สนามกีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเจ้อเจียง วิทยาเขตผิงเฟิง (Zhejiang University of Technology Pingfeng Campus) ในเขตซีหู มณฑลหางโจว เป็นสถานที่จัดการแข่งขันกีฬาคริกเก็ตในการแข่งขันมหากรรมกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 19 หลี่เล่ยและเพื่อนร่วมชั้นหลายคนต่างวิ่งออกกำลังกายไปรอบบริเวณสนามกีฬาทุกวันและพวกเขาเฝ้ารอการแข่งขันที่จัดภายในมหาวิทยาลัยอย่างใจจดใจจ่อ ขณะที่พวกเขาตอบถามของนักข่าว เช่น “เคยดูการแข่งขันกีฬาคริกเก็ตไหม?” “รู้จักเกี่ยวกับกีฬาชนิดนี้ไหม? พวกเขาผยักหน้าอย่างมั่นใจและพูดว่า “ก่อนหน้านี้ไม่รู้จักกีฬาชนิดเลย แต่ตอนนี้ได้รู้จักมากขึ้นแล้ว และยังได้ร่วมเล่นกีฬาชนิดนี้กับเพื่อนๆอีกด้วย พวกเรากำลังพยายามที่จะ “การบ้าน” อย่างหนัก เพื่อที่จะได้มาร่วมเชียร์การแข่งขัน

การแข่งขันมหกรรมกีฬาเอเชียนเกมส์ในทุกๆครั้ง นอกเหนือจากชนิดกีฬาที่บรรจุในกีฬาโอลิมปิกเกมส์อยู่แล้ว จะมีการบรรจุชนิดกีฬาที่มีเอกลักษณ์ของเอเชียเข้าเป็นชนิดกีฬาที่ใช้ในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ในครั้งนั้นๆ อาทิ การแข่งขันที่คนจีนคุ้นเคยอย่างการแข่งขันกีฬาวูชู การแข่งขันกีฬาพายเรือมังกร รวมถึงเกมส์การแข่งขันทางปัญญาอย่าง กีฬาหมากล้อม และกีฬาหมากรุก ทั้งนี้ยังมีชนิดกีฬาที่หลายๆ คนไม่คุ้นเคยและกีฬาคริกเกตก็เป็นหนึ่งในชนิดกีฬาเหล่านั้น

นับตั้งแต่การก่อตั้งการแข่งขันมหกรรมกีฬาเอเชียนเกมส์เมื่อปี พ.ศ. 2494 เป็นระยะเวลาที่ยาวนานในการดำเนินจัดการแข่งขันให้เป็นไปตามหลักการ “อ้างอิงกับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกด้วยรูปแบบกีฬาที่หลากหลาย” ชนิดและจำนวนของกีฬาที่จัดการแข่งขันมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ประเทศเจ้าภาพสามารถเลือกชนิดกีฬาจากชนิดกีฬาต่างๆ ที่มีการจัดการแข่งขันในรายการเอเชียนเกมส์ที่ทางสภาโอลิมปิกแห่งเอเชียรับรอง แต่ต้องมี 4 ประเทศหรือภูมิภาคขึ้นไป เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาชนิดนั้น

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาการคัดเลือกชนิดกีฬาที่มีการจัดการแข่งขันในเอเชียนเกมส์ช่วงแรกๆ ชนิดกีฬาเกือบทั้งหมดล้วนมีต้นกำเนิดมาจากทวีปยุโรปและทวีปอเมริกา ชนิดกีฬาที่มีต้นกำเนิดมาจากทวีปเอเชียแทบจะไม่มีความเกี่ยวข้องกับเอเชียนเกมส์เลยและการแข่งขันเอเชียนเกมส์ในครั้งหนึ่งเคยถูกเรียกว่า “โอลิมปิกเกมส์เวอร์ชั่นเอเชีย” ต่อมาสภาโอลิมปิกแห่งเอเชียได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2524 และชนิดกีฬาที่มีเอกลักษณ์ของเอเชียค่อยๆ ถูกบรรจุเข้าในเอเชียนเกมส์ มีการจัดการแข่งขันกีฬาที่มีเอกลักษณ์ของเอเชีย อาทิ วูซู เทควันโด กาบัดดี เซปัคตะกร้อ และยูโด ในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ในปี พ.ศ. 2529 และในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ในปี พ.ศ. 2533 ต่อมากีฬาซอฟต์เทนนิส คาราเต้ และเรือมังกรต่างทยอยจัดขึ้นในการแข่งขันเอเชียนเกมส์

นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา มีการบรรจุกีฬาเอเชียแบบดั้งเดิมเข้าแข่งขันในเอเชียนเกมส์มากขึ้น วิวัฒนาการของกีฬาเอเชียนเกมส์จึงกลายเป็นสิ่งที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของกีฬาในทวีปเอเชียโดยไม่ต้องพึ่งพาวัฒนธรรมกีฬาของทวีปยุโรปและอเมริกามากเกินไป ชนิดกีฬาเหล่านี้ไม่เพียงมีความสำคัญต่อการแข่งขันกีฬาเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทที่พิเศษในการส่งเสริมวัฒนธรรมกีฬาของเอเชียอีกด้วย สามารถดึงดูดความสนใจจากนานาชาติที่มีต่อวัฒนธรรมกีฬาของเอเชียที่กำลังเติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ

การแข่งขันเซปักตะกร้อทีมชายเดี่ยว รอบคัดเลือก จัดขึ้นที่โรงยิมศูนย์กีฬาจินหัว ในเมืองจินหัว มณฑลเจ้อเจียง

ภูมิภาคเอเชียมีความสำคัญในแวดวงกีฬานานาชาติมากยิ่งขึ้นตั้งแต่เข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ดังนั้น การส่งเสริมการพัฒนากีฬาเอเชียจึงกลายเป็นบทบาทสำคัญประการหนึ่งในการจัดการแข่งขันมหกรรมกีฬาเอเชียนเกมส์ และเมื่อพิจารณาจากพัฒนาการของการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์แล้ว หลังจากได้หลุดพ้นจากการอ้างอิงชนิดกีฬาจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกอย่างสิ้นเชิง ค่อย ๆ ปรากฎชนิดกีฬาที่มีเอกลักษณ์ของเอเชียในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์มากยิ่งขึ้น 

การบรรจุชนิดกีฬา อาทิ กาบัดดี เซปักตะกร้อ คาราเต้ ศิลปะการต่อสู้ เรือมังกร และกีฬาอื่นๆ ที่มีเอกลักษณ์ของเอเชีย เข้าสู่เอเชียนเกมส์ไม่เพียงทำให้ผู้คนในทวีปเอเชียนได้รู้จักและเข้าใจชนิดกีฬาเหล่านี้มากขึ้น แต่ยังค่อย ๆ ขับเคลื่อนกีฬาเหล่านี้ออกจากเอเชียสู่ชาวโลก 

จะเห็นได้ว่า เมื่อเปรียบเทียบการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์กับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกแบบดั้งเดิมและการแข่งขันมหกรรมกีฬาในทวีปอื่นๆ การแข่งขันกีฬาของเอเชียภายใต้การนำของสภาโอลิมปิกแห่งเอเชียมีความทันสมัยมากยิ่งกว่า กล้าที่จะยอมรับสิ่งใหม่ ๆ มากกว่า และซึมซับการแข่งขันชนิดกีฬาใหม่ ๆ และเป็นที่นิยมอย่างต่อเนื่อง ชนิดกีฬาที่ได้รับความสนใจ มีเอกลักษณ์และความทันสมัย เป็นชนิดกีฬาที่กำลังพัฒนา ส่งพลังใหม่ ๆ ออกไปอย่างต่อเนื่องและอยู่ในระดับแนวหน้าของกีฬาโลกด้วยทัศนคติที่เปิดกว้างและรอบด้าน

การกำหนดชนิดกีฬาที่ใช้ในการแข่งขันมหกรรมกีฬาเอเชียนเกมส์หางโจว (Hangzhou Asian Games) ครั้งนี้ เป็นการเปิดโอกาสให้ประเทศและภูมิภาคต่าง ๆ ในทวีปเอเชียได้มีเวทีแสดงศักยภาพที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและเสน่ห์ของตนเองได้อย่างเต็มที่ และสามารถยกระดับการพัฒนากีฬาทั้งภูมิภาคเอเชีย

พวกเรามีเหตุผลที่เชื่อได้ว่าบนเวทีการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ที่หางโจว วัฒนธรรมของเอเชียจะถูกแสดงต่อหน้าผู้ชมอย่างเต็มที่และถึงรสถึงชาติมากยิ่งขึ้น สามารถดึงดูดสายตาจากนานาชาติมากขึ้นอีกด้วย