รายงานข่าวจากสมาคมประกันวินาศภัยไทย เปิดเผยว่า สรุปจำนวนรถที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม เมื่อวันที่ 13-14 ตุลาคม 2560 ปรากฎว่า มีจำนวนรถทั้งสิ้นรวม ณ ถึงณ วันที่ 16 ตุลาคม 2560 เวลา 11.00 น. มีจำนวนทั้ง 2,009 คัน 1. เทเวศ 86 คัน 2.โตเกียว 52 คัน 3. msig 58 คัน4. คุ้มภัย 181 คัน 5. ธนชาต157คัน 6.เมืองไทย 184 คัน 7. ชับบ์สามัคคี 15 คัน8. แอกซ่า 30 คัน 9. อาคเนย์ 106 คัน10. วิริยะ 500 คัน11.ทิพย 156 คัน 12.เอเชีย 18 คัน 13.ไอโออิประกันภัย 47 คัน 14.สหมงคลประกัน 7 คัน15.กรุงเทพประกันภัย 194 คัน 16.สินทรัพย์ 35 คัน 17.นวกิจ 36 คัน 18.แอลเอ็มจี 79 คัน19.เอฟพีจี 3 คัน20.ไทยเศรษฐกิจ 2 คัน21.มิตซุยฯ 40 22.เจนเนอราลี่ฯ 1 คัน23.นิวแฮมเชอร์ 6 คัน 24.เอไอจี 2 คัน25.สยามซิตี้ 11 คัน26.ฟินิกซ์ประกันภัย 2 คัน27.นำสินประกันภัย 1 คัน นายอานนท์ วังวสุ เลขาธิการสมาคมประกันวินาศภัยไทย เปิดเผยว่า จากกรณีเกิดน้ำท่วมขังชั้นใต้ดินของคอนโดหรืออาคารหลายๆจุด จนทำให้รถยนต์เสียหายนั้น บริษัทก็กำลังดูว่า จะไปไล่เบี้ยเรียกร้องให้คอนโดหรืออาคารรับผิดชอบกันต่อไป โดยจะต้องดูว่า เจ้าของอาคารประมาทไม่ดูแล จนปล่อยให้ระบบระยายน้ำคอนโดหรืออาคารสูงเกิดการบกพร่องไปหรือไม่ มีหรือไม่มีการเตรียมการเครื่องสูบน้ำไว้รองรับการระบายน้ำที่ท่วมขัง เช่นเดียวกับในกรณีนี้สำหรับเรถที่ไม่มีการทำประกันภัยรถยนต์เอาไว็ ก็น่าจะไปเรียกร้องค่าเสียหายกับเจ้าของตึกอาคารหรือคอนโดได้เช่นกัน เนื่องจากส่วนใหญ่เข้าใจว่าน่าจะซื้อประกันความรับผิดชอบเจ้าของอาคารไว้อยู่แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะซื้อส่วนหนึ่งในกรมธรรม์IAR บางรายก็ซื้อแยกออกมาจากกรมธรรม์IAR เลย อย่างไรก็ตาม จากบทเรียนและตัวอย่างความเสียหายที่เกิดขึ้นจากน้ำท่วมชั้นใต้ดินของคอนโดหรืออาคารสูงเหล่านี้ คงจะทำให้ต่อไปนี้ทางบริษัทประกันภัยคงจะต้องเข้มงวดกวดขันในการรับประกันกันมากขึ้นในการพิจารณารับประกันภัย โดยจะต้องพิจารณาดูอย่างรอบคอบว่า ชั้นใต้ดินมีระบบการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังชั้นใต้ดินที่ทำอาคารจอดรถไว้ดีหรือไม่ ถ้าไม่ดี ก็อาจจะมีผลต่อการจ่ายเบี้ยประกันความรับผิดของเจ้าของอาคารหรือคอนโดสูงขึ้น