ดร.สมชาย เอื้อพิพัฒนากูล ประธานกรรมการบริหารบริษัทไคเนติคส์ เปิดเผยว่า บริษัทพลังงานนิวเคลียร์รอส อะตอม ซึ่งเป็นบริษัทนิวเคลียร์ของประเทศรัสเซีย และบ.ไคเนติคส์ฯ ได้ร่วมก่อสร้างเครื่องเร่งอนุภาคแบบไซโคลตรอนและห้องปฏิบัติการวิจัยเคมีกัมมันตรังสีสำหรับสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน) โดยปัจจุบันไอโซโทปทั้งหมดของSPECT ในประเทศไทย ถูกนำเข้าจากต่างประเทศ โดยไอโซโทป PET บางชนิดสามารถผลิตได้ในโรงพยาบาลในประเทศไทย แต่ปริมาณที่ได้ยังคงไม่เพียงพอ ดังนั้นเครื่องเร่งอนุภาคแบบไซโคตรอนใหม่ที่จัดหาโดยบริษัทหุ้นส่วนรัสเซีย จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถผลิตไอโซโทปได้เองเพื่อใช้ช่วยชีวิต และพัฒนานวัตกรรมในประเทศ ดร. สมชาย กล่าวว่า ทั้งนี้จะสามารถช่วยในการทำวิจัย และพัฒนาทางด้านการแพทย์นิวเคลียร์ และการใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ในด้านอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมเครื่องเร่งอนุภาคแบบไซโคตรรอน MCC-30/15 ที่มีกำลัง 30 MeV ที่รอสอะตอมก่อสร้าง เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในศูนย์วิจัยนิวเคลียร์ อีกทั้งเครื่องนี้จะใช้ในการผลิตไอโซโทป PET และ SPECT สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจ เนื้องอก และระบบประสาทที่ถูกต้อง ในหลายๆ กรณี เนื่องจากการใช้ไอโซโทป PET และ SPECTเป็นวิธีการเดียวที่จะช่วยกำหนดการรักษาที่เหมะสม สำหรับโครงการฯตั้งอยู่ที่ศูนย์วิจัยนิวเคลียร์ ที่อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ด้วยเนื้อที่มากกว่า 5,400 ตารางเมตร มีเครื่องเร่งอนุภาคแบบไซโคตรอนและห้องปฏิบัติการวิจัยสำหรับใช้ผลิตเภสัชภัณฑ์รังสี เพื่อพัฒนาทางการแพทย์และเป้าหมายอื่นๆ นอกจากนี้ห้องปฏิบัติการวิจัยจะเป็นแพลตฟอร์มสำหรับการวิจัยและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีรังสีและนวัตกรรม ซึ่งคาดว่าจะเริ่มต้นทำงานได้ภายในอีก3 – 4 ปี