มณฑลเจ้อเจียงตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของจีน หรือทางตอนใต้ของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี ทางเหนือของมณฑลติดกับนครเซี่ยงไฮ้ ในช่วงกว่า 20 ปีที่ผ่านมา มณฑลเจ้อเจียงได้ดำเนินโครงการ “พันหมู่บ้านสาธิต หมื่นหมู่บ้านพัฒนา” เป็นเหตุส่งให้หมู่บ้านในมณฑลดังกล่าวเจ้อเจียงเกิดการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ 

โครงการ  “พันหมู่บ้านสาธิต หมื่นหมู่บ้านพัฒนา” เป็นมาตรการสำคัญประการหนึ่งที่นายสี จิ้นผิง วางแผนริเริ่ม และผลักดันให้เกิดขึ้น เดือนมิถุนายน ปี 2003 นายสี จิ้นผิง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน มณฑลเจ้อเจียงในสมัยนั้นตัดสินใจให้ดำเนินยุทธศาสตร์โครงการ “พันหมู่บ้านสาธิต หมื่นหมู่บ้านพัฒนา” บนพื้นฐานแห่งการลงพื้นที่ไปสำรวจอย่างกว้างขวางและละเอียด โดยให้คัดเลือกหมู่บ้าน 1 หมื่นแห่งจากทั้งหมดหมู่บ้าน 4 หมื่นแห่งในมณฑล เพื่อปรับปรุงพัฒนาอย่างรอบด้าน และสร้างสรรค์หมู่บ้านพันแห่งให้เป็นหมู่บ้านสาธิต 

การดำเนินโครงการ “พันหมู่บ้านสาธิต หมื่นหมู่บ้านพัฒนา” เป็นการริเริ่มหนทางแห่งการพัฒนาให้ปรับน้ำใสภูเขาเขียวของมณฑลเจ้อเจียงให้กลายเป็นภูเขาเงินภูเขาทอง และได้ไปพร้อมกับกระตุ้นการพัฒนาของชนบทที่มีอุตสาหกรรมรุ่งเรืองและระบบนิเวศที่ดี

ทิวทัศน์หมู่บ้านหมาเผิง

“โม่กานซาน” ไม่ได้ทำแค่เกสต์เฮาส์เท่านั้น 

ในประเทศจีน เมื่อพูดถึงเกสต์เฮาส์ ต้องมีชื่อ “ตำบลโม่กานซาน” ปรากฏขึ้นด้วยอย่างแน่นอน อุตสาหกรรมเกสต์เฮาส์ของโม่วกานซานเริ่มต้นเร็วกว่าที่อื่น มีขนาดใหญ่ รูปแบบหลากหลาย และคุณภาพดี จนได้พัฒนาเป็นโซนเกสต์เฮาส์โม่วกานซาน และถือเป็น “นามบัตรทอง” ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของมณฑลเจ้อเจียง พร้อมไปกับการดำเนินโครงการ “พันหมู่บ้านสาธิต หมื่นหมู่บ้านพัฒนา” อย่างลุ่มลึก บนพื้นฐานแห่งการพัฒนาเบื้องต้น โม่วกานซานกำลังเร่งดำเนินการปฏิรูป และแสวงหาแรงกระตุ้นการพัฒนาใหม่จากการสร้างธุรกิจใหม่ 

ตำบลโม่วกานซาน ตั้งอยู่ในอำเภอเต๋อชิง เมืองหูโจว มณฑลเจ้อเจียงของจีน ภายในตำบลแห่งนี้มีภูเขาติดต่อกันยาวเหยียด ปริมาณไอออนลบในอากาศสูง เป็นหนึ่ง 1 ในสี่ 4 ของแหล่งท่องเที่ยวพักร้อนที่มีชื่อเสียงที่สุดของจีน 

การพัฒนาของเกสต์เฮาส์โม่วกานซานเริ่มต้นจากชาวต่างชาติคนหนึ่ง ปี 2007 คุณ Grant Horsfield จากแอฟริกาใต้เช่าบ้านเก่า 8 หลังในหมู่บ้านซานจิ่วอู และปรับพัฒนาให้เป็นเกสต์เฮาส์และตั้งชื่อว่าเป็น “หลั่วซินเซียง” นับเป็นเกสต์เฮาส์แห่งแรกของโม่วกานซาน และเป็นการเปิดฉากการพัฒนาธุรกิจเกสต์เฮาส์ในโม่วกานซานด้วย ต่อมา ชาวบ้านท้องถิ่น และนักลงทุนต่างถิ่นทะยอยกันปรับสร้างบ้านชาวสร้างบ้านในโม่วกานซานให้เป็นเกสต์เฮาส์ พร้อมไปกับการดำเนินโครงการ “พันหมู่บ้านสาธิต หมื่นหมู่บ้านพัฒนา” ทางการท้องถิ่นได้ชี้นำการพัฒนาอุตสาหกรรมให้มีระบบระเบียบ ก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน จัดการน้ำมลพิษ และดำเนินโครงการสีเขียวต่าง ๆ เพื่อพัฒนา ธุรกิจเกสต์เฮาส์ ขณะเดียวกัน ยังได้จัดงบประมาณสนับสนุน และประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวางเพื่อดึงดูดนักลงทุนและนักท่องเที่ยว เป็นการผลักดันการพัฒนาธุรกิจเกสต์เฮาส์ท้องถิ่นอย่างดี 

เสิ่น เจียงหรง เลขาธิการสาขาพรรคฯ หมู่บ้านเซียนถัน ตำบลโม่วกานซานกลับหมู่บ้านลาจากเมืองใหญ่กลับมาบ้านเกิดเพื่อทำธุรกิจเกสต์เฮาส์ ทุกวันนี้ เขาเป็นเจ้าของเกสต์เฮาส์ 4 แห่งในตำบล หลายปีมานี้ เขาเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของหมู่บ้านอย่างชัดเจน เสิ่นเจียงหรงคำนวณอย่างละเอียดและพบว่า เฉพาะในหมู่บ้านเซียนถัน ก็มีเกสต์เฮาส์กว่า 160 แห่ง และที่ตำบลโม่วกานซาน มีเกสต์เฮาส์ หลากหลายรูปแบบ เช่น ประเด็นตกแต่งธีมกีฬา ศิลปะการเขียนพู่กันจีน วัฒนธรรมชนบท เป็นต้น ตำบลแห่งนี้จึงได้รับการยกย่องว่าเป็น “พิพิธภัณฑ์แห่งเกสต์เฮาส์” 

ธุรกิจเกสต์เฮาส์ตำบลโม่วกานซานพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทุกวันนี้ ตำบลโม่วกานซานมีเกสต์เฮาส์รวม 850 แห่ง ซึ่งแข่งขันกันค่อนข้างเต็มที่ ทำอย่างไรจึงจะได้แรงกระตุ้นใหม่ เป็นประเด็นที่ทางการท้องถิ่นให้ความสำคัญอย่างมาก 

จาง เย่าเหวิน กรรมการคณะกรรมการพรรคฯ ประจำตำบลโม่วกานซานกล่าวว่า “เรากำลังพิจารณาปฏิรูปรูปแบบการประกอบธุรกิจ โดยจะพยายามสร้างตำบลโม่วกานซานให้เป็นแบบฉบับแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจระดับไฮโซ” บนพื้นฐานการก่อสร้างเกสต์เฮาส์ ตำบลโม่วกานซานพยายามสร้างสรรค์หมู่บ้านให้มีบรรยากาศศิลปะ โดยพัฒนาหมู่บ้านเมี่ยวเฉียน เซียนถัน และอู่ซื่อให้เป็นหมู่บ้านนักเขียน หมู่บ้านนักเขียนบทละคร และหมู่บ้านศิลปะแบบครบวงจรตามลำดับ โดยดำเนินโครงการวัฒนธรรมต่าง ๆ เช่น สร้างหอภาพวาดบนกระเบื้อง หอวิจิตรเซียนถัน  ฯลฯ เป็นการเพิ่มสีสันและรูปแบบธุรกิจให้กับการท่องเที่ยวของตำบลฯ “ผู้คนนอกจากจะได้สัมผัสชีวิตสบาย ๆ ในภูเขาแล้ว ยังมีโอกาสชมผลงานศิลปะที่ดีงาม” 

ทางการท้องถิ่นยังได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนา “ให้โม่กานซานมีชีวิตชีวาขึ้น”  โดยประสานการท่องเที่ยวพักผ่อนกับการกีฬาเข้าด้วยกัน ทุกวันนี้ โม่วกานซานได้กลายเป็นเมืองกีฬาที่มีชื่อเสียง โดยได้จัดการแข่งวิ่งบนเขาไกรลาส การแข่งขันวิ่งข้ามทุ่งนานาชาติTNF100 จักรยานเสือภูเขาชิงแชมป์ประเทศ การวิ่งมาราธอนสวนไผ่นานาชาติโม่วกานซาน เป็นต้นตำบลแห่งนี้จึงกลายเป็นสวรรค์แห่งคนรักกีฬาที่มีชื่อเสียง 

โมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจที่สร้างสรรค์ของโม่วกานซาน คือ รวมกำลังจากหลาย ฝ่าย และพัฒนาเป็นแบบฉบับแห่งหมู่บ้านแข็งแกร่ง ชาวบ้านร่ำรวย เมื่อเร็ว ๆ นี้ แคมป์กิจกรรมเอ้าท์ดอร์ต้าป๋าสงเริ่มให้บริการอย่างเป็นทางการ โครงการนี้ได้รวมรูปแบบธุรกิจหลากหลาย เช่น การเล่นกีฬา พักผ่อนท่องเที่ยว และสวนสนุกเด็ก ดึงดูดนักท่องเที่ยวเดินทางมามากมาย บริษัทหมู่บ้านต้าเซียนถันเฉียง ซึ่งเป็นบริษัททำโครงการดังกล่าวนั้น ร่วมสร้างขึ้นโดยหมู่บ้าน 3 แห่ง ได้แก่หมู่บ้านหนานลู่ หมู่บ้านเซียนถัน และหมู่บ้านซื่อเหอ การรวมกำลังจากหลาย ฝ่ายในการพัฒนา ไม่เพียงแต่หลีกเลี่ยงไม่ให้หมู่บ้านต่าง ๆ ประกอบธุรกิจรูปแบบเดียวกันหมด หากยังสามารถแบ่งปันทรัพยากรร่วมกัน ทำให้นักท่องเที่ยวมีโอกาสสัมผัสความสนุกสนานที่หลากหลายด้วย 

การพัฒนาย่อมต้องพึ่งพาบุคลากร ในการปรับรูปแบบการพัฒนาของโม่กานซาน ทางการท้องถิ่นมีคอนเซ็ปท์นำเข้าบุคลากรวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสู่ภูเขาที่สวยงามแห่งนี้ โดยสร้างห้องทดลองในภูเขา และดึงดูดบุคลากรมาอยู่อาศัยที่นี่มากขึ้น ทางการท้องถิ่นได้นำเข้าโครงการวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ เช่น สถาบันวิทยาศาสตร์หงติ่ง และศูนย์การวิจัยค้นคว้าหงเซี่ยง เร่งผลักดันสร้างฐานวิจัย AI ห้องทดลองเจ้อเจียงที่โม่กานซาน ตลอดจนโครงการวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีรุ่ยเฟิง เขาเขียวน้ำใสที่นี่สร้างบรรยากาศการทำงานที่ดีให้กับบุคลากรและผู้เชี่ยวชาญ ค่อย ๆ ดึงดูดบุคลากรย้ายถิ่นฐานมาอยู่อาศัยมากขึ้นเรื่อย ๆ ทุกวันนี้ ที่นี่นอกจากดึงดูดนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญในจีนแล้ว ยังมีทีมงานวิจัยจากเยอรมนี และอิตาลีมาทำงานที่นี่ด้วย 

หอวิจิตรเซียนถัน

“หลงเหมินมี่จิ้ง” แดนลับประตูมังกรแห่งความสนุก 

ลึกเข้าไปในภูเขา ท่ามกลางป่าไผ่ มีแม่น้ำสายเล็ก ๆ ไหลผ่าน หน้าผาสูงเสียดฟ้า อากาศสดชื่น “หลงเหมินมี่จิ้ง” ซึ่งมีความหมายว่า แดนลับแห่งประตูมังกรนั้น เป็นชื่อสถานที่ที่มีอารมณ์สุนทรีย์ และมีความลึกลับ หลายปีมานี้ ผู้คนเริ่มคุ้นเคยและชื่นชอบสถานที่แห่งนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ  

หลงเหมินมี่จิ้ง ตั้งอยู่ในตำบลเกาหง เขตหลินอัน เมืองหางโจว มณฑลเจ้อเจียง ประกอบด้วยหมู่บ้าน 3 แห่ง ได้แก่ หมู่บ้านสือเหมิน หลงซ่าง และต้าซาน พื้นที่ป่าไม้มากกว่า 92% ทิวทัศน์ธรรมชาติสวยงาม มรดกทางวัฒนธรรมอุดมสมบูรณ์ 

ปี 2017 หมู่บ้าน 3 แห่งนี้ยังเป็นหมู่บ้านธรรมดาซึ่งตั้งอยู่ในภูเขาลึก ปีนั้น รายได้เฉลี่ยต่อคนของชาวบ้านเป็นเพียงปีละ 28,900 หยวนเท่านั้น รายได้จากการประกอบธุรกิจของหมู่บ้านเป็นเพียง 310,000 หยวนต่อปี  ชาวนาในหมู่บ้านพากันเดินทางไปทำงานที่ต่างเมือง ทำให้หมู่บ้านมีแรงงานน้อยมาก 

เมื่อได้ดำเนินโครงการ “พันหมู่บ้านสาธิต หมื่นหมู่บ้านพัฒนา” เขตหลินอันอานนำเสนอคอนเซปต์ “ประกอบธุรกิจการสร้างหมู้หมู่บ้านให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว” โดยได้ดึงดูดบุคลากรที่รักชนบท และเก่งในด้านการวางแผนธุรกิจ และโปรโมท พวกเขาพยายามแสวงหาโมเดลประกอบการแบบการตลาด ยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมในหมู่บ้าน หมู่บ้านสือเหมิน ต้าซานและหลงซ่าง ซึ่งอยู่ติดกันนั้นจึงรวมตัวกันเป็นแหล่งท่องเที่ยวหลงเหมินมี่จิ้ง โหล หมิ่น ซึ่งกำเนิดที่นี่และมีประสบการณ์ประกอบธุรกิจมาหลายปี จึงได้เซ็นสัญญากับหมู่บ้านทั้งสาม เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวหลงเหมินมี่จิ้ง เขาจึงเป็นผู้จัดการธุรกิจหมู่บ้านรุ่นแรกของจีน 

โหล หมิ่น ทบทวนว่า ช่วงแรกเริ่มที่เธอลงมือทำนั้น หลงเหมินมี่จิ้งมีเกสต์เฮาส์ 10 กว่าแห่งเท่านั้น ไม่ค่อยมีเอกลักษณ์ของตัวเอง ธุรกิจไม่ดีนัก เธอได้นำทีมงานลงพื้นที่สำรวจอย่างเต็มที่ และกำหนดแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวของสามหมู่บ้านให้เป็น การสำรวจโบราณสถาน การท่องเที่ยวเชิงสนุก และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บนพื้นฐานที่รักษาระบบนิเวศของท้องถิ่น ทีมงานพยายามใช้ประโยชน์จากทรัพยากรด้านวัฒนธรรม ขนบประเพณี  และอาหารการกินประจำถิ่น โดยสร้างแหล่งท่องเที่ยวให้เป็นที่นิยมกันบนสื่อโซเชี่ยล และสร้างโมเดลธุรกิจที่จัดแสดงสินค้าที่ร้านค้า และสัมผัสกระบวนการทำที่โรงงาน นอกจากนี้ ท้องที่ดังกล่าวยังได้ปลูกชาดอกเก๊กฮวย และสร้างโรงงานผลิตคราฟต์เบียร์ 

ทุกวันนี้ หลงเหมินมี่จิ้งได้จัดงานเทศกาลต่าง ๆ เช่น การแข่งปีนหน้าผาบนน้ำ ภูมิภาคตะวันออกของจีน งานวัฒนธรรมเก๊กฮวย งานน้ำจิ้มหลงเหมิน งานฉลองการเก็บเกี่ยว งานคราฟต์เบียร์ งานประเพณีตรุษจีน งานเล่นน้ำหนีร้อน และงานทริปแคมป์ปิ้ง ดินแดนภูเขาแห่งนี้จึงค่อย ๆ กลายเป็นแดนสนุกที่ผู้คนนิยมเดินทางมาพักผ่อนท่องเที่ยวกัน 

โหล หมิ่นกล่าวว่า ระหว่างการก่อร่างสร้างธุรกิจ เธอประสบความยากลำบากไม่น้อยทีเดียว เช่น ขาดบุคลากร “พวกเราจึงร่วมมือกับมหาวิทยาลัยบางแห่ง และให้นักศึกษามาฝึกงาน หวังว่า พวกเขาจะเข้าใจและรักชนบท เมื่อเรียนจบแล้วตัดสินใจมาทำงานที่นี่ กลายเป็นผู้บุกเบิกและสร้างสรรค์ชนบท” 

ในหลงเหมินมี่จิ้งมีภูเขาแห่งหนึ่งชื่อ “ภูเขาสิงโต”  ระดับความสูงจากน้ำทะเล 696.2 เมตร นับเป็นสถานที่ธรรมชาติที่เหมาะกับการปีนหน้าผาที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคตะวันออกของจีน เมื่อหลายปีก่อน จาง เทียนเจ้อ ผู้เชี่ยวชาญกีฬาปีนหน้าผาเดินทางมาถึงหลงเหมินมี่จิ้ง และช่วยพัฒนาที่นี่ให้เป็นตำบลปีนหน้าผา จางเทียนเจ้อ เคยเป็นโค้ชทีมปีนหน้าผาของมณฑลเจ้อเจียง และมักจะพาทีมมาฝึกอบรมที่ภูเขาสิงโต ปี 2018 เขาตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งโค้ชปีนหน้าผา เดินทางมาถึงภูเขาแห่งนี้ เช่าบ้านสร้างเกสต์เฮ้าส์ สร้างสนามปีนหน้าผา ประกอบกิจการอบรมการปีนหน้าผา จัดแคมป์นักศึกษา และจัดงานแข่งขันปีนหน้าผา เขาได้ใช้เวลาสั้น ๆ ไม่กี่ปี ก็สร้างภูเขาสิงโตให้เป็นสถานที่ปีนหน้าผาที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในภูมิภาคตะวันออกของจีน แต่ละปี มีคนมาปีนหน้าผาที่นี่หลายหมื่นคน วัง ฉินหย่ง ประธานสภาผู้แทนประชาชนตพตำบลเกาหลง เขตหลินอานกล่าวว่า ชาวต่างชาติที่ทำงานในนครเซี่ยงไฮ้และหางโจวนิยมเดินทางมาที่นี่เพื่อปีนหน้าผากัน ช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ที่นี่จึงกลายเป็นหมู่บ้านสากล 

จากการพัฒนาที่เป็นเวลาหลายปี หลงเหมินมี่จิ้งกลายเป็นแบบฉบับแห่งการประกอบกิจการในหมู่บ้าน ดึงดูดผู้ประกอบการหมู่บ้านเดินทางมาทัศนศึกษาเป็นจำนวนมาก เมื่อทบทวนประสบการณ์ในช่วงหลายปีมานี้ โหล หมิ่นกล่าวว่า “การสร้างสรรค์หลงเหมินมี่จิ้ง จากการเฝ้ารอในช่วงเริ่มต้น ต่อมาได้เสียงหัวเราะ และทุกวันนี้ได้เสียงปรบมือ ทำให้ดิฉันเข้าใจว่า การพัฒนาของชนบทต้องประสานกับการประกอบกิจการ อุตสาหกรรม และผลิตภัณฑ์เป็นตัวชี้นำการพัฒนาชนบท ต้องเข้าใจขนบนประเพณีและวัฒนธรรมของหมู่บ้าน กำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน แล้วจึงวางแผนการประกอบการตามหลักวิทยาศาสตร์ ” 

“หลงเหมินมี่จิ้ง” แดนลับประตูมัง

“หมู่บ้านหมาเผิง” หมู่บ้านร่ำรวยเพราะกังฟู 

“เตรียมพร้อม...เริ่ม!” ที่สนามกิมย้ง ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางหมู่บ้านหมาเผิง ตำบลสือเหลียง เขตเคอเฉิง เมืองฉีว์โจว ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งใส่ชุดกังฟูกำลังฝึกกังฟูกัน ท่าทางขึงขังจริงจัง  

หมู่บ้านหมาเผิง เป็นหมู่บ้านกังฟูที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เล่ากันว่า คนในหมู่บ้านทุกคนฝึกมวยกันทั้งนั้น “ มวย 13 พยัยุคฆ์” เป็นมรดกตกทอดตั้งแต่อดีตจนถึงทุกวันนี้ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ของเมืองฉีว์โจว เกี่ยวกับความเป็นมาของมวย 13 พยัคฆ์นี้ มีเรื่องเล่าแปลกหูแปลกตาหลายเรื่อง และในอดีต “กิมย้ง” นักเขียนนิยายกำลังภายในจีนชื่อดัง สมัยยังเป็นนักเรียนเคยมาศึกษาอยู่ที่หมู่บ้านจิ้งเหยียนของ เมืองฉีว์โจว เพื่อหลบหนีความวุ่นวายจากสงคราม หมู่บ้านจิ้งเหยียนอยู่ใกล้ ๆ กับหมู่บ้านหมาเผิง กิมย้งจึงรู้จักและสนใจวัฒนธรรมกังฟูของหมู่บ้านหมาเผิงมาก ในนิยายเรื่อง “เพ็กฮ้วยเกี่ยม หรือ (กระบี่เลือดเขียว)” แก๊งสือเหลียงได้ฝึกมวยหมาเผิง ส่วนนางเอกของเรื่องก็เป็นสาวชาวหมู่บ้านหมาเผิงนี่เอง 

“หมู่บ้านหมาเผิง" จึงใช้ความได้เปรียบด้านวัฒนธรรมกังฟูของตนเอง พัฒนามวย 13 พยัคฆ์ ซึ่งเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมประจำถิ่นไปพร้อมกับสร้างแบรนด์ “หมู่บ้านวัฒนธรรมกำลังภายในกิมย้ง” ภาพวาดบนกำแพงของหมู่บ้านก็ล้วนเป็นตัวละคร หรือเป็นฉากประลองฝีมือรบกันในนิยายกำลังภายในของกิมย้งกันหมด ที่ลานบ้านของชาวบ้านยังจัดแสดง “18ศาสตราวุธ” ในหมู่บ้านได้สร้างสนามประลองยุทธ์กิมย้ง และสวนระเบียงวัฒนธรรมวิทยายุทธจีน ฉากในนิยายกำลังภายในจีน “เดชคัมภีร์แดนพยัคฆ์” และ “เพ็กฮ้วยเกี่ยม” ทั้งนี้ได้ดึงดูดนักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามายังในหมู่บ้านแห่งนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ  

การรับประทานอาหารในร้านที่ตกแต่งจำลองฉากจากเรื่อง “ เดชคัมภีร์แดนพยัคฆ์”  ดูทำให้เหมือนเดินหลุดเข้าไปในฉากสถานที่ถ่ายทำหนังกำลังภายใน โดยเฉพาะหการตั้งชื่อเมนูอาหารกลายเป็นประเด็นหัวข้อสนทนาที่สร้างความตื่นเต้นดึงดูดใจตานักท่องเที่ยวมาก มีทั้งกุ้งปูสะท้านภพ มังกรผยองข้ามแม่น้ำ ชายุทธภพ และสิบแปดฝ่ามือ สำหรับเมนูเด็ดประจำร้าน คือ “กุ้งกังฟู (กุ้งมังกรเล็ก)” 

หลายปีมานี้ “หมู่บ้านหมาเผิง” ได้ร่วมมือกับบริษัทวิทยาศาสตร์การเกษตรจิ้งเหอ มณฑลเจ้อเจียง โดยให้บริษัทเข้ามาลงทุนพัฒนาที่ดินกว่า 66.7 เฮกตาร์ ทำการปลูกต้นข้าวและเลี้ยงสัตว์น้ำพร้อมกัน นอกจากการเพาะเลี้ยงกุ้งกังฟูมังกรเล็กแล้ว ทางหมู่บ้านยังได้ยกระดับอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น ทำกิจการแปรรูป การวิจัยทางวิทยาศาสตร์การเกษตร การท่องเที่ยว และการจัดทริปให้นักเรียนมาศึกษาดูงานเป็นต้น ทำให้ชาวบ้านหมู่บ้านรอบข้างก็มีงานได้ใกล้บ้าน บรรลุซึ่งความร่ำรวยร่วมกัน ปี 2022 รายได้จากการประกอบกิจการต่อปีของหมู่บ้านสูงเกิน 1.02 ล้านหยวน 

ฟาง เหว่ยตง เลขาธิการสาขาพรรคฯ ประจำหมู่บ้าน ผู้อำนวยการคณะกรรมการหมู่บ้านกล่าวว่า “เมื่อก่อนหมู่บ้านเรา ถนนหนทางแคบ ที่อยู่อาศัยของชาวบ้านทรุดโทรม ไฟถนนไม่สว่าง ชาวบ้านต่างพร่ำบ่นตลอด” แต่ทุกวันนี้ หมู่บ้านเราสวยขึ้น ชาวบ้านรวยขึ้น ทางหมู่บ้านยังเปิดโรงอาหารให้ผู้สูงอายุรับประทานอาหาร 3 มื้อได้ฟรี  ตอนนี้ ผู้สูงอายุที่ใช้บริการดังกล่าวมีถึง 50 คน  “อัศวินคือผู้ที่รับใช้ประเทศชาติและประชาชน” ความรุ่งเรืองของหมู่บ้านหมาเผิงในทุกวันนี้ จึงเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า โครงการ“พันหมู่บ้านสาธิต หมื่นหมู่บ้านพัฒนา” กำลังเปลี่ยนโฉมหน้าล้าหลังของชนบท สร้างความผาสุกให้กับประชาชน 

ชาวบ้านหมู่บ้านหมาเผิงกำลังฝึกเล่นไทเก็กกัน

เขียนโดย ถันลี่หมิ่น ลู่เจี้ยน หลินเว่ยกวาง จางเฟยเยี่ย หลิวเจียหมิง อู๋ซีลู่ และ กูซืออี้ว์