เพจ NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กเผยปรากฏการณ์ดาราศาสตร์น่าสนใจเดือนพ.ย.64 มีดังนี้ 2 พฤศจิกายน 2564 ดาวพุธเคียงดาวสไปกา สังเกตได้ทางทิศตะวันออก เวลาประมาณ 05.20 น.เป็นต้นไป จนถึงรุ่งเช้า 8 พฤศจิกายน 2564 ดาวศุกร์เคียงดวงจันทร์ ช่วงหัวค่ำ สังเกตได้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เวลาประมาณ 17.50 น.เป็นต้นไป จนถึงเวลา 20.50 น. 10 พฤศจิกายน 2564 ดาวเสาร์เคียงดวงจันทร์ ช่วงหัวค่ำ สังเกตได้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เวลาประมาณ 18.10 น.เป็นต้นไป จนถึงเวลาประมาณ 23.00 น. คืน 12 พฤศจิกายน - เช้า 13 พฤศจิกายน 2564 ฝนดาวตกทอริดส์เหนือ (อัตราการตก 5 ดวงต่อชั่วโมง/ไม่มีแสงจันทร์รบกวน) ตั้งแต่เวลาประมาณ 01.20 น.เป็นตนไป จนถึงรุ่งเช้า ทางทิศตะวันออก ฝนดาวกเทอริดส์เหนือ หรือฝนดาวตกจากกลุ่มดาววัว มีศูนย์กลางกระจายอยู่ในกลุ่มดาววัว จะเกิดในช่วงวันที่ 20 ต.ค.-10 ธ.ค.ของทุกปี คืน 17 พฤศจิกายน - เช้า 18 พฤศจิกายน 2564 ฝนดาวตกลีโอนิดส์ (อัตราการตก 10 ดวงต่อชั่วโมง/มีแสงจันทร์รบกวน) *ปีนี้ไม่เหมาะแก่การสังเกตการณ์* ตั้งแต่เวลาประมาณ 00.20 น.เป็นต้นไป จนถึงรุ่งเช้า ทางทิศตะวันออก ปรากฏการณ์ฝนดาวตกเกิดจากโลกเคลื่อนที่ตัดผ่านเส้นทางการโคจรของดาวเคราะห์น้อย หรือดาวหางที่หลงเหลือเศษฝุ่นและวัตถุขนาดเล็กจำนวนมากทิ้งไว้ ขณะโลกเคลื่อนที่ผ่านสายธารของเศษฝุ่นและหิน แรงโน้มถ่วงของโลกดึงดูดเศษฝุ่นและหินเหล่านั้นเข้ามาเสียดสีกับชั้นบรรยากาศโลก และเกิดการลุกไหม้ กลายเป็นฝนดาวตกหลากสีสันตามอะตอมธาตุของดาวตกนั้นๆ