“ถ้าคุณไม่รู้จักตั้งเป้าหมายในการเรียน คุณก็อาจจะจบลงที่คณะอะไรสักคณะหนึ่งในมหาวิทยาลัยสักแห่งหนึ่ง เพื่อที่จะคว้าปริญญามาสักใบหนึ่ง เมื่อจบก็ได้ทำงานอะไรสักงานหนึ่ง แล้วก็เดินไปตามค่านิยมของสังคมที่ใครๆ เขาเดินตามๆกันไป... กว่าจะรู้ตัวว่าไม่เคยชอบในสิ่งที่เรียนและในงานที่ทำอยู่...ก็แทบจะหมดเวลาชีวิตแล้ว” ครูบี – เกรียงศักดิ์ ไชยวินิจ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนเตรียมอินเตอร์จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ Warwick Institute และเป็นติวเตอร์วิชาคณิตศาสตร์สำหรับการสอบเข้าหลักสูตรอินเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดีกรีปริญญาโทด้านเศรษฐศาสตร์จาก Warwick University ประเทศอังกฤษ อดีตแชมป์รายการอัจฉริยะข้ามคืน แชมป์คณิตศาสตร์โอลิมปิก ผู้สอบได้อันดับ 1 การสอบแข่งขัน Pre-entrance ตั้งแต่ชั้น ม.4 ...ได้ให้สัมภาษณ์ในงาน “Warwick Legacy Night 2017” ที่จัดขึ้นเพื่อแสดงความยินดีกับนักเรียนที่สอบเข้าหลักสูตรอินเตอร์ฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กว่า 427 คนได้สำเร็จและเพื่อเป็นกำลังใจให้กับนักเรียนมัธยมฯ ที่กำลังเตรียมตัวสอบเข้าในปีต่อๆไป การต่อสู้ของเหล่านักเรียนเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยในฝันเข้มข้นขึ้นทุกปี และมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้วัยรุ่นหลายๆ คนเกิดความท้อแท้ หวั่นไหว ไม่รู้ว่าจะรับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงยังไงดี …
แต่สำหรับคนมีฝันและไม่ท้อถอย โอกาสสร้างฝันให้เป็นจริงย่อมมีได้เสมอ
เหมือนกับเหล่านักเรียนกลุ่มนี้ที่จะมาแชร์ประสบการณ์พร้อมสร้างกำลังใจให้วัยรุ่นหลังจากที่พวกเขาได้ทำการเปลี่ยนตัวเอง สู้ขาดใจ เทหมดหน้าตัก จนประสบความสำเร็จ ติน - นุช ติน-นายอรรคภัทร เลิศวรธรรม นักศึกษาปี 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรอินเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ISE Chula) เล่าว่า ครูบีสอนให้ผมหัดตั้งเป้าชีวิตและให้กำลังใจว่าผมทำได้แน่ถ้าผมพร้อมที่จะเปลี่ยนตัวเองและใช้ความพยายามเต็มที่ ผมจึงเริ่มตั้งกฎกับตัวเองเรื่องอ่านหนังสือ ฝึกทำโจทย์ เก็บสถิติการทำข้อสอบ ผมเคยสอบ CU-TEP ไม่ผ่านถึง 10 ครั้งจนเกือบล้มเลิกความตั้งใจ แม้จะท้อแต่ผมก็ไม่ถอย ขยันให้มากกว่าเดิมเป็น 3 เท่าเพราะรู้ว่าพื้นฐานเราไม่ดีเท่าคนอื่น ในที่สุดผมก็ทำสำเร็จ ด้าน นุช-นางสาวพัทธ์ธีรา หลังปูเต๊ะ นักศึกษาปี 1 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรอินเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (BBA Chula) บอกว่า นุชเป็นคนเฉยมาก แม้รู้ว่าตัวเองอยากเข้า จุฬาฯ มาตั้งแต่เด็กๆ แต่ก็ไม่ได้ลงมือทำอะไร พอขึ้น ม. 4 พี่ๆบอกให้มาเรียนเสริม ทำให้นุชได้รู้อะไรเพิ่มมากขึ้นมีครูช่วยไกด์ว่าเราต้องไปทางไหน ยิ่งได้มารู้จักเพื่อนๆ ที่มีเป้าหมายเดียวกับเราก็เกิดการชวนกันเรียน ถ้านุชเตรียมตัวช้ากว่านี้ พอขึ้นม. 6 คงหนักมากๆ เพราะรู้ตัวว่าไม่ใช่คนที่พัฒนาตัวเองได้เร็วขนาดนั้น ถ้าเราฝันเราก็ต้องลงมือทำด้วย นุชผ่านมาหมดแล้วทุกจุด ทั้งคะแนนขึ้นคะแนนตก เราต้องผ่านความกดดันความรู้สึกทุกอย่างไปให้ได้ อย่าหยุดที่จะพัฒนาตัวเองตลอดเวลา ก็จะถึงเป้าหมายได้ในที่สุดค่ะ ขณะที่หนุ่มหน้ากวน เฟย-ภัทร เอกแสงกุล ผู้ได้รับรางวัล “Best of Transformer” หรือ “สุดยอดผู้เปลี่ยนแปลงตัวเอง” ในงาน Warwick Legacy Night 2017 ปัจจุบันเป็นทั้งนักแสดง และว่าที่บัณฑิตคณะนิเทศศาสตร์ หลักสูตรอินเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Comm Arts Chula) อีกทั้งเป็นเจ้าของโปรดักชั่นเฮ้าส์ ได้เล่าเคล็ดลับให้ฟังว่า “แต่ก่อนผมเป็นเด็กเหลวไหล โดดเรียนไปเที่ยวกับเพื่อนตลอด แต่พอจบ ม. 5 ก็นึกขึ้นว่าเหลือปีเดียวแล้วต้องเข้ามหาวิทยาลัยจะทำไงดี อยากทำให้พ่อแม่ภูมิใจ ผมบอกตัวเองว่า ต้องเลิกเหลวไหลและตั้งเป้าหมายคิดบวกว่าต้องสอบเข้านิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ให้ได้ คิดทุกคืนว่าต้องได้ ถ้าสอบไม่ได้ก็ไม่มีอนาคต กดดันตัวเองไว้ก่อน สิ่งนี้ทำให้ผมลุกจาก เตียงมานั่งอ่านหนังสือเอง และแข่งกับตัวเอง ทำให้ดีขึ้นทุกๆวัน หาที่เรียนเสริมเพราะไม่ใช่แค่ความรู้ มันขึ้นอยู่กับ การแข่งขัน เวลา ตัวเอง และเทคนิค ต้องฝึกทำข้อสอบเยอะมาก ทุกความ สำเร็จต้องแลกมาด้วยกำลังกาย และกำลังใจครับ”
“... คนที่ไม่มีเป้าหมาย ไร้ความฝัน ยากที่จะประสบความสำเร็จได้ แม้จะมีคำพูดเป็นล้านคำแต่ถ้าขาดการลงมือทำมันก็ไร้ค่า
อย่ารอให้ใครมาสร้างแรงบันดาลใจ แต่จงลุกขึ้นมากระตุ้นตัวเอง มองโลกในแง่ดีและมีความรับผิดชอบ แล้วคุณจะนับถือตัวเองเป็น...คนที่รู้จักนับถือตัวเอง ไม่ฝากชีวิตไว้ กับทัศนคติของคนอื่นหรือไหลไปตามค่านิยมของสังคม จะสามารถพาชีวิตข้ามอุปสรรคต่างๆ ไปได้อย่างง่ายดายและประสบความสำเร็จได้ในที่สุด...” ครูบี-เกรียงศักดิ์ กล่าวทิ้งท้าย