน้ำท่วม น้ำแล้งได้” นายกอบจ.พะเยา กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาการทำงานด้านต่างๆก็ต้องเจอปัญหาอุปสรรคบ้าง โดยเฉพาะเรื่องการถูกตรวจสอบ เรื่องของอำนาจหน้าที่ ถ้าเราจะสามารถแก้ไขปัญหาเรื่องอำนาจหน้าที่ แก้ไขกฎระเบียบบางอย่างได้ก็จะทำให้ท้องถิ่นสามารถทำงานได้คล่องตัวขึ้นจะเป็นประโยชน์อย่างมาก แต่เราเองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจหรือถ้าทำไม่ได้เราจะนิ่งอยู่เฉยๆ ก็ไม่ใช่ เราจะประสานหน่วยงานอื่นๆให้ช่วยเราทำ “อบจ.พะเยา ได้สนองนโยบายของรัฐบาล ในปัจจุบันก็คือในเรื่องของน้ำและการดูแลทรัพยากรธรรมชาติ เรื่องของการส่งเสริมอาชีพ โดยเฉพาะอาชีพเกษตร เนื่องจากจ.พะเยา 90 เปอร์เซ็นต์เป็นเกษตรกร ถ้าผลเกษตรตกต่ำเศรษฐกิจในจังหวัดพะเยาค่อนข้างลำบาก ดังนั้นจำเป็นต้องพยุงเรื่องพืชเกษตร โดยการสนับสนุนนโยบายการทำนาแปลงใหญ่ พืชแปลงใหญ่ เพิ่มเรื่องคุณภาพของการผลิต เน้นต่อสู้เรื่องของคุณภาพ เช่น เรื่องข้าว เรามีข้าวที่ได้รางวัลที่ 1 ของประเทศ เราได้เมื่อปีที่แล้ว เราได้ที่ 1 กับที่ 3 ของประเทศ เรามีข้าวหอมมะลิที่อร่อยที่สุด ก็ถือว่าตรงนี้เป็นจุดแข็ง และจะพัฒนาตรงนี้ต่อยอดไปถึงเรื่องของเพิ่มมูลค่าของผลผลิตการเกษตร” ส่วนนโยบายด้านอื่นๆนั้น นายกอบจ.พะเยา บอกว่า ได้มุ่งเน้นและให้ความสำคัญด้านการท่องเที่ยว ซึ่งกำลังได้งบพัฒนากว๊านพะเยาอย่างยั่งยืนมา 347 ล้านบาท ตรงนี้าจะมีมิติอยู่ 7 มิติ มิติที่สำคัญ คือ การท่องเที่ยวกว๊านพะเยา และจุดกำเนิดแม่น้ำยม จะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว เชื่อมโยงกับอ่างน้ำที่กำลังสำเร็จ นอกจากนี้ก็จะมีการพัฒนาเรื่องสาธารณูปโภค โดยเฉพาะเรื่องถนน ที่ะเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ซึ่งปัจจุบันในพื้นที่พะเยาจะเป็นถนนเส้นเล็กๆที่สามารถสวนกันไปมาได้ เราก็จะผลักดันขับเคลื่อนเป็นถนนส่วนขยายของ R3A ซึ่งมาจากสะพานข้ามแม่น้ำโขงที่เชียงของ มาถึง อ.เชียงคำ อ.จุน ต้องเลี้ยวผ่าน อ.ปง แล้วลง อ.เชียงม่วน และ อ.สอง เป็นถนน 4 เลน ตัวนี้จะช่วยให้ความเจริญที่ทำให้นักท่องเที่ยวสามารถจะเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยว อ.ปง และ อ.เชียงม่วนได้ “พะเยาเป็นเมืองที่ติดอันดับเมืองน่าอยู่อันดับต้นๆของเมืองไทยตลอด เพราะสำคัญที่สุดก็คือเรามีความเข็มแข็งของชุมชน อันนี้คงต้องฝากถึงพี่น้องประชาชน ที่เราจะต้องพัฒนาเรื่องความเข้มแข็งของชุมชนอันดับแรก เพราะเมื่อชุมชนมีความเข้มแข็งแล้วการพัฒนากับพี่น้องประชาชนนั้นก็จะประสบความสำเร็จ ผู้นำตามระดับชั้นเราจะมาช่วยประสานงานกัน ขอชื่นชมพี่น้องประชาชนชาวพะเยาที่ได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี โดยทางอบจ.พะเยา พร้อมที่จะประสานงานกับผู้นำทุกภาคส่วนที่จะเดินไปพัฒนาพร้อมพี่น้องประชาชน” นายกอบจ.พะเยา กล่าว