วันที่ 18 ต.ค.60 ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย กล่าวสรุปสถานการณ์อุทกภัย น้ำไหลหลาก และน้ำเอ่อล้นตลิ่งจากอิทธิพลของพายุดีเปรสชัน และการระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยา ตั้งแต่วันที่ 10 – 17 ตุลาคมที่ผ่านมาว่า ทำให้เกิดน้ำไหลหลากและน้ำเอ่อล้นตลิ่ง ในพื้นที่ 13 จังหวัด รวม 51 อำเภอ 310 ตำบล 1,826 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 80,244 ครัวเรือน 197,050 คน ผู้เสียชีวิต 6 ราย ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ใน 12 จังหวัด แยกเป็น ลุ่มน้ำปิง 1 จังหวัด ได้แก่ ตาก น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่สอด อำเภอสามเงา อำเภอเมืองตาก อำเภอบ้านตาก อำเภอวังเจ้า และอำเภอพบพระ รวม 27 ตำบล 117 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,577 ครัวเรือน 7,049 คน ผู้เสียชีวิต 1 ราย ลุ่มน้ำน่านและลุ่มน้ำยม 1 จังหวัด ได้แก่ พิจิตร น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ 11 อำเภอ ได้แก่ อำเภอตะพานหิน อำเภอบางมูลนาก อำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอสามง่าม อำเภอโพทะเล อำเภอวังทรายพูน อำเภอบึงนาราง อำเภอเมืองพิจิตร อำเภอสากเหล็ก อำเภอดงเจริญ อำเภอวชิรบารมี รวม 43 ตำบล 261 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 10,985 ครัวเรือน 27,462 คน ผู้เสียชีวิต 2 ราย ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 5 จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครสวรรค์ อำเภอตาคลี อำเภอโกรกพระ อำเภอชุมแสง และอำเภอท่าตะโก รวม 45 ตำบล 414 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 18,188 ครัวเรือน 38,470 คน ชัยนาท น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำนอกเขตคันกั้นน้ำใน 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอมโนรมย์ อำเภอสรรพยา อำเภอเมืองชัยนาท และอำเภอวัดสิงห์ รวม 14 ตำบล 64 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,536 ครัวเรือน 5,325 คน สิงห์บุรี น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำนอกเขตคันกั้นน้ำใน3 อำเภอ ได้แก่ อำเภออินทร์บุรี อำเภอเมืองสิงห์บุรี และอำเภอพรหมบุรี รวม 16 ตำบล 78 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,073 ครัวเรือน 9,776 คน อ่างทอง น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำนอกเขตคันกั้นน้ำใน 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอป่าโมก อำเภอวิเศษชัยชาญ อำเภอเมืองอ่างทอง อำเภอโพธิ์ทอง และอำเภอไชโย รวม 27 ตำบล 82 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,169 ครัวเรือน 5,422 คน พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย 6,017 ไร่ พระนครศรีอยุธยา น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำนอกเขตคันกั้นน้ำใน 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางบาล อำเภอเสนา อำเภอบางปะอิน อำเภอผักไห่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางไทร และอำเภอบางปะหัน รวม 94 ตำบล 561 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 31,379 ครัวเรือน 78,447 คน ผู้เสียชีวิต 2 ราย ลุ่มน้ำป่าสัก 2 จังหวัด ได้แก่ เพชรบูรณ์ น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอหล่มเก่า และอำเภอหล่มสัก รวม 5 ตำบล 17 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 311 ครัวเรือน 788 คน ลพบุรี น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่อำเภอบ้านหมี่ รวม 9 ตำบล 60 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 7,643 ครัวเรือน 22,231 คน ลุ่มน้ำพอง 1 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภออุบลรัตน์ และอำเภอน้ำพอง รวม 16 ตำบล 142 หมู่บ้าน และลุ่มน้ำชี 2 จังหวัด ได้แก่ หนองบัวลำภู น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภออุบลรัตน์ และอำเภอโนนสัง รวม 7 ตำบล 16 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 352 ครัวเรือน 952 คน กาฬสินธุ์ น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอฆ้องชัย และอำเภอกมลาไสย รวม 5 ตำบล 8 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 10 ครัวเรือน 29 คน "ปภ.ได้ประสานจังหวัด หน่วยทหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเต็มที่แจกจ่ายถุงยังชีพและเครื่องอุปโภคบริโภค เพื่อบรรเทา ความเดือดร้อนในเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัย พร้อมระดมเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยสนับสนุนการแก้ไขปัญหาอุทกภัย รวมถึงประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ติดตั้งเครื่องสูบน้ำและเครื่องผลักดันน้ำเพิ่มเติม เพื่อเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมขังสู่ลำน้ำสายหลัก พร้อมเชื่อมโยงการระบายน้ำในพื้นที่รอยต่อระหว่างจังหวัด ตลอดจนดูแลชีวิตความเป็นอยู่และความปลอดภัยของผู้ประสบภัยเป็นหลัก พร้อมประสานความร่วมมือกับทุกหน่วยงานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยอย่างต่อเนื่อง" อธิบดีปภ. กล่าว