ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2560 เวลา 10.00 น. ได้มอบหมายให้นายตนุภัทร รัตนพูลชัย รองเลขาธิการ คปภ.ด้านกฎหมาย คดีและคุ้มครองสิทธิประโยชน์ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ สายกฎหมายและคดี สำนักงาน คปภ. นำประชาชนกว่า 30 คน ที่ได้รับความเสียหายจากบริษัทเอส.เอ็ม.พี อินชัวร์ จำกัด เข้าแจ้งความต่อ พ.ต.อ.ชาคริต สวัสดี รองผู้บังคับการกองปราบปราม เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย ทั้งนี้สืบเนื่องจากสำนักงาน คปภ. ได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน ว่า บริษัท เอส.เอ็ม.พี อินชัวร์ จำกัด ที่มี นางสาววราพร บุตรแสน และนายชาญยุทธ  โสมาศรี  ซึ่งเป็นกรรมการของบริษัทฯ ได้กระทำการเสนอขายประกันภัยรถยนต์ของบริษัทประกันภัยหลายแห่ง ผ่านทางโทรศัพท์ให้แก่ประชาชนและเป็นผู้เสียหายประมาณ 200 ราย ทั่วประเทศ โดยเมื่อผู้เสียหายได้ตกลงทำประกันภัยรถยนต์และชำระเงินค่าเบี้ยประกันภัย ทางบริษัท เอส.เอ็ม.พี อินชัวร์ จำกัด จึงออกเอกสารใบคำขอเอาประกันภัยซึ่งอ้างว่าเป็นของบริษัทประกันภัยหลายแห่งและออกใบเสร็จรับเงินของบริษัท เอส.เอ็ม.พี. อินชัวร์ จำกัด ให้แก่ผู้เสียหายไว้เป็นหลักฐาน แต่ปรากฏว่า ผู้เสียหายไม่ได้รับกรมธรรม์ประกันภัย จึงติดต่อไปยังบริษัทประกันภัยที่ถูกระบุว่าเป็นบริษัทผู้รับประกันภัย โดยบริษัทประกันภัยแจ้งว่าไม่มีการแจ้งขอเอาประกันภัยแต่อย่างใด ดังนั้นผู้เสียหายจึงติดต่อกลับมายังบริษัท เอส.เอ็ม.พี. อินชัวร์ จำกัด เพื่อขอยกเลิกการซื้อกรมธรรม์ประกันภัยและขอเงินค่าเบี้ยประกันภัยคืน แต่พนักงานของบริษัท เอส.เอ็ม.พี. อินชัวร์ จำกัด กลับบ่ายเบี่ยงไม่ยินยอมให้ยกเลิกการซื้อกรมธรรม์ หรือหากจะยกเลิกการซื้อกรมธรรม์ ผู้เสียหายจะต้องถูกหักค่าใช้จ่าย และยิ่งไปกว่านั้นมีผู้เสียหายหลายรายที่ขับรถยนต์ไปประสบอุบัติเหตุ แต่เมื่อไม่มีการขอเอาประกันภัยกับบริษัทผู้รับประกันภัยจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์แต่อย่างใด   นอกจากนี้ บริษัท เอส.เอ็ม.พี. อินชัวร์ จำกัด ยังได้ลงโฆษณาในเว็บไซต์ www.smpinsure.com โดยมีการใช้ตราสัญลักษณ์ของบริษัทประกันภัยหลายบริษัท เพื่อชี้ช่องให้ประชาชน เข้าทำสัญญาประกันภัย ซึ่งสำนักงาน คปภ. ได้ตรวจสอบจากฐานข้อมูลใบอนุญาตตัวแทนประกันวินาศภัยและนายหน้าประกันวินาศภัย พบว่า บริษัท เอส.เอ็ม.พี. อินชัวร์ จำกัด ไม่มีใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยแต่อย่างใด สำหรับนายชาญยุทธ โสมาศรี ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยของบริษัทวิริยะประกันภัย จำกัด แต่ได้ถูกยกเลิกใบอนุญาตเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2560 ส่วนนางสาววราพร บุตรแสน ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยบุคคลธรรมดา ประเภทจัดการประกันวินาศภัยโดยตรง ใบอนุญาตเลขที่ 5804032748 ซึ่งนายทะเบียนได้มีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยไปแล้วเช่นกัน ขณะเดียวกัน สำนักงาน คปภ.ยังได้ประชุมหารือร่วมกับบริษัทประกันภัยหลายบริษัทที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของบริษัท เอส.เอ็ม.พี อินชัวร์ จำกัด เช่น บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัท นวกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัท ประกันภัยคุ้มภัย จำกัด (มหาชน) บริษัท สินทรัพย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) และบริษัท โตเกียวประกันภัย จำกัด (มหาชน)โดยเบื้องต้นสำนักงาน คปภ. ได้รับแจ้งข้อมูลการดำเนินการตามกฎหมายจากบริษัทประกันภัยที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของบริษัท เอส.เอ็ม.พี. อินชัวร์ จำกัด กล่าวคือ บริษัท ประกันภัยคุ้มภัย จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินการฟ้องนางสาววราพร บุตรแสน เป็นคดีอาญา ต่อศาลจังหวัดมีนบุรี ในความผิดฐานยักยอกทรัพย์ รวมทั้งได้ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากการผิดสัญญาตัวแทนนายหน้า เป็นคดีแพ่ง ต่อศาลแขวงปทุมวัน ส่วนบริษัท สินทรัพย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินการแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจนครบาลสุทธิสาร กรณีบริษัท เอส.เอ็ม.พี. อินชัวร์ จำกัด แอบอ้างชื่อของบริษัทเพื่อขายกรมธรรม์โดยมิได้เป็นตัวแทนหรือนายหน้าประกันวินาศภัยของบริษัทแต่อย่างใด สำหรับ บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดำเนินคดีบริษัท เอส.เอ็ม.พี. อินชัวร์ จำกัด และนางสาววราพร บุตรแสน ในความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ปลอมเอกสาร ใช้เอกสารปลอม และนำชื่อในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต ทั้งนี้จากการหารือของบริษัทประกันภัยที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของบริษัท เอส.เอ็ม.พี. อินชัวร์ จำกัด มีความเห็นสอดคล้องกันว่า กรณีที่บริษัท เอส.เอ็ม.พี อินชัวร์ จำกัด กระทำการใช้เอกสารใบคำขอเอาประกันภัย ซึ่งไม่ใช่เอกสารของบริษัทประกันภัย เป็นการกระทำที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร ซึ่งบริษัทประกันภัยจะดำเนินการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนต่อไป อีกทั้งบริษัทประกันภัยที่ได้รับความเสียหายจากกรณีที่บริษัท เอส.เอ็ม.พี อินชัวร์ จำกัด กระทำการใช้ตราสัญลักษณ์ของบริษัทลงโฆษณาในเว็บไซต์ www.smpinsure.com อาจทำให้ประชาชนเข้าใจผิดและหลงเชื่อว่าบริษัท เอส.เอ็ม.พี. อินชัวร์ จำกัด เป็นตัวแทนหรือนายหน้าประกันภัยที่ได้รับมอบหมายจากบริษัท ซึ่งไม่เป็นความจริง เป็นความผิดตามมาตรา 14 (1) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 และบริษัทประกันภัยทุกบริษัทพร้อมที่จะดำเนินการตามกฎหมายกับบริษัท เอส.เอ็ม.พี. อินชัวร์ จำกัด ให้ถึงที่สุดดังนั้นสำนักงาน คปภ. จึงได้ประสานกับผู้เสียหายให้มาร้องทุกข์เพื่อให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดี กับบริษัท เอส.เอ็ม.    พี อินชัวร์ จำกัด ในความผิดฐานฉ้อโกง ซึ่งอาจเข้าลักษณะเป็นการฉ้อโกงประชาชนด้วย “การกระทำของบริษัทฯและพฤติกรรมของกลุ่มคนดังกล่าวได้สร้างความเสียหายกับประชาชนในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสานและภาคกลางมีผู้เสียหายเป็นจำนวนมาก ดังนั้นผมจึงสั่งการให้สำนักงานคปภ.ที่มีประชาชนได้รับความเสียหายรวบรวมข้อมูลการกระทำความผิด  ตลอดจนติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดเพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนอย่างเต็มที่พร้อมให้บังคับใช้กฎหมายกับผู้กระทำผิดอย่างเคร่งครัด ส่วนในการป้องกันปัญหาเรื่องนี้ในระยะยาว คือ การเร่งผลักดันการแก้ไขกฎหมายประกันภัยโดยเพิ่มบทบัญญัติฐานความผิดเรื่องการฉ้อฉลประกันภัยและเข้มงวดในการออกใบอนุญาตและกำกับดูแลคนกลางประกันภัยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น” เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 16 ต.ค. 60 ที่ กองบังคับการปราบปราม นายตนุภัทร รัตนพูลชัย รองเลขาธิการด้านกฎหมายคดีและคุ้มครอง สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจปนะกันภัย(คปภ.) พร้อมด้วย ตัวแทนบริษัทประกันภัย จำนวน 9 บริษัท และผู้เสียหายจากการถูกหลอกซื้อประกันภัยรถยนต์ จำนวน 30 คน มูลค่าความเสียหาย 3 ล้านบาท เดินทางเข้าพบ พ.ต.อ.ชาคริต สวัสดี รองผบก.ป. เพื่อแจ้งความดำเนินคดีกับ น.ส.วราพร บุตรแสน และ นายชาญยุทธ โสมาศรี กรรมการบริษัท เอส.เอ็ม.พี อินชัวร์จำกัด โดยนำเอกสารหลักฐานการโอนเงินของผู้เสียหาย มามอบให้พนักงานสอบสวนประกอบในการพิจรณาคดี นายตนุภัทร กล่าวว่า ทางสำนักงานคปภ.ได้รับเรื่องร้องเรียนมากกว่า 200 คน ถูกบริษัท เอส.เอ็ม.พี อินชัวร์จำกัด เสนอขายประกันภัยรถยนต์ผ่านทางโทรศัพท์อ้างว่ามีโปรโมชั่นพิเศษ เช่น สามารถผ่อนได้โดยไม่เสียดอกเบี้ย หรือหากจ่ายเงินสดจะได้รับกล้องติดหน้ารถ เมื่อผู้เสียหายได้ตกลงทำประกันและได้ทำการชำระเงินค่าเบี้ยประกันภัยแล้ว แต่ปรากฎว่าไม่ได้รับกรมธรรม์ประกันภัย ต่อมาผู้เสียหายจึงได้แจ้งมายังบริษัทประกันภัยต้นสังกัดให้ช่วยตรวจสอบ ซึ่งไม่พบข้อมูลการซื้อประกันภัย ทางผู้เสียหายจึงได้แจ้งกลับไปยังบริษัทเอส.เอ็ม.พี อินชัวร์จำกัด ก็ได้รับการบ่ายเบี่ยงหรือหากจะคืนเงินจะต้องมีการหักค่าใช้จ่ายในการคืนเงินหรือบางรายไม่สามารถติดต่อได้ อย่างไรก็ดีผู้เสียหายบางรายเพียงให้เลขบัตรเครดิตกับทางบริษัทเอส.เอ็ม.พี อินชัวร์จำกัด เพื่อตรวจสอบรายละเอียดกลับถูกบริษัทตัดเงินในบัตรเครดิตไปเลย นายตนุภัทร กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังพบว่า บริษัท เอส.เอ็ม.พี อินชัวร์จำกัด ได้มีการลงโฆษณาในเว็บไซต์ www.smpinsure.com โดยมีการใช้ตราสัญลักษณ์ของบริษัทประกันภัยหลายบริษัท ซึ่งทางสำนักงาน คปภ. ได้ตรวจสอบจากฐานข้อมูลใบอนุญาตตัวแทนประกันวินาศภัยและนายหน้าประกันภัย พบว่า บริษัท เอส.เอ็ม.พี อินชัวร์จำกัด ไม่มีใบอนุญาตเป็นายหน้าประกันภัยวินาศภัย ส่วน นายชาญยุทธ โสมาศรี ที่ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันภัยวินาศภัยของบริษัท วิริยะ ประกันภัย จำกัด นั้นปัจจุบันถูกยกเลิกใลอนุญาตไปเมื่อวันที่ 25 เม.ย. 60 และ น.ส.วราพร บุตรแสน ถูกได้นายทะเบียนเพิกถอนใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันภัยวินาศภัยเช่นกัน ซึ่งขณะนี้ได้มีการแจ้งความดำเนินคดีไว้แล้วที่สน.สุทธิสาร ในข้อหา “ยักยอกทรัพย์”, ”ปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม” นอกจากนี้จะดำเนินคดีกับเว็บไซต์ www.smpinsure.com ตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(1) ด้าน พ.ต.อ.ชาคริต กล่าวว่า ทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจปนะกันภัย(คปภ.) ได้ประสานมายังกองบังคับการปราบปราเกี่ยวกับกรณีประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากการถูกบริษัทนายหน้าหลอกขายประกันภัยรถยนต์ ซึ่งวันนี้ได้จัดพนักงานสอบสวนไว้สอบปากคำผู้เสียหาย ทั้งนี้ในส่วนของความผิดเกี่ยวกับพฤติกรรมของบริษัทดังกล่าวจะเข้าในฐานความผิด”ฉ้อโกงประชาชน” และ “” หากประชาชนท่านใดตกเป็นเหยื่อสามารถเข้าแจ้งความได้ที่กองบังคับการปราบปราม “อยากจะฝากเตือนกรณีได้รับโทรศัพท์เสนอขายประกันภัยหรือบัตรเครดิต ประชาชนควรตรวจสอบกับบริษัทประกันภัยต้นสังกัดก่อน อีกทั้งอย่าไปคล้อยตามคำชักชวนต่าง ๆ โดยเฉพาะโปรโมชั่น ส่วนลด หรือผลประโยชน์ ที่ทางคนร้ายนำมาเป็นแรงจูงใจ ที่ได้รับการเสนอ“ พ.ต.อ.ชาคริต กล่าวเตือน ส่วนทาง หนึ่งในผู้เสียหาย ชาวจ.สระบุรี ที่เดินทางเข้าแจ้งความในวันนี้ เปิดเผยว่า ถูกบริษัทบริษัท เอส.เอ็ม.พี อินชัวร์จำกัด โทรศัพท์มาเสนอขายประกันภัย โดยครั้งแรกได้ปฏิเสธไปเนื่องจากยังไม่สนใจ ต่อมาทางบริษัทยังติดต่อมาอีกครั้ง ซึ่งตนก็บอกไปว่าไม่เงินพอมีเพียงบัตรเครดิต ทางบริษัทจึงขอเลข 16 หลักหน้าบัตรเครดิต โดยอ้างว่าจะตรวสอบโปรโมชั่นให้ จากนั้นไม่นานพบว่ามีใบแจ้งยอดจากบัตรเครดิตว่าได้มีการจ่ายให้กับ บริษัท เอส.เอ็ม.พี อินชัวร์จำกัด ไปจำนวน 15,145 บาท ซึ่งตนก็ยังไม่ทราบว่าได้มีการตัดเงินในบัตรไปตอนไหน จึงได้ติดต่อกลับไปบริษัทเพื่อสอบถามก็กลับได้รับคำบ่ายเบี่ยงเมื่อขอเงินคืน จนสุดท้ายไม่สามารถติดต่อได้อีกเลย สำหรับทั้ง 9 บริษัทประกันภัยที่เดินทางเข้าแจ้งความดำเนินคดีกับริษัทบริษัท เอส.เอ็ม.พี อินชัวร์จำกัด ประกอบไปด้วย บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) , บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) , บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) , บริษัท นวกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน) , บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) , บริษัท ประกันภัยคุ้มภัย จำกัด (มหาชน) , บริษัท สินทรัพย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) , บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) และ บริษัท โตเกียวประกันภัย จำกัด (มหาชน) อนึ่ง เรื่องราวความเป็นมาคดีนี้ สืบเนื่องจากสำนักงานคปภ.ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้เสียหายกรณีบริษัทเอส.เอ็ม.พี.อินชัวร์ จำกัด โดยนางสาววราพร บุตรแสน และนายชาญยุทธ โสมาศรี กรรมการซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินการของบริษัท ได้กระทำการเสนอขายประกันภัยรถยนต์ของบริษัทประกันภัยหลายแห่ง ผ่านทางโทรศัพท์ให้แก่ผู้เสียหายประมาณกว่า 200 รายทั่วประเทศ เมื่อผู้เสียหายตกลงทำประกันภัยรถยนต์และได้ทำการชำระเงินค่าเบี้ยประกันภัย บริษัทเอส.เอ็ม.พี อินชัวร์ จำกัดจะทำการออกเอกสารใบคำขอเอาประกันภัย ซึ่งอ้างว่า เป็นของบริษัทประกันภัยหลายแห่ง และออกใบเสร็จรับเงินของบริษัทเอส.เอ็ม.พี อินชัวร์ จำกัด ให้แก่ผู้เสียหายไว้เป็นหลักฐาน แต่ปรากฎว่า ผู้เสียหายไม่ได้รับกรมธรรม์ประกันภัย จึงได้ติดต่อไปยังบริษัทประกันภัย แต่บริษัทประกันแจ้งว่า ไม่มีการแจ้งขอเอาประกันภัยแต่อย่างใด ผู้เสียหายจึงติดต่อกลับมายังบริษัทเอส.เอ็ม.พี อินชัวร์ จำกัด เพื่อขอยกเลิกการซื้อกรมธรรม์ประกันภัยและขอเงินค่าเบี้ยประกันภัยคืน ซึ่งพนักงานของบริษัทเอส.เอ็ม.พี.อินชัวร์ จำกัด กลับบ่ายเบี่ยงไม่ยินยอมให้ยกเลิกการซื้อกรมธรรม์ หรือหากจะยกเลิกการซื้อกรมธรรม์ ผู้เสียหายก็จะต้องถูกหักค่าใช้จ่าย นอกจากนี้นผู้เสียหายบางรายก็ไม่สามารถติดต่อบริษัทเอส.เอ็น.พี.อินชัวร์ จำกัด ได้อีก ปัจจุบันมีเพียงผู้เสียหายบางรายเท่านั้น ที่ได้รับเงินค่าเบี้ยประกันภัยคืน ยิ่งไปกว่านั้น มีผู้เสียหายหลายรายที่ขับรถยนต์ไปประสบอุบัติเหตุ แต่เมื่อไม่มีการขอเอาประกันภัยกับบริษัท จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์แต่อย่างใด ซึ่งในวันนี้สำนักงานคปภ.ได้ประสานผู้เสียหายมาร้องทุกข์เพื่อให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีกับบริษัทเอส.เอ็ม.พี.อินชัวร์ จำกัด ในดวามผิดฐานฉ้อโกง ซึ่งอาจเข้าลักษณะเป็นการฉ้อโกงประชาชน นอกจากนี้บริษัท เอส.เอ็น.พี อินชัวร์ จำกัด ได้กระทำการลงโฆษณาในเว็บไซด์www.smpinsure.com โดยมีการใช้ตราสัญญลักษณ์ของบริษัทประกันภัยหลายบริษัทตามที่กล่าวมาในข้างต้นไปชี้ช่องให้ประชาชนเข้าทำสัญญาประกันภัย ซึ่งสำนักงานคปภ.ได้ตรวจสอบจากฐานข้อมูลใบอนุญาตตัวแทนประกันวินาศภัยและนายหน้าประกันวินาศภัยพบว่า บริษัท เอส.เอ็ม.พี.อินชัวร์ จำกัดไม่มีใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยแต่อย่างใด สำหรับนายชาญยุทธ โสมาศรีได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยของบริษัทวิริยะประกันภัย จำกัด แต่ได้ถูกยกเลิกใบอนุญาตเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2560 ส่วนนางสาววราพร บุตรแสนได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยบุคคลธรรมดาประเภทจัดการประกันวินาศภัยโดยตรง ใบอนุญาตเลขที่ 5804032748 ซึ่งนายทะเบียนได้มีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยของนางสาววราพรฯไปแล้ว ต่อมาสำนักงานคปภ.ได้ประชุมหารือร่วมกับบริษัทประกันภัยทั้ง 9 บริษัท ที่ได้รับความเสียหายข้างต้น ในเบื้องต้นสำนักงานคปภ.ได้รับแจ้งข้อมูลการดำเนินการตามกฎหมายจากบริษัทประกันภัยได้แก่ บริษัทประกันคุ้มภัย แจ้งว่า บริษัทได้ดำเนินการฟ้องนางสาววราพร บุตรแสนเป็นคดีอาญา ต่อศาลอาญาจังหวัดมีนบุรี ในควาสมผิดฐานยักยอกทรัพย์ รวมทั้งได้ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากการผิดสัญญาตัวแทนนายหน้า เป็นคดีแพ่ง ต่อศาลแขวงปทุมวัน ส่วนบริษัทสินทรัพย์ประกันภัย ได้แจ้งความพนักงานสอบสวน สน.สุทธิสาร กรณีบริษัทเอส.เอ็ม.พี.อินชัวร์ จำกัดแอบอ้างชื่อของบริษัทเพื่อขายกรมธรรม์โดยมิได้เป็นตัวแทนหรือเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยของบริษัทแต่อย่างใด สำหรับบริษัทอาคเนย์ฯได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดำเนินคดีกับบริษัทเอส.เอ็ม.พี.อินชัวร์ จำกัด นางสาววราพร บุตรแสนในคดีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ปลอมเอกสาร ใช้เอกสารปลอม และนำชื่อในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต ทั้งนี้ บริษัทประกันภัย ทุกบริษัทที่ได้เข้าร่วมหารือ มีความเห็นร่วมกันว่า การที่บริษัทเอส.เอ็ม.พี.อินชัวร์ กระทำการใช้เอกสารใบคำขอเอาประกันภัย ซึ่งไม่ใช่เอกสารของบริษัท เป็นการกระทำที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนเป็นความผิดปลอมเอกสาร ซึ่งบริษัทประกันภัยจะดำเนินการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนต่อไป อีกทั้งบริษัทประกันภัยที่ได้รับความเสียหายจากกรณีที่บริษัทเอส.เอ็ม.พี.อินชัวร์กระทำการใช้ตราสัญลักษณ์ของบริษัทลงโฆษณาในเว็บไซด์ อาจทำให้ประชาชนเข้าใจผิดและหลงเชื่อว่าบริษัทเอส.เอ็ม.พี.อินชัวร์ เป็นตัวแทนหรือนายหน้าประกันภัยที่ได้รับมอบหมายจากบริษัท ซึ่งไม่เป็นความจริง เป็นความผิดตามมาตรา 14(1) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 และบริษัทประกันภัยทุกบริษัทพร้อมที่จะดำเนินการตามกฎหมายกับบริษัทเอส.เอ็ม.พี.อินชัวร์ โดยกรรมการที่รับผิดชอบในการดำเนินการของบริษัท ขณะนี้สำนักงานคปภ.ได้ดำเนินการร้องทุกข์ต่อกองบังคับการปราบปรามให้ดำเนินคดีกับบริษัทเอส.เอ็ม.พี.อินชัวร์ จำกัด โดยกรรมการผู้รับผิดชอบในการดำเนินการของบริษัท ในฐานความผิดกระทำการใช้ชื่อหรือคำแสดงชื่อในธุรกิจว่า “อินชัวร์” อันเป็นการใช้ชื่อหรือคำแสดงชื่อธุรกิจว่า “ประกันวินาศภัย”หรือคำอื่นใดที่มีความหมายเช่นเดียวกัน โดยนำไปแสดงต่อผู้อื่นเพื่อให้หลงเชื่อว่าเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยหรือนายประกันวินาศภัยที่ได้รับใบอนุญาต ซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 18 มีบทกำหนดโทษตามมาตรา 87 และกระทำการชี้ช่องให้บุคคลทำสัญญาประกันภัยกับบริษัท โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนเป็นความผิดตามมาตรา 63 อันมีบทกำหนดโทษตามาตรา 99 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัยพ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัยฉบับที่ 2 พ.ศ.2551 และกรณีบริษัทเอส.เอ็ม.พี.อินชัวร์ โดยกรรมการผู้รับผิดชอบในการดำเนินการของบริษัท กระทำการโฆษณาในเว็บไซด์ โดยมีการใช้ข้อความอันเข้าลักษณะเป็นการชี้ช่องให้ผู้เสียหายเข้าทำสัญญากับบริษัทประกันภัยหลายแห่ง ทั้งๆที่บริษัทเอส.เอ็ม.พี.อินชัวร์ไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าฯแต่อย่างใด ประกอบกับบริษัทประกันหลายแห่งไม่ได้เป็นคู่สัญญากับบริษัทเอส.เอ็ม.พี.อินชัวร์ และ/หรือนางสาววราพร บุตรแสน และ/หรือนายชาญยุทธ โสมาศรี แต่อย่างใด อันอาจเป็นการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซี่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาน ตามมาตรา 14(3)แห่งพระราชบัญญํติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2560