ม.ล.ปนัดดา ย้ำนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงฯ คือศาสตร์พระราชานโยบายขับเคลื่อนหลอมเด็กอาชีวะ (3) โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)สนับสนุนชุมชนและสถานศึกษาอย่างวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี เป็นโครงการต้นแบบเสริมองค์ความรู้อาชีพเกษตรกรรมตามแนวทฤษฎีใหม่ฯและเป็นต้นแบบการดำเนินชีวิตเพื่อพัฒนาคุณภาพให้อยู่ดีมีความสุขยั่งยืนด้วยวิถีแห่งความพอเพียงด้วยการส่งเสริมใน 4 เรื่อง ได้แก่การเกษตรการประมงปศุสัตว์สิ่งแวดล้อม การเกษตรหลักคือการทำนา ได้นำองค์ความรู้ตั้งแต่การเตรียมแปลงนา โดยเฉพาะนาดำ การใส่ปุ๋ย ก่อนไถหรือก่อนคราดฉีดพ่นปุ๋ยน้ำจุลินทรีย์ ให้ทั่วหลังจากคราดแล้วหมักไว้ 15 วัน หากมีหญ้างอก ให้ฉีดพ่นปุ๋ยน้ำและไถคราดอีกครั้งเพื่อปราบหญ้า จากนั้นลงมือปักดำได้หรือหว่านได้ แล้วก็ติดตามให้องค์ความรู้การดูแลรักษาให้ต้นข้าวเจริญงอกงามเติบโตไปจนให้ผลผลิตที่สูงที่สุดกระทั่งเก็บเกี่ยว ทั้งนี้ต้องยึดหลักตามแนวพระราชดำริคือความเป็นเกษตรกรรมปลอดสารพิษเพื่อประโยชน์ผู้บริโภค เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมที่ดีงาม ตามแนวพระราชดำริเกษตรทฤษฎีใหม่ แบ่งพื้นที่ทำนาแล้วก็แบ่งพื้นที่ทำเกษตรอย่างอื่น อย่างเช่นพืชไร่ซึ่งเป็นพืชที่คล้ายพืชผักสวนครัวในบางส่วน เพราะสามารถเพาะปลูกเป็นแปลงก็ได้ เพาะปลูกเป็นหลุมก็ดี ที่ต่างออกไปคือ การเพาะปลูกเป็นลานกว้าง เป็นแปลงเดี่ยวทั้งพื้นที่ หรือแบ่งเป็นแปลงใหญ่ๆ ตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริมาเป็นประทีปนำทาง นั่นคือไม่ได้มุ่งที่จะสร้างผลผลิตเพื่อความร่ำรวย หากแต่สร้างผลผลิตเพื่อเป็นอาหารในครัวเรือน เป็นการได้ประโยชน์จากวัตถุดิบที่มีอยู่ภายในครัวเรือนไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยภายนอก ทำให้เกิดการประหยัด ตามหลักการที่ว่ากินทุกอย่างปลูกปลูกทุกอย่างที่กิน ที่เหลือแล้วจึงค่อยขายจ่ายแจกกันไป ประโยชน์ที่ได้นอกจากเป็นอาหารแล้ว ยังได้สร้างทรัพยากรธรรมชาติคือป่าต้นไม้แหล่งน้ำไว้ในพื้นที่เล็กๆที่เป็นของตนเอง สร้างความชุ่มชื้นให้เกิดขึ้น อันเป็นการสืบสานพระราชปณิธานไปในตัว โครงการชีววิถีสืบสานพระราชปณิธานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงฯโดยกฟผ.ส่งเสริมสนับสนุนชุมชนและสถานศึกษาน้อมนำหลักการเกษตรทฤษฎีใหม่ฯเป็นแม่แบบโดยแบ่งพื้นที่สร้างปัจจัยที่สำคัญต่อการเจริญงอกงามของสรรพชีวิตหลักคือแหล่งน้ำ และถัดมาเป็นพื้นที่แปลงเกษตร แปลงพืชสวนเป็นอีกสัดส่วนหนึ่งที่โครงการส่งเสริมสนับสนุนให้องค์ความรู้ ตั้งแต่มีการเตรียมดินปลูกเป็นหลุม หลุมละ 1 ต้น ไม่ต้องไถพื้นที่ ยกเว้นเพื่อการปราบวัชพืช อาจไถหลายครั้ง จากนั้นก็เตรียมหลุมปลูกแล้วดูแลรักษาเพื่อให้เกิดการเจริญเติบโตให้ผลผลิตตารมที่ต้องการ จากแปลงเกษตรต่างๆไปสู่พื้นที่การประมง ดังที่เกริ่นไว้การเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ฯหัวใจสำคัญของการแบ่งพื้นที่คือแหล่งน้ำ ตามแนวพระราชดำริที่พระราชทานไว้ “น้ำคือชีวิต ชีวิตอยู่ที่นั่น” น้ำเพื่อใช้ในการอุปโภคหรือบริโภคแล้ว น้ำยังใช้ในแปลงเกษตร มิเพียงเท่านั้นน้ำยังเป็นแหล่งผลิตอาหารโปรตีนได้ด้วยนั่นคือสร้างเป็นแหล่งประมงเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่นการเลี้ยงปลาในบ่อทั้งปลาดุก ปลาสลิด ปลาตะเพียน ปลานิล ปลาไน ปลาบู่ ฯลฯ การเลี้ยงกบและสัตว์น้ำอื่นๆเท่าที่สามารถดำเนินการได้ พื้นที่อีกส่วนที่สำคัญสำหรับการผลิตอาหารคือการเลี้ยงปศุสัตว์อย่างเช่นการเลี้ยงไก่พื้นเมือง เลี้ยงเป็ด เลี้ยงหมู วิธีการเลี้ยงนั้นในส่วนที่โครงการชีววิถีนำองค์ความรู้ไปส่งเสริมมีทั้งทำกรง ด้วยการทำเป็นตาข่าย ไปจนกระทั่งเลี้ยงแบบปล่อยถ้าไม่สร้างความเดือดร้อนให้รอบๆข้าง หัวใจสำคัญอีกสิ่งหนึ่งตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงฯคือ การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่เล็กๆของครัวเรือน การรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดีงามอย่างเช่นการดูแลบำบัดน้ำเสีย การกำจัดกลิ่นเหม็นจากโรงเรือนคอกสัตว์ด้วยการใช้ จุลินทรีย์ รด ฉีด พ่น 3 วัน/ครั้ง เป็นต้น โครงการชีววิถีตามแนวพระราชดำริปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี อำเภอด่านช้าง โดยสนับสนุนของกฟผ.ดำเนินการต่อเนื่องมาถึงวันนี้ได้เป็นพื้นที่ศูนย์เรียนรู้การเกษตรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้นแบบให้ทั้งนักเรียนนักศึกษาครูอาจารย์กระทั่งประชาชนทั่วไปได้เข้าไปศึกษาเรียนรู้แล้วนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ตัวเอง อันกล่าวได้ว่าวิทยาลัยได้ตระหนักถึงความสำคัญแห่งการสืบสานพระราชปณิธาน นำทั้งครูอาจารย์นักเรียนนักศึกษาอบรมบ่มนิสัยซึมซับเรียนรู้ศาสตร์พระราชาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงฯทั้งในภาคส่วนของพื้นที่การจัดการเรียนการสอนด้านเกษตรกรรมและในภาคส่วนของแปลงเกษตรโครงการชีววิถีฯดังกล่าวอย่างเข้มข้นเข้มแข็ง เป็นไปตามที่รัฐมนตรีช่วยการกระทรวงศึกษาธิการม.ล.ปนัดดา ดิสกุลให้นโยบาย และเป็นไปตามนโยบายรัฐบาลกับการเน้นย้ำนำศาสตร์พระราชาพัฒนาสังคมไทยสู่ความยั่งยืนด้วยความสุขความสงบตามวิถีแห่งความพออยู่พอกิน (อ่านต่อ)