วันที่ 5 เมษายน 2566 นายฉัททันต์ กุญชร ณ อยุธยา รองผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย นายชูศักดิ์ รู้ยิ่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายมานูเอล ฟาเฟียง ประธานกลุ่มมิชลินประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกและออสเตรเลีย และกาญจนา หงษ์ทอง นักเขียนและนักเดินทาง ร่วมพูดคุยถึงรายละเอียดโครงการศเปิดตัวเมืองใหม่ของคู่มือ The MICHELIN Guide Thailand 2024 ซึ่งเป็นการจัดทำคู่มือเล่มที่ 7  เพื่อช่วยเผยแพร่อาหารไทยให้เป็นที่รับรู้อย่างกว้างขวาง สร้างกระแสให้เกิดการเดินทางมาประเทศไทย พร้อมทั้งกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายด้านอาหารจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งเป็นการกระตุ้นให้อุตสาหกรรมด้านอาหารของประเทศไทยพัฒนาความเป็นเลิศทั้งด้านคุณภาพอาหาร และบริการให้ดียิ่งขึ้น   


 
สำหรับจุดเริ่มต้นของมิชลินสตาร์ (Michelin Star) เกิดจากบริษัทยางรถยนต์ ในประเทศฝรั่งเศส ของสองพี่น้องอังเดร์ และเอดเวิร์ด มิชลิน ที่คิดอยากกระตุ้นยอดขายยาง โดยหาวิธีให้คนเดินทางมากขึ้น ก็เลยออกไกด์บุ๊คเล่มเล็ก ๆ  สีแดง ที่เรียกว่า มิชลิน ไกด์ ในปี ค.ศ. 1900 (Michelin Guide) เป็นแผนที่มิชลิน ที่นำมาใช้ในการบอกเส้นทางของสถานที่ต่าง ๆ เช่น ร้านอาหาร (ต่อมาออกปกเขียว สำหรับ โรงแรม บาร์ ปั๊ม อู่ซ่อมรถ และสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ) สำหรับนักเดินทาง พวกเขาได้เริ่มทำครั้งแรกในประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่แล้ว แล้วเริ่มขยายออกไปหลายต่อหลายเมืองในยุโรป ข้ามไปถึงอเมริกาเหนือ เมื่อปี 2006 และกำลังจะเริ่มเข้ามาทำในเอเชียในเร็ววันนี้  การกำหนดดาวให้ร้านอาหารแต่ละร้าน และเชฟจะแบ่งเป็น 3 ขั้น โดยดูจากหลายองค์ประกอบ ทั้งบรรยากาศภายในร้าน รสชาติของอาหาร การตกแต่งอาหาร การบริการ ความสะอาด รวมไปถึงรสมือของเชฟ 

ขณะที่ MICHELIN GUIDE เป็นการจัดอันดับร้านอาหารโดยการให้ดาว ตั้งแต่ 1 ดาว, 2 ดาว, 3 ดาว จากร้านอาหารที่นำเสนออาหารคุณภาพดีที่สุด โดยพิจารณาจาก คุณภาพวัตถุดิบ, เทคนิคการปรุงอาหาร, รสชาติอาหาร,  ความคิดสร้างสรรค์ และความเสมอต้นเสมอปลาย ซึ่งร้านอาหารระดับ 1 ดาว ถือเป็น สุดยอดร้านอาหาร ที่ควรค่าแก่การเดินทางไกลเพื่อไปชิมสักครั้ง ร้านอาหารระดับ 2 ดาว คือ ร้านอาหาร ที่ควรค่าแก่การขับรถออกนอกเส้นทางเพื่อแวะชิม และร้านอาหารระดับ 1 ดาว คือ ร้านอาหารคุณภาพสูงที่ควรค่าแก่การหยุดแวะชิม 


 
ขณะที่ นางสาวนันทวัน ศิริโภคพัฒน์ ผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า ททท. ได้ร่วมกับมิชลิน ไกด์ ประเทศไทย ในการจัดทำคู่มือ The MICHELIN Guide Thailand เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ทางการท่องเที่ยงเชิงอาหารของประเทศไทย (Gastronomy Destination)​ ทั้งการเป็นจุดหมายปลายทางของอาหารถิ่นหลากหลาย อาหารริมทางรสเลิศ และอาหารคุณภาพ โดยในปี 2567 เป็นคู่มือฉบับที่ 7 ได้มีการปักหมุดเป็นพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพิ่มเติมจากพื้นที่เดิม คือ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล พระนครศรีอยุธยา ภูเก็ต พังงา เชียงใหม่ อุบลราชธานี อุดรธานี ขอนแก่น และนครราชสีมา