เรียบเรียงโดย ดร.วิรุฬห์ พิชัยวงศ์ภักดี

ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางไทย-จีน

ปี 2013 ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง นำเสนอข้อริเริ่มการสร้างสรรค์ "แถบเศรษฐกิจเส้นทางสายไหม" กับ "เส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21" จนถึงทุกวันนี้ ความร่วมมือแห่ง  “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”  ได้ดำเนินเป็นเวลา 10 ปีแล้ว ความคิดชี้นำของข้อริเริ่มดังกล่าว ได้แก่ การเปิดกว้าง การกระจายประโยชน์อย่างทั่วถึง  และการประสบชัยชนะร่วมกัน ได้ขจัดอุปสรรคทางความคิดแบบเกมผลรวมเป็นศูนย์ หรือ เกมที่ต้องมีแพ้-ชนะ ทำให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้เชื่อมต่อกัน และทำให้ประเทศกำลังพัฒนามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในบริบทโลก

ข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”  นำมาซึ่งแนวคิดการพัฒนาใหม่ ๆ ให้กับประเทศเอเชียแปซิฟิก และได้นำมาซึ่งรถไฟจีน-ลาว รถไฟความเร็วสูงจาการ์ตา-บันดุง ทำให้กัมพูชาได้ก่อสร้างทางด่วน และรถยนต์พลังงานใหม่ของจีนก็มีโอกาสเข้าสู่ตลาดประเทศต่าง ๆ จากการปฏิบัติตามข้อริเริ่ม  “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ทำให้เราได้สร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของประเทศเอเชียแปซิฟิก และประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันจีน-ไทย

ไทยจีนมิใช่อื่นไกลเป็นพี่น้องกัน เดือนพฤศจิกายน ปี 2022 ประธานาธิบดีจีนเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ทั้งสองประเทศได้ลงนาม "แผนความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ว่าด้วยการร่วมกันส่งเสริมเส้นทางเศรษฐกิจสายไหมและเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21" และ "แผนปฏิบัติการร่วมว่าด้วยความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ไทย-จีน ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2565-2569)"

โครงการความร่วมมือว่าด้วยการผลักดันการสร้างสรรค์ ซึ่งหมายความว่า ผู้นำจีนไทยได้ปรับปรุงการวางแผนในระดับสูงให้สมบูรณ์ขึ้นเรื่อย ๆ และการร่วมมือกันสร้างสรรค์ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" ให้มีคุณภาพสูงนั้นได้รับประสิทธิผลที่น่าพอใจ ความร่วมมือภายใต้กรอบ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" ระหว่างจีนกับไทยพัฒนาจากการปรับปรุงสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน และขยายสู่วงการอื่น ๆ เช่น เศรษฐกิจดิจิทัล รถยนต์พลังงานใหม่ และความสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี

สถานที่ก่อสร้างของทางรถไฟจีน-ไทยขั้นตอนอยุธยา

ขณะเดียวกัน จีนกับไทยได้ลงนาม "แถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการสร้างประชาคมจีน-ไทยที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนมากขึ้น" ซึ่งเป็นการชี้ทิศทางให้กับความร่วมมือภายใต้กรอบ  "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" ระหว่างจีนกับไทย ขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสให้เราทั้งสองประเทศจับมือกันสร้างสรรค์ประชาคมโลกที่มีอนาคตร่วมกัน

นายเศรษฐา ทวีสิน เมื่อเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทยแล้ว ก็ประกาศนโยบายยกเว้นวีซ่าท่องเที่ยวให้คนจีน เป็นการสร้างประโยชน์สุขให้ประชาชนสองประเทศ และได้เดินทางไปตรวจดูงานการก่อสร้างรถไฟไทย-ลาว-จีนที่จังหวัดหนองคาย ชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย เพื่อเร่งงานการเชื่อมต่อกันของสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการคมนาคม และเศรษฐกิจการค้าการลงทุน นายเศรษฐา ทวีสิน ย้ำขณะที่พบกับนายหาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตจีนประจำไทยว่า เขาให้ความสำคัญกับการพัฒนาความสัมพันธ์กับจีนอย่างสูง และยืนยันว่า จะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ครั้งที่ 3 ที่จะจัดขึ้นที่กรุงปักกิ่งในเดือนตุลาคมนี้

ช่วง 10 ปีที่ผ่านมาไทยจีนประสบผลงานมากมายในความร่วมมือ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง"

ประการแรก การเชื่อมต่อกันของสิ่งอำนวยความสะดวกประสบผลงานมากมาย รถไฟไทยจีนเป็นโครงการสำคัญในการร่วมมือสร้างสรรค์  "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" และดำเนินความร่วมมือด้านการผลิต ทุกวันนี้ รถไฟไทย-จีน ระยะที่ 1 จากกรุงเทพฯ ถึงโคราชคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง ระยะที่ 2 จากโคราชถึงเวียงจันทน์กำลังอยู่ในช่วงวางแผนอยู่ คาดว่ารถไฟจีน-ลาว-ไทย จะเชื่อมถึงกันได้ในปี 2028 เมื่อโครงการรถไฟไทย-จีน สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะปรับเปลี่ยนสภาพรถไฟในปัจจุบันของไทย เพิ่มแรงกระตุ้นใหม่ให้กับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย ขณะเดียวกัน เมื่อเชื่อมกับรถไฟจีน-ลาว แล้ว การขนส่งลำเลียงผู้โดยสารและสิ่งของระหว่างจีนกับไทยจะสะดวกยิ่งขึ้น ทำให้จีน-ลาว-ไทยพัฒนาร่วมกัน นับเป็นสายรถไฟเส้นหลักที่สามารถเชื่อมคาบสมุทรอินโดจีนได้ จะผลักดันให้การเชื่อมต่อกันในภูมิภาคเข้าสู่ศักราชใหม่

ประการที่สอง คือ การค้ามีความสะดวกมากขึ้น ปี 2022 ยอดการค้าระหว่างจีนกับไทยบรรลุ 135,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จีนเป็นหุ้นส่วนการค้ารายใหญ่ที่สุดของไทยต่อเนื่องกัน 10 ปี ปี 2022 ยอดเงินลงทุนที่ไทยโดยตรงของวิสาหกิจจีนนั้นสูงถึง 2,200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จีนได้เป็นแหล่งที่มาของทุนต่างชาติที่ใหญ่ที่สุดของไทยอีกครั้ง ขณะเดียวกัน การลงทุนในจีนของไทยก็ได้รักษาแนวโน้มที่ดี ความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจดิจิทัล เศรษฐกิจสีเขียว การสร้างสรรค์วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีระหว่างสองประเทศ ความร่วมมือด้านการสร้างสรรค์ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" และการผลักดันการเชื่อมต่อกันระหว่างสองประเทศ ได้สร้างโอกาสกว้างใหญ่เพื่อความรุ่งเรืองร่วมกันของทั้งสองประเทศ

ประการที่สาม คือ ความเข้าใจร่วมกันที่สร้างประโยชน์สุขให้กับประชาชนสองประเทศ ช่วง 10 ปีมานี้ ถนนแห่งความสุข สะพานเชื่อมใจ และแถบเศรษฐกิจต่าง ๆ เริ่มก่อสร้างขึ้นในประเทศต่าง ๆ ที่เข้าร่วมการสร้างสรรค์ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" โครงการการเกษตร การรักษาพยาบาล และการลดความยากจนต่าง ๆ ที่เป็นรูปธรรมและนำมาซึ่งประโยชน์ที่แท้จริงให้กับประชาชนประเทศต่าง ๆ เริ่มได้รับการปฏิบัติอย่างจริงจัง ปี 2016 วิทยาลัยอาชีวศึกษาโป๋ไห่เทียนสินก่อตั้งศูนย์ปฏิบัติการเทคโนโลยีและนวัตกรรมลูปันหรือลูปันเวิร์กช็อปในต่างประเทศแห่งแรกที่วิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา หลักสูตรการเรียนการสอน 6 สาขาวิชาที่ลูปันเวิร์กช็อปได้เปิดขึ้นนั้น นับเป็นแผนการอบรมช่างฝีมือที่มีคุณภาพที่จีนเสนอให้ไทย ตั้งแต่ลูปันเวิร์คช็อปก่อตั้งขึ้น ได้ผลิตบุคลากรช่างฝีมือให้กับไทยกว่า 1,000 คน อัตราการมีงานทำนั้นเกือบ 100%

สันติภาพ การพัฒนา ความร่วมมือ และชัยชนะร่วมกัน เป็นกระแสที่ไม่อาจจะขัดขวางได้ ข้อริเริ่ม "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" เป็นความตกลงของประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย เพราะประเทศกำลังพัฒนามีความต้องการในการพัฒนามากกว่า เสียงของประเทศกำลังพัฒนาควรได้รับการเคารพ และประเทศกำลังพัฒนาควรแสดงบทบาทที่พึงมีในการบริหารจัดการในบริบทโลก ข้อริเริ่ม "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" เป็นเหตุการณ์สำคัญที่ประเทศกำลังพัฒนาสามัคคีกันเพื่อเปล่งเสียงของเราเอง และเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างระเบียบโลกที่มีความยุติธรรมและสมเหตุสมผลมากขึ้น

นอกจากข้อริเริ่ม  "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" แล้ว ความคิดและประสบการณ์ด้านการปกครองประเทศของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ก็มีความหมายสำคัญในการพัฒนาโลกด้วย ข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ข้อริเริ่มการพัฒนาโลก ข้อริเริ่มความมั่นคงโลก ข้อริเริ่มอารยธรรมโลก และประชาคมโลกที่มีอนาคตร่วมกัน ทั้งหมดนี้สร้างโอกาสใหม่มากมายให้กับสันติภาพและการพัฒนาของอารยธรรมมนุษยชาติ เป็นภูมิปัญญาจีนเพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง และรุ่งเรืองของโลก เป็นผลิตผลสาธารณะอันล้ำค่าที่จีนเสนอให้ประเทศกำลังพัฒนาต่าง ๆ

ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศที่ร่วมมือกันสร้างสรรค์ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" สร้างผลงานรุ่งโรจน์ภายใต้กรอบ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" นี่คือความปรารถนาร่วมกันที่ข้ามทวีปเอเชียยุโรป และเชื่อมมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย และก็เป็นปฏิบัติการทางประวัติศาสตร์ที่จีนจับมือกับประเทศต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาของประชาคมโลก การอำนวยประโยชน์ต่อกันเพื่อชัยชนะร่วมกัน ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานของข้อริเริ่ม "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" ได้ตราตรึงอยู่ในใจประชาชนประเทศต่าง ๆ เราหวังว่า จะร่วมมือกับจีนในการบุกเบิกทศวรรษที่เต็มไปด้วยความหวังต่อไป