กรมคุ้มครองสิทธิฯ จับมือ คณะผู้แทนยุโรป พิจารณาการเปลี่ยนแปลงโทษประหารชีวิตในประเทศไทยเนื่องในวันต่อต้านการประหารชีวิตโลกประจำปี 2560 วันที่ 17 ต ค 2560 ที่ โรงแรม Bliston Suwan Park View Hotel เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ น.ส.ปิติกาญจน์ สิทธิเดช อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ร่วมกับ ดร.โคลิน สไตน์บัค หัวหน้าฝ่ายการเมืองและข้อมูลข่าวสาร คณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย เป็นประธานเปิดการประชุมเพื่อพิจารณาแนวทางในการเปลี่ยนแปลงโทษประหารชีวิตในประเทศไทย เนื่องในวันต่อต้านการประหารชีวิตโลกประจำปี 2560 (World Day against Death Penalty 2017) วันที่ 10 ต.ค.วันต่อต้านการประหารชีวิตโลกควรเปลี่ยนแปลงโทษประหารชีวิต เนื่องการประหารชีวิตถือว่าขัดหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในการมีชีวิตอยู่ และเป็นการกระทำที่ละเมิดต่อกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน การประหารชีวิตไม่ได้เป็นแนวทางที่จะยับยั้งอาชญากรรมได้จริง การใช้โทษประหารชีวิตทั่วโลกมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากข้อมูลเชิงสถิติของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล พบว่า 141 ประเทศ หรือ 3 ใน 4 ของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ได้ยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิต คงเหลือเพียง 57 ประเทศ ไประเทศไทยยังคงมีโทษประหารชีวิต "สำหรับประเทศไทย การใช้โทษประหารชีวิตหลายวิธีซึ่งแตกต่างกันไป โดยในช่วงระหว่างปี 2478 - 2546 ใช้วิธีการยิงเป้า เมื่อวันที่ 18 ก.ย.2546 ได้เปลี่ยนเป็นการฉีดสารพิษแทน การประหารชีวิตครั้งสุดท้ายเมื่อเดือน ส.ค.2552 หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่ามีการประหารชีวิตเกิดขึ้น ในอีก 2 ปีข้างหน้า (ปี 2562) ก็เท่ากับว่าประเทศไทยไม่มีการประหารชีวิตครบ 10 ปี จึงมีผลทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่พักการลงโทษประหารชีวิตในทางปฏิบัติตามหลัก Moratorium" ในระยะแรกจะเน้นการศึกษาเพื่อเพิ่มดุลพินิจแก่ศาลที่จะลงโทษวิธีอื่นได้ในฐานความผิดที่มีโทษประหารชีวิตสถานเดียว และในระยะต่อไปจะได้มีการศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการไม่ใช้โทษประหารชีวิตกับความผิดบางประเภทที่ไม่ได้สัดส่วนหรือไม่กระทบต่อชีวิตของบุคคลอื่น ซึ่งการดำเนินการในเรื่องนี้จำเป็นต้องใช้เวลาและรับฟังเสียงรอบข้างอย่างรอบคอบ ดังนั้น การประชุมในวันนี้ จึงเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สะท้อนความพยายามและควืามตั้งใจจริงของรัฐบาลในการดำเนินการดังกล่าว"