เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565 เว็บไซต์ราชกิจจานุบเกษาได้เผยแพร่ประกาศ ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่่า (ฉบับที่ 11) ลงนามโดยนายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานกรรมการค่าจ้าง

ประกาศฉบับดังกล่าวระบุว่า ด้วยคณะกรรมการค่าจ้างได้มีการประชุมศึกษาและพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับอยู่ ประกอบกับข้อเท็จจริงอื่นตามที่กฎหมายก่าหนด เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2565และมีมติเห็นชอบให้ก่าหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่่าเพื่อใช้บังคับแก่นายจ้างและลูกจ้างทุกคน

อาศัยอ่านาจตามความในมาตรา 79 (3) และมาตรา 88 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการค่าจ้าง จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่่า (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2562

สำหรับประกาศคณะกรรมการค่าจ้างฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป

ทั้งนี้สาระสำคัญของประกาศอัตราค่าจ้างขั้นต่่า (ฉบับที่ 11) นี้ กำหนดอัตราการปรับขึ้นค่าจ้าง ซึ่งแบ่งเป็น 9 อัตรา ได้แก่

1.ค่าจ้าง 354 บาท มี 3 จังหวัด คือ ชลบุรี ระยอง และภูเก็ต

2.ค่าจ้าง 353 บาท มี 6 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร

3. ค่าจ้าง 345 บาท มี 1 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา

4. ค่าจ้าง 343 บาท มี 1 จังหวัด คือ พระนครศรีอยุธยา

5. ค่าจ้าง 340 บาท มี 14 จังหวัด คือ ปราจีนบุรี หนองคาย อุบลราชธานี พังงา กระบี่ ตราด ขอนแก่น เชียงใหม่ สุพรรณบุรี สงขลา สุราษฎร์ธานี นครราชสีมา ลพบุรี และสระบุรี

6. ค่าจ้าง 338 บาท มี 6 จังหวัด คือ มุกดาหาร กาฬสินธุ์ สกลนคร สมุทรสงคราม จันทบุรี และนครนายก

7. ค่าจ้าง 335 บาท มี 19 จังหวัด คือ เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี บึงกาฬ ชัยนาท นครพนม พะเยาสุรินทร์ ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย พัทลุง อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ ประจวบคีรีขันธ์ พิษณุโลก อ่างทอง สระแก้ว บุรีรัมย์ และเพชรบุรี

8.ค่าจ้าง 332 บาท มี 22 จังหวัด คือ อำนาจเจริญ แม่ฮ่องสอน เชียงราย ตรัง ศรีสะเกษ หนองบัวลำภู อุทัยธานี ลำปาง ลำพูน ชุมพร มหาสารคาม สิงห์บุรี สตูล แพร่ สุโขทัย กำแพงเพชร ราชบุรี ตาก นครศรีธรรมราช ชัยภูมิ ระนอง และพิจิตร

9. ค่าจ้าง 328 บาท มี 5 จังหวัด คือ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส น่าน และอุดรธานี

สำหรับ “วัน” หมายถึง เวลาท่างานปกติ ของลูกจ้าง ซึ่งไม่เกินชั่วโมงท่างานดังต่อไปนี้ แม้นายจ้างจะให้ลูกจ้างท่างานน้อยกว่าเวลาท่างานปกติเพียงใดก็ตาม

(1) เจ็ดชั่วโมง ส่าหรับงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

(2) แปดชั่วโมง ส่าหรับงานอื่นซึ่งไม่ใช่งานตาม (1)

และห้ามมิให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างเป็นเงินแก่ลูกจ้างน้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่่า