เกษตรอาชีวะประชุมปฏิบัติการสู่สมาร์ทฟาร์มเมอร์ ย้ำสืบสานตามแนวทฤษฎีใหม่อันเนื่องมาจากพระราชดำริ (2) ก่อนเข้าพิธีการประชุมมีเวลาอยู่บ้าง ไปเยือนถึงพื้นที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชุมพรหนนี้เลยมีโอกาสได้สัมผัสพื้นที่บางส่วนจากจำนวนสองพันกว่าไร่ ท่ามกลางสายฝนโปรยละอองบางๆลงมา(ปลายกค.60 ชุมพรฝนตกชุกแทบทุกวันต่อเนื่อง) ส่วนใหญ่พื้นที่แทบทุกตารางเมตรผอ.นิพนธ์ ภู่พลับไม่ปล่อยให้รกร้างว่างเปล่า พื้นที่เต็มไปด้วยไม้หหลากหลายชนิดประเภททั้งไม้ผล ไม้เศรษฐกิจ ไม้ใช้สอย ที่น่าสังเกตพื้นที่ส่วนหนึ่งปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง แล้วก็ปลูกพืชผักตามฤดูกาล แม้มีพื้นที่โล่งแต่เป็นทุ่งหญ้าเป็นประโยชน์เพราะมีปศุสัตว์ได้แทะเล็มเป็นแปลงปล่อยปศุสัตว์เช่นวัวไปในตัวเป็นการวางรากฐานพื้นที่เกษตรกรรมตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่อันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรเพื่อให้นักเรียนนักศึกษาได้คุ้นชินและลงมือปฏิบัติการเป็นเกษตรกรได้ทันทีทุกเวลา พื้นที่แปลงไม้ผล ป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่างไปจนกระทั่งแปลงพืชผักตามฤดูกาลเป็นแหล่งเรียนรู้แหล่งปฏิบัติของนักเรียนนักศึกษาเกษตรทุกสาขา โดยผู้อำนวยการนิพนธ์พร้อมผู้บริหารน้อมนำหลักการทำเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่อันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรเป็นเครื่องปลูกกฝังหล่อหลอมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ คือการปลูกฝังความดีงามให้งเจริญเติบโตในสำนึกอันได้แก่ความขยันหมั่นเพียร ไม่ตั้งอยู่ในความโลภ มีความมานะอดทน รู้จักประหยัดอดออม มีเมตตากรุณาต่อกัน วิทยาลัยได้มีการนำวิทยาการเทคโนโลยีเข้ามาให้เยาวชนได้ศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติทดลอง บนพื้นฐานการสืบานต่อยอดภูมิปัญญาแห่งบรรพชนตามวิถีแห่งเกษตรทฤษฎีใหม่ฯโดยต้องคำนึงถึงปัจจัยพื้นฐานสำคัญต่อการเจริญงอกงามของชีวิตอันได้แก่น้ำ การให้ความสำคัญแหล่งต้นน้ำคือป่า ในอาชีพเกษตรก็ต้องพัฒนาคุณภาพดินด้วยการใช้หลักธรรมชาติพึ่งพาธรรมชาติคืออินทรียวัตถุ เพื่อผลผลิตที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค  “...การปลูกป่าถ้าจะให้ราษฎรมีประโยชน์ให้เขาอยู่ได้ ให้ใช้วิธีปลูกไม้สามอย่าง แต่มีประโยชน์สี่อย่าง คือ ไม้ใช้สอย ไม้กินไม้เศรษฐกิจ โดยปลูกรองรับการชลประทาน ปลูกรับซับน้ำและปลูกอุดช่วงไหล่ตามร่องห้วยโดยรับน้ำฝนอย่างเดียวประโยชน์ที่สี่คือ ได้ระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ...” พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรเกี่ยวกับป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ที่ได้พระราชทาน ณ โรงแรมริมคำ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2523 ดังที่เกริ่นข้างต้นไม้ที่ปรากฏในพื้นที่ของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนลยีชุมพรลงตัวตามพระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่9 เลยคือ “ไม้ 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง” คงต้องขออนุญาตเล่าให้อ่านกันเพื่อจะเรียกน้ำย่อยให้ผู้ชื่นชอบผลไม้อย่างเช่นทุเรียนหาจังหวะแวะไปเยือนกันในช่วงจังหวะฤดูอย่างช่วงเดือนกค.-ต้นกย.ชุมพรโดยเฉพาะในวิทยาลัยทุเรียนกำลังสุกได้ที่ ซึ่งผู้อำนวยการบอกว่าต้อนรับทุกคนเลยที่ตั้งใจแวะไปเยี่ยมนักเรียนนักศึกษาครูอาจารย์แล้วก็เยี่ยมชมสวนไม้ผล ไม้ยืนต้นแล้วก็แปลงพืชผักตามฤดูกาลผลผลิตฝีมือนักเรียนนักศึกษาทั้งสิ้น นิพนธ์ ภู่พลับ ผอ.วิทยาลัยเกษตรฯชุมพรให้สัมภาษณ์ว่าการจัดการเรียนการสอนเน้นเกษตร สัตวศาสตร์ พืชศาสตร์ โดยน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริเกษตรทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ที่พระราชทานแนวทางแห่งการประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรมไว้ก็คือศาสตร์พระราชามาใช้ปลูกฝังหล่อหลอมนักเรียนนักศึกษา ครูอาจารย์ให้ดำเนินชีวิตตามรอยพระยุคลบาท ที่ผ่านมาได้รับเลือกเป็นวิทยาลัยเกษตรดีเด่นของประเทศต่อเนื่อง “เราน้อมนำเอาศาสตร์พระราชาสู่การปฏิบัติแบบยั่งยืนตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำไปจนถึงปลายน้ำ แล้วนำเอาเทคโนโลยีเอาวิทยาศาสตร์มาต่อยอด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ คุณภาพแล้วได้ปริมาณที่คุ้มค่าแต่ทั้งหลายทั้งปวงต้องอยุ่ในระบบอินทรีย์เพราะเราคำนึงถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม เราคำนึงถึงผู้บริโภคเป็นสำคัญ หลักสำคัญแห่งการน้อมนำศาสตร์พระราชามาปฏิบัติมาศึกษาเรียนรูลงมือปฏิบัติตามคือแหล่งน้ำ เพราะสรรพชีวิตสรรพสิ่งขาดน้ำไม่ได้ ทรัพยากรป่าไม้ต้องสืบสานไว้ด้วยเป็นแหล่งต้นน้ำ ไม่ใช้สารเคมีกับดินกับผลผลิต เริ่มใช้ไอทีควบคุมให้น้ำให้ธาตุอาหารผ่านโซล่าเซลเซล มีนศ.เข้าโครงการเป็นแกนนำ นักเรียนนักศึกษาเริ่มมีรายได้ มีเงินออม เริ่มโครงการ 1 เดือน 1 พัน แล้วใน 1 ปีจะมีรายได้ตก 36,000 บาท ทำผักปลอดสารพิษที่เหลือบริโภคในวิทยาลัยแล้วก็เอาไปขายนักเรียนนักศึกษาก็จะทำแผนการตลาดกันไป ฝึกการขายการตลาดไปในตัวฝึกอาชีพไปพร้อมกัน ผลผลิตที่ผ่านวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชุมพรจะขายดีมากวางประเดี๋ยวเดียวหมด จบเกษตรแล้วไม่ต้องไปเป็นลูกจ้างทำอาชีพเกษตรส่วนตัวสบายๆ" ผอ.นิพนธ์บอกว่าวางนโยบายศิษย์เก่าขาย ศิษย์ปัจจุบันผลิต พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรทรงให้ความสำคัญเรื่องน้ำอย่างที่สุด พื้นที่วิทยาลัยโชคดีมีแหล่งน้ำมาก นอกจากประโยชน์ใช้สอยในวิทยาลัยแล้วยังเกื้อกูลประชาชนรอบๆวิทยาลัยและเน้นย้ำผ่านการเรียนรู้ของนศ.ที่จะต้องให้ความสำคัญด้วย การเรียนการสอนสายเกษตรของวิทยาลัยจึงถือว่ามีความพร้อมทีเดียวผอ.นิพนธืบอกด้วยว่าพื้นที่แปลงเกษตรหลักในวิทยาลัยคือปาล์ม ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง พืชผักหมุนเวียน ที่พิเศษในการดึงความสนใจของคนภายนอกที่รู้ข่าวคือมีวัวกระทิงป่าเข้ามาอาศัยในพื้นที่วิทยาลัยเป็นหลักและพื้นที่ชาวบ้านใกล้เคียงผสมกับวัวบ้านได้ลูกออกมาสายผสมจำนวนมาก และชาวบ้านก็ได้เอาวัวตัวเมียมาให้ผสมด้วย วิทยาลัยตั้งชื่อว่า “โทน” ผลผลิตของเจ้าโทนออกมาเป็นวัวบ้านผสมวัวกระทิงป่าหลายรุ่นแล้ววิทยาลัยมีโชว์ให้ได้ศึกษาและชมเล่นเพลินๆได้ทุกเมื่อ (อ่านต่อ)