มีมาอย่างต่อเนื่องทุกๆ ปี สำหรับการอบรมขับขี่ปลอดภัยของค่ายเมอร์เซเดส-เบนซ์ แต่ครั้งนี้อาจะแปลกกว่าครั้งอื่นๆ เพราะเลือกสนามออฟโรด แทนที่จะเป็นทางเรียบแบบที่ผ่านๆ มาเหตุผลที่เลือกออฟโรด เพราะว่าเมอร์เซเดส-เบนซ์ มีรถประเภทนี้อยู่บนตลาดอยู่หลายรุ่น เนื่องจากตลาดของผู้บริโภคเมืองไทยเปลี่ยนไปจากเดิมที่เลือกรถเอสยูวีเป็นรถคันที่สอง เดี๋ยวนี่หลายคนกลับเลือกเป็นคันแรก ทำให้ค่ายเมอร์เซเดส-เบนซ์ ต้องให้ความสนใจตลาดนี้มากขึ้น เพื่อโชว์ความสามารถของรถในค่ายเมอร์เซเดส-เบนซ์ จึงจัดรถเอสยูวี ในสังกัดกว่า 15 คัน มาให้ลูกค้าและสื่อมวลชนได้ลบองขับกัน โดยรถที่จัดมาในครั้งนี้จะมีทั้ง จีแอลเอส 350 ดี 4 เมติก เอเอ็มจี พรีเมี่ยม, จีแอลอี 350 ดี 4 เมติก คูเป้ เอเอ็มจี ไดนามิค , จีแอลอี 500 อี 4 เมติก เอเอ็มจี ไดนามิก, จีแอลดี 500 อี 4 เมติก เอ็กซ์คลูซีพ จีแอลซี 250 ดี 4 เมติก เอเอ็มจี ไดนามิก , จีแอลซี 250 ดี 4 เมติก ออฟโรดและจีแอลเอ 250 เอเอ็มจี ไดนามิก รถหรูที่ถูกนำมาลุยเส้นทางออฟโรด ลุยน้ำได้สบาย การเรียนรู้ในเรื่องเทคนิคการคุมรถครั้งนี้ จะมีทีมฝึกสอนที่มากด้วยประสบการจากออสเตรเลียและทีมผู้สอนที่ชำนาญการของเมืองไทยมาร่วมสอนเทคนิคการขับขี่ปลอดภัย พร้อมกับดูแลและควบคุมอย่างใกล้ชิดงานนี้มีการปรับปรุงพื้นที่บริเวณบ้านบันยันจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ให้มีสภาพเส้นทางที่แตกต่างกันออกไป พร้อมกับเพิ่มอุปสรรคเข้าไป ให้ได้โชว์สมรรถนะของรถให้เห็นกันอย่างชัดเจน การเรียนรู้ในครั้งนี้จะมีการแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ โดยสถานีแรกที่มีโอกาสได้เรียนรู้จะเป็นสถานีที่มีการสร้างอุปสรรคเพิ่มเข้าไปเพื่อโชว์เทคโนโลยีที่มีให้ สิ่งที่สำคัญของออฟโรดคือต้องผ่านอุปสรรคไปให้ได้ สถานีแรกจึงมีโครงเหล็กพร้อมโรลเลอร์ เพื่อให้ล้อหมุนฟรีเมื่อขับเพื่อโชว์ระบบขับเคลื่อนสี่ล้อโฟว์เมติก ในการเอาชนะอุปสรรคเหล่านี้ เพราะล้อที่เหลือยังสามารถนำพาตัวรถให้ผ่านไปได้ แม้ล้อทั้งสองจะลื่นอยู่บนโรลเลอร์ก็ตาม เพียงแต่ต้องคุมเร่งให้ได้รอบที่เหมาะสมนั่นเอง ต้องจัดท่านั่งให้ถูกต้องก่อน ผ่านโครงเหล็กทำเป็นเนินสลับ สถานีนี้จะมีการลุยผ่านน้ำที่สูงถึงระดับกึ่งกลางของดุมล้อ เทคนิคการลุยน้ำก็ต้องใช้เบรกประคองรถเมื่อถึงน้ำแล้วค่อยๆ คุมความเร็วไม่ให้น้ำกระแทกกลับมา เป็นเรื่องง่ายสำหรับการผ่านอุปสรรคแบบนี้ ยากสุดก็คือการขับขึ้นเนินสูงแคบๆ โดยมีโรลเลอร์คอยดักอยู่แล้ว ให้รถมาหยุดที่โรลเลอร์ก่อนที่จะออกตัว ซึ่งไม่มีปัญหาสำหรับระบบขับเคลื่อนแบบโฟว์เมติก ส่วนการมองก็จะมีจอภาพแสดงรอบตัวรถแบบ 360 องศา ทำให้สามารถกะระยะของตัวรถได้ เพราะการมองข้างหน้าจะไม่เห็นอะไรนอกจากท้องฟ้าตอนที่รถกำลังไต่ขึ้นเนินชันๆ ได้ ออกตัวบนทางชันที่มีโรลเลอร์ แม้ล้อยกลอยก็ไปได้ เป็นแบบนี้จะอาจจะมีอุปสรรคบ้างสำหรับจีแอลเอ ซึ่งเป็นรถยนต์ขับเคลื่อนสองล้อหน้า จึงไม่ต้องขับไปจอดบนโรลเลอร์ แต่ให้ขับผ่านไปเลย เพื่อให้ผ่านอุปสรรคแบบนี้ไปได้สถานีที่สองจะเป็นเนินดินที่ออกแบบมาเพื่อโชว์การลุย ที่รถสามารถทำได้จึงมีเนินหลายรูปแบบ เพื่อสร้างเป็นอุปสรรต่างๆ เริ่มจากวิ่งผ่านท่อนซุง ที่วางตามยาว ฝั่งละ 2 ท่อน โดยใช้กล้องรอบคันก็ผ่านเส้นทางแบบนี้ไม่ยาก ต่อด้วยเนินเตี้ยๆ ซึ่งเป็นอุปสรรคพื้นๆ เพราะรถตระกูลจีจะมีใต้ท้องรถที่สูง บางรุ่นสามารถยกตัวถังให้สูงขึ้นก่อนลุยได้อีกต่างหาก รวมถึงใต้ท้องในส่วนที่อยู่ใต้กันชนถูกยกเอียงขึ้นทั้งทางด้านหน้าและด้านหลัง จึงลดการกระแทกตอนขึ้นเนินและลงเนินได้ บางรุ่นถ้ามีตัวถังเตี้ย ก็จะได้กันชนที่สามารถรองรับกระแทกกับพื้นได้ในระดับหนึ่ง จะไม่เป็นปัญหากับตอนขึ้นเนินชัน นอกจากนั้นยังมีถนนที่มีความลาดเอียงให้รถขับผ่านไปด้วย ซึ่งไม่ได้รู้สึกถึงความน่ากลัวของถนนแบบนั้น ใต้ท้องสูงผ่านอุปสรรคได้ไม่ยาก สุดท้ายก็จะมีเนินสูงต่ำสลับกัน ทำให้มีแค่สองล้อแตะถนนในบางครั้ง อีกสองล้อก็จะลอยเหนือพื้น แต่ระบบโฟว์เมติก จะถ่ายทอดกำลังที่มีไปยังล้อทีอยู่ติดกับพื้น จึงผ่านอุปสรรคเหล่านั้นไปได้อย่างง่ายดาย เมื่อผ่านการฝึกทั้งสองสถานีแล้ว ก็มาถึงสถานีสุดท้าย เป็นการขับออกนอกสนามไปยังพื้นที่จริง ซึ่งเป็นบ่อดิน ที่มีการขุดดินออกไปจนลึก แล้วเพิ่มอุปสรรคให้มีร่องน้ำลึกขวางอยู่ด้านหน้า โดยจะมีความลึก 2 ระดับ ทั้งถึงซุ้มล้อและถึงใต้ท้องรถ อุปสรรคเหล่านี้จะเป็นเรื่องง่าย สำหรับเมอเซเดส-เบนซ์ ที่เลือกรุ่นจีแอลอี 350 มาให้ขับ จะเห็นรถคันหน้า ขับผ่านลุยน้ำสูง ได้อย่างสบายเมื่อไต่ขึ้นจากบ่อน้ำ ก็จะมีถนนเปียกลื่นที่ค่อนข้างชันรออยู่ แต่ก็ไม่ได้เจอปัญหาอะไรที่เป็นอุปสรรคเกิดขึ้นมา เป็นความสมบูรณ์แบบของรถลุยในตระกูล จี ของเมอร์เซเดส-เบนซ์ หลังจากเคยมีแค่ จี-คลาส แต่ปัจจุบันมีการแตกหน่อตามกันมา ไม่ว่าจะเป็น รุ่นเล็กหรือรุ่นใหญ่ ความสำเร็จในการทำตลาดก็เห็นได้จากยอดขายทั่วโลกกว่า 4 ล้านคันหลังจากเปิดตัวรถยนต์ กลุ่มเอสยูวี ออกมาเมื่อปี 2011 ซึ่งเมืองไทยเองก็ได้มีการเปิดตัวไปถึง 7 รุ่น ในช่วงที่ผ่านมา ที่มา:คอลัมน์ ยุทธจักรยานยนต์:อภิชัย ไกลนุกูล : สัปดาหวิจารณ์ ปีที่ 64 ฉบับที่ 5 หน้า 60