สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย(สศร.) โดยกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 อนุมัติให้การส่งเสริมจำนวนทั้งสิ้น 27 โครงการ นายปรารพ เหล่าวานิช ประธานกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย กล่าวว่า คณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัยได้ออกประกาศ เรื่องโครงการที่ได้รับการส่งเสริมจากกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยในปีนี้มีผู้สนใจสามารถยื่นขอรับการส่งเสริม จำนวนทั้งสิ้น 289 โครงการ และคณะกรรมการมติอนุมัติให้การส่งเสริม จำนวนทั้งสิ้น 27 โครงการ แบ่งเป็น 3 แนวทาง ดังนี้ แนวทางที่ 1 เสริมสร้างองค์ความรู้ผ่านกิจกรรม หรือกระบวนการและสร้างนวัตกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยจากการนำเทคโนโลยี/เทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ จำนวน 13 โครงการ ได้แก่ 1.เหลียว (หลัง) แล (นรา) ผ่านงานศิลปะด้วยภาพวาดสีไม้ จากมือ “เยาวรุ่น” โดยกลุ่มรักษ์นรา 2.ศิลปะเพื่อสายน้ำ โดยกลุ่มจิตรกรไทย 3.โครงการศิลปะหลอมเมือง “นครศรีธรรมราชศิลปะไฉไล 2” โดยนายปริทรรศ หุตางกูร 4.สร้างสรรค์นวัตกรรมศิลปะร่วมสมัยสูโลกออนไลน์ โดยกลุ่มมีกิมสตูดิโอ 5.โครงการสำรับวรรณศิลป์สู่สื่อสร้างสรรค์ร่วมสมัย โดยมรภ.สวนสุนันทา 6.อบรมละครเพื่อการรู้เท่าทันสื่อ “จับโซเชียล เป็นโซโล่” โดยกลุ่มคณะละครมาร็องดู Malongdu Theatre 7.วิดีโอสร้างสรรค์ “เมืองไทยอะไรก็ได้” โดยนายกฤษฎา ดาวเรือง 8.ภาพยนตร์คนยาก การสร้างสรรค์ภาพเคลื่อนไหว สะท้อนเมืองผ่านมุมมองของคนไร้บ้าน โดยนายองอาจ หาญชนะวงษ์ 9.การต่อยอดบอร์ดเกมมวยไทยสู่ Mobile Game โดย น.ส.ภณิดา แก้วกูร 10.Native Spin โดยนายธีระ ฉันทสวัสดิ์ 11.โครงการขับเคลื่อนเรื่องราวอดีต ปัจจุบันและอนาคตของเมือง ผ่านงานออกแบบศิลปะ แห่งแสงไฟ ณ คลองโอ่งอ่าง โดยกลุ่มนักออกแบบศิลปะแห่งแสงไฟ 12.สถาปัตยกรรมสารเลว โดยนายฉัตรพงษ์ ชื่นฤดีมล และ13.โครงการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ หัตถอุตสาหกรรมชุมชน ด้วยทุนทางวัฒนธรรมและการผสมผสานภูมิปัญญาสู่สากล เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ : กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนจังหวัดลำปาง โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง แนวทางที่ 2 สร้างความร่วมมือเครือข่ายเพื่อยกระดับคุณค่าที่หลากหลายทางสังคม และ/หรือต่อยอดการ สร้างสรรค์งานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เพื่อเป็นการเพิ่มคุณค่ามูลค่าทางเศรษฐกิจในเชิงพื้นที่ จำนวน 11 โครงการ ได้แก่ 1. ศิลป์สร้างสรรค์ สู่ชุมชนคนเมืองกาญจนฯ โดยนายตรัยภพ บุญรอด 2.การรับรู้ที่บริสุทธิ์? โดยนายคามิน เลิศชัยประเสริฐ 3.สุขศิลป์แบบองค์รวม เพื่อการพัฒนาศักยภาพครูผู้สอน ศิลปะเด็กพิการ ภาคเหนือ โดยนายลิปิกร มาแก้ว 4.จัดทำนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ เรื่อง “เสรีไทยหลงยุค” โดยน.ส.โสมชยา ธนังกุล 5.สวนศิลป์บ้านดิน Arts in the New Normal โดยนายมานพ มีจำรัส 6.โครงการเสริมสร้างเครือข่ายนครปฐมเมืองดนตรี เพื่อเพิ่มมูลค่าในศิลปะร่วมสมัยดนตรีสู่เมืองดนตรีระดับนานาชาติ โดยนายณรงค์ ปรางค์เจริญ 7.เทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยน ครั้งที่ 2 โดยมูลนิธิแสง 8.เทศกาลนักวาดและนักสร้างสรรค์แห่งกรุงเทพฯ ครั้งที่ 2. โดยกลุ่ม Bangkok Illustration Fair ประจำปี 2565 9.โครงการพัฒนาศักยภาพและยกระดับการออกแบบเครื่อง แต่งกายและผลิตภัณฑ์จากผ้าทอยกดอกชุมชนตำบล ท่าชัย-ตำบลศรีสัชนาลัย สู่ศิลปะร่วมสมัย โดยชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยชุมชนท่าชัย - ศรีสัชนาลัย 10.ลวดลายควัด อัตลักษณ์ชุมชนวัดนันทาราม สู่การพัฒนา สร้างสรรค์ศิลปกรรมลายทองร่วมสมัย โดยกลุ่มหัตถกรรมสร้างสรรค์ และ 11. เทศกาลศิลปะแห่งเมืองหัวหิน ประจำปี 2565 โดยกลุ่มบ้านศิลปินหัวหิน แนวทางที่ 3 ส่งเสริมการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยไทย เพื่อมุ่งสร้างความนิยมไทยในต่างประเทศและ สร้างมูลค่าให้แก่แบรนด์ไทย จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ 1.ขอความสนับสนุนงบประมาณเพื่อเตรียมการแสดง ร่วมสมัย ชุด “ขาวดำ” และการแสดงโขน ตอน “พระรามตามกวาง ลักสีดา ยกรบ” ไปแสดง ณ The musee du quai Branly Paris ประเทศฝรั่งเศส โดยนายพิเชษฐ กลั่นชื่น 2.หมอลำ & Pungmul อิสระของการเคลื่อนไหว แบบร่วมสมัย Traditional. to Contemp โดยนายผดุง จุมพันธ์ และ 3.โครงการการแข่งขันเต้นนานาชาติ ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดย สมาคมเอทีโอดีเพื่อพัฒนาเด็ก และเยาวชน