สัปดาห์พระเครื่อง / อ.ราม วัชรประดิษฐ์ หลวงพ่อพรหม ถาวโร วัดช่องแค จังหวัดนครสวรรค์ พระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่เคารพศรัทธาของบรรดาพุทธศาสนิกชนทั่วหล้า ด้วยบารมีและความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เลื่องลือ โดยเฉพาะเล็บมือและเล็บเท้าของท่าน มีการตั้งสนนราคากันถึงหลักหมื่นทีเดียว แม้ท่านจะมรณภาพไปแล้ว ศพก็ยังไม่เน่าเปื่อย จึงได้รับการบรรจุไว้ในโลงแก้ว เพื่อให้ลูกศิษย์ลูกหาและสาธุชนได้มีโอกาสมานมัสการและขอพรอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน อัตชีวประวัติหลวงพ่อพรหม หลวงพ่อพรหม เป็นชาวเมืองกรุงเก่า หรือ จ.พระนครศรีอยุธยา เกิดเมื่อปี พ.ศ.2427 ที่ ต.บ้านแพรก อ.มหาราช โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายหมี-นางล้อม โกสะลัง ในวัยเยาว์ได้ศึกษาร่ำเรียนหนังสือกับพระที่วัดใกล้บ้าน ได้ศึกษาอักษรขอมควบคู่กับภาษาไทยตั้งแต่ก่อนอุปสมบท เมื่ออายุครบบวช ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดปากคลองยาง โดยมี หลวงพ่อถม วัดเขียนลาย เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า "ถาวโร" แล้วมาจำพรรษาที่วัดเขียนลาย จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยด้านปริยัติธรรมจนแตกฉาน ต่อมามีความสนใจในด้านวิปัสสนากรรมฐาน จึงตัดสินใจออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ เพื่อหาแนวทางการปฏิบัติธรรมชั้นสูงจนเข้าสู่เขตประเทศพม่า แต่ก็ยังไม่พบชัยภูมิที่เหมาะสมจะเป็นพุทธภูมิสำหรับภาวนาหาความสงบวิเวก จึงเดินธุดงค์ต่อไปจนมาถึง ´ภูเขาช่องแค´ เมื่อไปถึงพื้นที่ก็เกิดฝนตกหนัก ชาวบ้านจึงบอกทางให้ไปหลบฝนในถ้ำ พระรูปเหมือนปั๊ม พิมพ์ก้นระฆัง เนื้อทองเหลือง ปี 2512 พระรูปเหมือนปั๊ม พิมพ์ก้นระฆัง เนื้อทองเหลือง ปี 2512 พระรูปเหมือนปั๊ม พิมพ์ก้นระฆัง เนื้อทองเหลือง ปี 2512 คืนแรกหลวงพ่อพรหมได้มีนิมิตอันเกิดจากจิตวิญญาณศักดิ์สิทธิ์มาแนะแนวทางการปฏิบัติธรรมชั้นสูงให้ ท่านจึงใช้ถ้ำแห่งนี้ในการฝึกฝนบำเพ็ญภาวนาจนแก่กล้า ศรัทธาของชาวบ้านก็เริ่มทยอยเข้ามา จากป่าอันรกร้างว่างเปล่าก็กลายเป็นเสนาสนะมากมาย พระภิกษุจากที่ต่างๆ เริ่มทยอยมาฝากตัวเป็นศิษย์รับคำสอนจากท่าน ท่านจึงซื้อที่ดินสร้างวัด กุฏิสงฆ์ หอสวดมนต์ และเสนาสนะต่างๆ ให้ชื่อว่า ´วัดช่องแค´ และจำพรรษาที่นั่นตลอดมา จนมรณภาพเมื่อปี พ.ศ.2516 หลวงพ่อพรหม เป็นพระเกจิอาจารย์ที่หันหลังให้คำว่า ´แพ้´ เสมอมา เรียกได้ว่า ท่านเป็นทั้งหมอเทวดา วาจาศักดิ์สิทธิ์ และสร้างอภินิหารเป็นที่ประจักษ์แก่สายตามานักต่อนัก จนชื่อเสียงขจรไกลเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านและพุทธศาสนิกชนทั้งใกล้ไกล หลวงพ่อพรหมท่านชอบ ‘ระฆัง’ การสร้างวัตถุมงคลของท่านส่วนใหญ่จึงมีรูประฆัง จนกลายเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่ง กรรมวิธีการปลุกเสกวัตถุมงคลของท่านก็ไม่เหมือนใคร ส่วนใหญ่หลวงพ่อจะปลุกเสกในบาตร ถ้ามีเทียนชัยจะจุดเทียนชัย หยดน้ำตาเทียนลงในบาตรน้ำมนต์แล้วนำเทียนชัยวนรอบๆ 9 รอบ จากนั้นนำดินสอพองมาเจิมที่วัตถุมงคล เอามือคนไปรอบๆ โดยลืมตาเพ่งกระแสจิต แล้วนำน้ำพระพุทธมนต์ประพรมวัตถุมงคล จับบาตรใส่วัตถุมงคลแล้วเพ่งกระแสจิตอีกครั้ง จนกระทั่งวัตถุมงคลเหล่านั้นมีรังสีพุ่งออกมา จึงนำน้ำพระพุทธมนต์ประพรมอีกครั้งหนึ่ง เป็นอันเสร็จพิธี พระรูปเหมือนปั๊ม พิมพ์ก้นระฆัง เนื้อทองแดง ปี 2512 พระรูปเหมือนปั๊ม พิมพ์ก้นระฆัง เนื้อทองแดง ปี 2512 ลูกศิษย์ลูกหาทั่วทุกสารทิศมักเดินทางมากราบนมัสการขอพรและขอวัตถุมงคลอันทรงด้วยพุทธคุณครบครันจากท่าน ซึ่งวัตถุมงคลของท่านนั้นมีหลายแบบหลายพิมพ์ ทั้งรูปเหมือนเนื้อผง-เนื้อโลหะ พระสมเด็จเนื้อผง-เนื้อโลหะ พระกริ่ง และเหรียญ เป็นต้น พระรูปเหมือนปั๊มหลวงพ่อพรหม ก้นระฆัง ปี 2512 จัดสร้างเมื่อปี พ.ศ.2512 เป็นเนื้อทองเหลือง และทองเหลืองซุบทอง สร้างประมาณ 1,000 องค์ เนื้อทองแดงรมดำ ประมาณ 5,500 องค์ มีเนื้อตะกั่ว 350 องค์ หลวงพ่อพรหมปลุกเสกตลอดไตรมาส วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง เพื่อหารายได้สร้างมณฑป พระรูปเหมือนรุ่นนี้สร้างแบบ "รูปหล่อปั๊มโบราณ"เป็นฝีมือแกะพิมพ์ของ "ช่างประสาน" หรือในวงการปั๊มเรียกว่า "พี่ป๊อ" แห่งร้านโชคชัย ศิษย์เอกช่างสนั่น ผู้แกะพิมพ์เหรียญหลวงพ่อคง บางกะพ้อม พระ รูปหล่อปั๊มโบราณฝีมือช่างประสาน มีข้อน่าสังเกตที่องค์พระจะมีร่องรอยการแต่งด้วย "ตะไบหางหนู" เพื่อเก็บความเรียบร้อย หลังจากผ่านแม่พิมพ์ตัดขอบแล้วจะมีความคม การตบแต่งพิมพ์และขอบขององค์พระในสมัยนั้นช่างประสานจะส่งไปแต่งที่บางขวาง โดยมีผู้คุมเรือนจำมารับงานจากช่างประสานไปแต่ง เพราะต้องใช้เวลามาก "โค้ด" ของรูปหล่อเป็นรูป "ระฆัง" ตอกไว้ที่ใต้ฐานองค์พระ น้ำหนักแรงตอก "โค้ด" แต่ละองค์จะไม่เท่ากัน เพราะตอกด้วยมื้อทีละองค์ ไม่ได้ตอกโดยใช้เครื่องตอกเหมือนสมัยนี้ ซึ่งน้ำหนักความคมชัดของ "โค้ด" จะสม่ำเสมอกันหมด แต่ "โค้ต รูปหล่อหลวงพ่อพรหม รุ่นนี้จะตอกด้วยมือทีละองค์ น้ำหนักการตอกจะแตกต่างกันออกไป คือความชัดของโค้ดจะไม่เท่ากัน บางองค์ติดครึ่งโค้ดก็มี เต็มโค้ดก็มี 60% - 70 ของโค้ตก็มี พระรูปเหมือนปั๊ม พิมพ์ก้นระฆัง เนื้อทองแดง รมดำ ปี 2512 ข้อสังเกตุควรจดจำไว้คือ จำรูปแบบของ "ระฆัง" ให้ดี จะตอกแรง หรือ ตอกเบา ต้องสังเกตให้ได้ว่า อันไหนเป็นโค้ดแท้ หรือ โค้ดปลอม ต้องระวัง เพราะพระรูปหล่อรุ่นนี้ของปลอมก็มีการตอกโค้ดระฆังเหมือนกัน ต้องสังเกตให้ดีๆ จะมีความแตกต่างกันมากทีเดียวเชียวครับผม ก้นระฆัง