ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวทะเลตรัง “โอด” งบประมาณก่อสร้างท่าเทียบเรือปากเมงกว่า 140 ล้านตกทั้งๆที่โครงการผ่านกรมเจ้าท่าและกรมอุทยานฯแล้ว เมื่อเวลา 11.00น.วันที่ 12 ต.ค. ผู้สื่อข่าวได้รับการประสานจากผู้ประกอบท่องเที่ยวทางทะเลบริเวณท่าเรือปากเมง อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม ต.ไม้ฝาด อ.สิเกา จ.ตรัง ให้มาดูสภาพท่าเรือเรือปากเมงที่มีสภาพก่าคร่ำครึ ทางเดินไปยังท่าเรือเล็กและแคบ โดยเฉพาะบริเวณท่าเรือซึ่งเป็นพื้นปูนชำรุด อีกทั้งบันไดทางลงรับส่งนักท่องเที่ยวได้รับความเสียหาย บางจุดต้องมีการนำไม้มาปักวางเพื่อป้องกันการกระแทกของเรือ จึงทำให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางไม่ได้รับความสะดวก และอาจได้รับอันตราย โดยเฉพาะขณะนี้เข้าสู่ฤดูการท่องเที่ยวของจังหวัด รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านี้ทางกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม ได้สำรวจออกแบบก่อสร้างท่าเรือเรือ ด้วยการทำประชาคมชาวบ้านในพื้นที่ จากนั้นได้อนุมัติงบประมาณ 140 ล้าน เพื่อก่อสร้างท่าเทียบเรือปากเมงในปีงบประมาณ 2560 แม้ว่าจะมีปัญหาติดขัดในเรื่องของสถานที่ซึ่งเป็นของอุทยานฯหาดเจ้าไหม กรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และในภายหลังทางกรมอุทยานฯได้อนุญาตให้ใช้พื้นที่ไปแล้วเช่นกัน แต่จู่ๆทราบภายหลังว่า โครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือปากเมตกไปอย่างไร้สาเหตุ สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยว นักท่องเที่ยว รวมทั้งชาวบ้านในพื้นที่และประชานทั้งจังหวัดตรังอีกด้วย นายประทีป โจ้งทอง ผู้จัดการลิบงการท่องเที่ยว อดีตนายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดตรัง กล่าวว่า เนื่องจากว่าโครงสร้างสะพานท่าเทียบเรือปากเมงสร้างเมื่อปี 2536 มีอายการใช้งานมาก อีกทั้งการก่อสร้างสะพานท่าเทียบเรือปากเมงในขณะนี้อยู่ในช่วงที่ยังมีเรือยังไม่มาก นักท่องเที่ยวน้อย เรือก็มีไม่กี่ลำ ระยะหลังนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นทุกๆปี โดยที่ท่าเรือปากเมงเป็นจุดศูนย์กลางทางทะเลที่จะลงไปยังเกาะต่างๆ อาทิ เกาะมุกต์ เกาะสุกร เกาะรอก เกาะไหง เกาะกระดาน เกาะลิบง ถ้ำมรกต และเกาะลันตา จึงเป็นเป็นท่าเรือที่เป็นศูนย์กลาง นายประทีป กล่าวอีกว่า จนถึงขณะนี้จำนวนนักท่องเที่ยวจะมีปริมาณเพิ่มขึ้น เรือที่จะเข้าเทียบก็จะเพิ่มขึ้นทุกปี เฉพาะเรือหางยาว สปีคโบ๊ด กว่า 100ลำ เรือทัวร์มีกว่า 50 ลำ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลเรือในพื้นที่ไม่พอ ต้องอาศัยเรือจากเกาะลันตา จ.กระบี่ เป็นเรือขนาด 200-300 ที่นั่ง เรือแต่ละลำยาวกว่า 30 เมตร ในขณะที่ท่าเรือสั้นและแคบ ความยาวเพียง 30 เมตร หน้าท่ากว้าง 18 เมตร เท่ากับว่าเรือจอดได้เฉพาะท้ายเรือเพื่อรับนักท่องเที่ยวได้เท่านั้น จึงมีความจำเป็นต้องขยายท่าเรือ เนื่องจากการขยายสะพานที่ผ่านมาทางกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม มีการสำรวจออกแบบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทางกรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืชก็ได้มีการเซ็นต์อนุญาตให้ใช้พื้นที่แล้ว แต่ตอนที่มีการประชุมพิจารณางบประมาณตนไม่ทราบว่า งบประมาณปี 2561 ที่ตั้งไว้ 140 ล้านในการออกแบบสร้างตกไปได้อย่างไร แม้ว่าทางจังหวัดตรังจะเหตุผลว่าจะนำไปเข้างบประมาณปี 2562 แต่ว่าความเร่งด่วนของการใช้ท่าเรือก็ต้องดำเนินการด้วยความเร่งด่วนเช่นกัน และไม่มั่นใจว่าจะได้อีกหรือไม่ “เพราะฉะนั้นผมจึงออกมาเรียกร้องให้มีการก่อสร้างสะพานท่าเทียบเรือปากเมงอย่างเร่งด่วน ด้วยเหตุผลที่ว่า จะต้องใช้เป็นศูนย์กลางในการนำนักท่องเที่ยวออกทะเล แม้แต่ศูนย์กลางของหน่วยงานภาคราชการที่ดูแลรับผิดชอบก็ตั้งอยู่ในจุดบริเวณดังกล่าว เพราะฉะนั้นจึงเป็นความถูกต้องที่ท่าเรือจะต้องสร้างจุดนี้ ในอดีตมีปัญหาติดกับทางอุทยานฯหาดเจ้าไหม แต่ความจริงทางอุทยานฯก็เซ็นต์อนุญาตให้แล้ว แต่มาติดปัญหาตรงจุดการผลักดันงบทั้งๆที่ได้งบประมาณแล้วแต่ก็ตกไป โดยมีเบื้องหน้าเบื้องหลัง อย่างไรก็ตามก็ต้องผลักดันกันใหม่ เป็นหน้าที่ของทางจังหวัดและหน่วยงานรับผิดชอบจะต้องช่วยกันผลักดันต่อไป ในช่วงหน้าท่องเที่ยวปีนี้ ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2560 เป็นต้นไป ท่าเรือปากเมงจะต้องรับนักท่องเที่ยววันละไม่ต่ำกว่า 500 หรือ 2,000-3,000คน ต่อวันจึงเกิดการคับแคบหนาแน่น และอาจจะเกิดอนตรายกับนักท่องเที่ยวได้” นายประทีป กล่าว สำหรับสภาพปัญหาท่าเทียบเรือปากเมง ขนาดท่าเรือไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้มาใช้บริการ ,สพานท่าเรือค่อนข้างแคบ ,ไม่มีอาคารที่พักผู้โดยสาร ,ความลึกร่องน้ำไม่เพียงพอ .ท่าเรือยังไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัย เช่น บันไดขึ้นลงเรือ หลักผูกเรือ และยางกันชนเรือ ,โครงสร้างท่าเรือชำรุดทรุดโทรม ,ระบบสาธารณูปโภค ได้แก่ ระบบไฟฟ้าแสงสว่างโดยเฉพาะหน้าท่าและสะพานท่าเรือระบบน้ำประปา ระบบถ่ายน้ำมันเชื้อเพลง และระบบขนย้ายสินค้า ,ไม่มีพื้นที่จอดเรือ และ ความแออัดของการจราจรทางบกช่วงเทศกาล สำหรับความต้องการเร่งด่วน รายงานข่าวจากผู้ประกอบการท่องเที่ยวจังหวัดตรัง แจ้งว่า ได้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงสาเหตุที่ทำให้งบประมาณการก่อสร้างสะพานท่าเรือเรือปากเมงปีงบประมาณ 2561 ถูกดึงออกจากโครงการก่อสร้าง