"พ่อสุนทรภู่"​ เดิมรับราชการอยู่กรุงศรีอยุธยา​ ก่อนกรุงแตกในสังกัดวังหน้า-เจ้าฟ้ากุ้ง​ เป็นคนในบังคับของ​พ่อกรมพระราชวังหลัง (สมัยกรุงรัตนโกสินทร์) ​ขณะนั้นเป็นขุนสังกัดกรมตำรวจวังหน้า​ ติดตามรับใช้เรื่อยมาจนถึงกรุงธนบุรีอยู่ในสังกัดเจ้าเมืองโคราช​ ตำแหน่ง​ พระสุริยอภัย​ ครอบครัวสุนทรภู่​ จึงผูกพันทำงานอยู่เจ้านายพระองค์มาตลอด​ แม่ของสุนทรภู่​ จึงได้รับความไว้วางใจให้เป็นแม่นมั่น​ (นึกภาพความสนิทชิดเชื้อเหมือน​ แม่นมลาวชี​ แม่ของจเด็จที่กินนมร่วมเต้ากับมัตรราชบุตรตองอู​ ในผู้ชนะสิบทิศ​ ของ​ ยาขอบ)​

จนกระทั่ง​ กรมพระราชวัง​ -​นายทองอินทร์​ ได้รับโปรดเกล้าสถาปนาเป็น​ เจ้าวังหลังที่​ กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข​ สุนทรภู่​ จึงเกิดอยู่ที่วังหลัง(บริเวณโรงพยาบาลศิริราช​ ตรงศิริราชภิมุขสถาน)​ สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ​ ทรงอนุมานเอาตามโหราจารย์ที่คาดคเนวันเดือนปีเกิดว่าน่าตะเป็น​ 26​ มิถุนายน​ 2329 กรมพระราชวัง​ ดูแลกินหัวเมืองชายทะเล​

ในสมัยกรุงธนบุรี​ พระเจ้าตากสินมหาราช​ บำราบเมืองชายทะเลที่ปราบไม่สิ้นหาตัวไม่พบอยู่สองคนคือ​ ขุนราม​ กับ​ หมื่นซ่อง​ บ้านใหญ่ผู้มีอิทธิย่านระยอง-ชลบุรี​ แต่ก็ด้วยบารมี​ พระครูชื่นแห่งเมืองแกลงที่มีญาติโยมศรีทธาบารมีเพราะทรงภูมิด้านปริยัติช่วยเหลือ​ บ้านเมืองจึงค่อนข้างสงบ​ จึงได้นิมนต์มาอยู่ที่กรุงธนบุรี​ เป็นสมถารวัดหงษ์รัตนาราม​  สุดท้ายได้สถาปนาขึ้นเป็​ สมเด็จพระสังฆราช​(ชื่น) สมเด็จพระสังฆราชพระองค์สุดท้ายของกรุงธนบุรี​แบะเป็นแกนนำพระสงฆ์องค์สำคัญที่สนับสนุนเรื่องบุคลลธรรมดาที่มิใช่พระภิกษุหากบรรลุธรรม​ พระสมมติสงฆ์กราบได้​ จนถึงรัชสมัยกรุงรัตนโกสินทร์สมเด็จพระสังฆราชชื่น​ ถูกลดตำแหน่งเป็นพระราชาคณะชั้นธรรม​เมื่อได้มีการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช(สี)​วัดระฆัง​ ขึ้นเป็นสมเด็จสังฆราชครั้งสองในแผ่นดินใหม่​ ซึ่งถูกปลดจากแผ่นดินกรุงธนบุรีที่คัดค้านเรื่องพระต้องกราบฆาราวาสที่บรรลุธรรม

มีหมายเหตุของรัชกาลที่​ 1​ กล่างถึง​ สมเด็จพระสังฆราช(ชื่น)​ว่าผเป็นผู้รู้ความสามารถแตกฉานพระธรรมวินัย​ เสียตรงที่มีนิสัยขี้ประจบ​ แต่ยังไว้ว่างพระราชหฤทัยเป็นหนึ่งในพระมหาเถระที่ร่วมชำระพระไตรปิฎก​ และยังช่วยเรื่องศรัทธาไพร่บ้านพลเมืองชายทะเลตะวันออก​ จนกระทั่ง​ พ่อสุนทรภู่​ ออกบวชแทนเจ้านายคือ​ กรมพระราชวังหลัง​ หลังเสร็จศึกสงครามเก้าทัพ​และโปรดพระราชทานตั้งสัญบัตรพัดยศที่​ พระครูธรรมรังษี​ จำพรรษาอยู่บ้านกล่ำ  เมืองแกลง​ น่าจะประจวบกับสมเด็จพระสังฆราช(ชื่น)​ พระผู้ทรงอิทธิพลหัวเมืองชายทะเลตะวันออกมรณภาพลง​  

พ่อสุนทรภู่​แต่หาใช่เป็นคนเมืองแกลงโดยกำเนิดไม่​ แต่บวชด้วยเงื่อนไขทางการเมืองล้วน​ ๆ​  จนเป็นที่มาของการเดินทางไปราชการ(ลับ)​ ของสุนทรภู่​ เมื่อ​พ.ศ.2349 หรือ 2350 ภายหลัฃที่กรมพระราชวังหลังทิวงคต​  หลักฐานการเดินทางครั้งสุนทรภู่เขียนบอกไว้เองว่าไปทำอะไรที่เมืองแกลง​  นิราศเชิงบ่นตลอดร่ายทาง​และแต่งฝากสาวมิ่งมิตรพิสมัยตามขนบนิราศรักีำพุงรำพันแบบ​ เพลงยาวรยพม่าที่ท่าดินแดง​ ของรัชกาบที่​ 1​ เขีบนไง้เมื่อปีที่สุนทรภู่ถือกำเนิด

เรื่องราว​ "สุนทรภู่"  ผมเคยได้รีบความเมตตาจากท่านปลัด​ สมชาย​ เสียงหลาย​  เป็นปลัดกระทรวงวัฒนธรรม​ในขณะนั้น ให้จัดกิจกรรมแบ่งปันความรู้เรื่ององค์ความรู้เกี่ยวกับ​ สุนทรภู่​  ไปตามภูมิภาคต่าง​ ๆ​ ประสานงานร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเกือบ​ 20​ จังหวัดทั้งภูมิภาค​ ในกิจกรรมนอกจสกผมจะเป็นคนบรรยายยังมีนิทรรศการประงัติสุนทรภู่จัดแสดงและแบ่งปันให้ครูนำไปใช้เป็นวื่อการศึกษาทำนิทรรศการแบบฟรี​ ๆ​ ระหว่าง​ พ.ศ.2555-56  แบะทุกวันนี้ยังมีจิตอาสาสฝไปแลกเปลี่ยนรู้เรื่องสุนทรภู่โดยไม่มีเงื่อนไขใด​ ๆ​ ในนามผู้ประสานงานกองทุนสุนทรภู่ศึกษา​ ที่ก่อตั้งขึ้นมาเองไว้ใช้ในการทำงานที่ต้องทำหนัฃสือขอความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น​ ๆ

เป็นช่วงเดียวกันที่​ สำนักสัมพันธ์ต่างประเทศ​ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม​ ตั้งรางวัล​ สุนทรภู่​ ที่มอบให้กับกวี  10​  ชาติอาเซียน​ ควบคู่กันไป​ เพียงแต่ตอนนั้นทำก็ไม่ระบุว่าพ่อสุนทรภู่​ เป็นคนที่ไหน​ แต่พอเมื่อวาน​ สำนักประชาสัมพันผธ์  กระทรวงวัฒนธรรม​ แจกข่าวประชาสัมพันธ์กิจกรรมวันวุนทรภู่ที่ระยอง​  ลงประวัติว่า​ พ่อสุนทรภู่​เป็นชาวบ้านกร่ำ​ เมืองแกลง​ ก็เลยงงๆ​  เพราะกระทรวงศึกษาธิการก็ไม่ได้ใข้ชุดความรู้นี้แล้ว

แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องชื่นชมชาวระยอง​ นอกเหนือการจัดกิจกรรมสุนทรภู่คือการดำริสร้างหมุดกวี​ ตามเส้นทางนิราศเมืองแกลง​ ให้คนรุ่นหลังได้รู้ว่ามหากวีท่านนี้ได้เดินทางผ่านไปตรงไหนบ้างขอฃจังหวัดระยองฮิ

ชินวัฒน์​ ตั้งสุทธิจิต
ผู้ประสานงานทั่วไป​
กองทุนสุนทรภู่ศึกษา