รายการ “ภูมิวัฒนธรรมสวนชาโบราณผู่เอ่อร์จิ่งหม้ายซาน” ของจีน ได้รับพิจารณาเพื่อบรรจุเข้า “ทะเบียนมรดกโลก” ในการประชุมมรดกโลก ครั้งที่ 45 ที่จัดขึ้นในประเทศซาอุดิอาราเบีย เมื่อวันที่ 17 กันยายนที่ผ่านมา ถือเป็นรายการมรดกโลกที่ 57 ของจีน และเป็นรายการมรดกโลกทางวัฒนธรรมรายการแรกที่เกี่ยวกับ “ชา”

“ภูมิวัฒนธรรมสวนชาโบราณผู่เอ่อร์จิ่งหม้ายซาน” ตั้งอยู่ที่ เมืองผู่เอ่อร์ มณฑลยูหนานของจีน ปัจจุบันเป็นสวนชาโบราณแบบเพาะเลี้ยงที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดของโลก และเป็นสิ่งยืนยันทางประวัติศาสตร์ถึงการพัฒนาด้านวัฒนธรรมชาของจีนอีกด้วย

แม่น้ำสองสายและหุบเขาสูงชันรอบล้อมภูเขาจิ่งหม้ายซานไว้ถึงสามด้านด้วยต้นชาโบราณมากกว่า 1.2 ล้านต้น โดยมีพื้นที่เพาะปลูก 5 แห่งได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างสมบูรณ์ และพื้นที่เพาะปลูก 3 แห่งถูกแยกออกเป็นส่วนป้องกันสวนชา ทำให้รู้สึกเหมือนสวนสวรรค์บนวิมานเมฆ

หากแยกอักษรจีนคำว่า “ชา” (茶) ออกจากกันจะแปลได้ว่า “คนอยู่ท่ามกลางพืชพรรณ” ดั่งเช่นชนกลุ่มน้อยเผ่าไตและชนกลุ่มน้อยเผ่าปลังที่อาศัยอยู่บนภูเขาจิ่งหม้ายซานอย่างรุ่งเรืองมาอย่างยาวนาน โดยพวกเขาอาศัยภูมิปัญญาทางนิเวศท่ามกลางพืชพรรณ

จากสถิติของสวนพฤกษศาสตร์เขตร้อนสิบสองปันนาของสถาบันวิทยาศาสตร์ของจีน พบว่าสวนชาโบราณจิ่งหม้ายซานมีจำนวนพืชพันธุ์กว่า 934 สายพันธุ์ สัตว์บกที่มีกระดูกสันหลัง 187 สายพันธุ์ และจากการบันทึกสัตว์จำพวกนก 134 สายพันธุ์ ซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการผสมเกสร สารอาหาร การควบคุมศัตรูพืชภายในสวนชาโบราณ

ผู้คนบนภูเขาจิ่งหม้ายซานปลูกชาและใช้ชีวิตร่วมกับต้นชามาตลอดหลายชั่วอายุคน ช่วงปลายศตวรรษที่ 10 บรรพบุรุษของชนกลุ่มน้อยเผ่าปลังอพยพมายังภูเขาจิ่งหม้ายซานจนได้พบกับต้นชา เพาะเลี้ยงและปลูกต้นชา จนผู้คนของชนเผ่ามีความสนิทสนมกับชามาเป็นเวลาหลายพันปี หมู่บ้านถูกปลูกสร้างอยู่รอบภูเขาและการขยายเขตแดนที่อยู่อาศัยโดยยึดหลักการใช้ที่ดินอย่างประหยัด พวกเขาสร้างที่อยู่อาศัยอย่างเป็นระเบียบ เพื่อนำที่ดินที่กว้างและดีกว่าใช้ในการเพาะปลูกต้นชา      การขยายพื้นที่เพาะปลูกชาแบบบันไดนาในพื้นที่ระดับต่ำกว่าน้ำทะเลที่มีแหล่งน้ำเพียงพอ และสร้างพื้นที่เชิงนิเวศสมัยใหม่นอกสวนชาโบราณใหม่

ผู้คนดั้งเดิมที่อาศัยอยู่บนภูเขาจิ่งหม้ายซานหลายชั่วอายุคนดูแลและปกป้องผืนป่าบนเขาแห่งนี้มาโดยตลอด อีกทั้งยังได้สร้างชาผู่เออร์จิ่งหม้ายซานให้เป็นชาที่มี “รสชาติเอกลักษณ์” 

“พวกเราจะไม่ขึ้นเขาเพื่อเก็บใบชาในฤดูร้อน นั่นก็เพราะต้องการให้ต้นชาได้เติบโตให้ดีเพื่อให้ได้ใบชาที่ดีกว่า” ชาวสวนชาท้องถิ่นเผยว่า ไม่เพียงต้องใช้ต้นชาที่ดี ยิ่งต้องดูแลต้นชาเหล่านั้นให้ได้ต้นชาเกิดใหม่รุ่นต่อไป

“ชา” ของจีนก้าวสู่ระดับโลก ดั่งเช่นทุกวันนี้ “ชา” ได้กลายเป็น “เครื่องดื่ม” ที่สำคัญหนึ่งในสามของโลก  ชาวเขาจิ่งหม้ายซานสืบทอดวิธีการ “เพาะปลูกต้นชาในป่า”แบบดั้งเดิมหลายพันปี ซึ่งเป็นการที่มนุษย์ใช้ต้นชาเป็นตัวอย่างทางนิเวศในยุคแรกๆ รูปแบบภูมิของเขาจิ่งหม้ายซาน “ภูเขาคู่ป่า ป่าเกิดชา” ที่อยู่ล้อมรอบหมู่บ้าน แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของอารยธรรมทางระบบนิเวศในการใช้ประโยชน์จากที่ดินแนวตั้ง และยังแสดงให้โลกได้เห็นถึงประสบการณ์และภูมิปัญญาของจีนในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนแหล่งของมรดกโลก