หัวหน้าศูนย์วิจัย Near Infrared (NIR) Technology ภาควิชาวิศวกรรมการอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน ม.เกษตรศาสตร์ เปิดตัวนวัตกรรมเครื่องประเมินคุณภาพรังนกอย่างรวดเร็วและไม่ทำลายตัวอย่างเครื่องแรกของโลก เผยเป็นการพลิกโฉมการประมูลรังนกผ่าน Application แบบออนไลน์ ในระบบ BET ทำให้ลดค่าใช้จ่ายของผู้ขายและผู้จัดการประมูลและเพิ่มรายได้ให้เกษตรผู้ขาย โดยเครื่องมือดังกล่าวจะทำให้ประเทศไทยได้ประโยชน์ในหลายด้านโดยเฉพาะการยกระดับ "รังนกดิบ" ให้มีคุณภาพที่ดีขึ้นสามารถตอบสนองความต้องการในเวทีการค้าโลกได้ ทำให้คุณภาพชีวิตเกษตรกรในชุมชนท้องถิ่นมีความมั่นคงในท้องถิ่นของตัวเอง  


ปัจจุบันกระแสความต้องการ รังนก ในท้องตลาดทั้งในประเทศและในตลาดโลกยังคงมีความต้องการรังนกคุณภาพดี ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีเกษตรกร ได้หันมาให้ความสนใจและลงทุนกับการเลี้ยงนกเพื่อจำหน่ายรัง มากขั้นแต่การซื้อขายแบบดั้งเดิมคือการจัดลานการประมูลในพื้นที่ต่างๆ โดยรูปแบบเดิมจะมีผู้จัดการประมูลจะมีการจัดสถานที่เพื่อให้ผู้ขายและผู้ซื้อมาพบกันและมีการตรวจคุณภาพสินค้าเพื่อนำไปสู่การตั้งราคาและจบการซื้อขายที่ลานประมูล แต่สถานการณ์การแพร่ระบดาของไวรัสโควิด-19 ได้มีการทำให้การประมูล "รังนกดิบ" ได้เกิดการหยุดชะงัก ซึ่งทำให้เกิดความสูญเสียโอกาสในตลาดวงการรังนกเป็นวงกว้างและมีมูลค่าความเสียหายในการขาดโอกาสในการพัฒนาสินค้าทางการเกษตรที่ไม่สามารถประเมินมูลค่าได้

 รองศาสตราจารย์ ดร.รณฤทธิ์ ฤทธิรณ ผู้เชี่ยวชาญด้าน near infrared spectroscopy ของ ISO และ European committee for standardization (CEN) และ UN FAO ในฐานะหัวหน้าศูนย์วิจัย Near Infrared (NIR) Technology ภาควิชาวิศวกรรมการอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน ม.เกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่าการเลี้ยงนกเพื่อจำหน่ายรังนก ในประเทศไทยมีเกษตรกรที่ได้ให้ความสนใจการเพาะเลี้ยงไม่น้อย ซึ่งตอนนี้ตนเองและทีมงานนักวิจัย คิดค้นนวัตกรรมระบบประเมินคุณภาพรังนกอย่างรวดเร็วและไม่ทำลายตัวอย่างเพื่อการซื้อขายในรูปแบบการประมูลออนไลน์ ระบบแรกของโลก ซึ่งระบบดังกล่าวได้ถูกนำไปติดตั้งและนำเข้าสู่ระบบปฏิบัติการ BET หรือ Bird’s Nests E-bidding Thailand ซึ่งกลุ่ม "กลุ่มวิสาหกิจชุมชนนกแอ่นตาปี" จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้นำระบบดังกล่าวไปใช้ในลานประมูลรังนกดิบแล้ว

 ดร.รณฤทธิ์ เปิดเผยอีกว่า ตนเองและทีมนักวิจัยได้รับโจทย์จากเกษตร "กลุ่มวิสาหกิจชุมชนนกแอ่นตาปี" มีความต้องการที่จะมีระบบในการตรวจสอบคุณภาพของรังนก ซึ่งโดยปกติจะใช้วิธีการเปิดลานประมูลแบบดั้งเดิมคือการที่เกษตรกรจะนำรังนกของตนเองมายังสถานที่จัดประมูลซึ่งจะมีผู้ซื้อที่มีความชำนาญในการดูคุณภาพของรังนกด้วยตาเปล่าและตกลงในราคาซื้อชายกันแต่ก็ยังมีจุดด้อยในหลายเรื่องทั้งการหลุดสายตาของผู้มีประสบการณ์ทำให้ได้ราคาซื้อชายที่ไม่เป็นจริงตามคุณภาพของรังนกที่แท้จริง โดยการคิดค้นเครื่องมือและระบบดังกล่าวได้รับการสนัยสนุนจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)  

 ดร.รณฤทธิ์ กล่าวว่า สำหรับ ระบบประเมินคุณภาพรังนกอย่างรวดเร็วเครื่องแรกของโลกได้มีการกำหนดหัวข้อ 2 หัวข้อหลักๆคือ ระบบตรวจสอบความชื้นและระบบการตรวจคุณภาพสีของรังนกและสิ่งปนเปื้อน ซึ่งความเสียหายก็จะเกิดจากการหยิบจับรังนกด้วยมือเปล่า อาจจะมีผลกับราคาโดยตรง ซึ่งหลักการทำงานของเครื่องมือดังกล่าว คือการที่ผู้ขายจะตัวอย่ารังนกที่นำมาประมูล จำนวน 1 กิโลกรัมเทใส่ที่ถาดจากนั้นจะมีการทำฐานข้อมูลโดยจัดทำ QR CODE จากนั้นจะนำรังนกตัวอย่างดันผ่านระบบลูกกลิ้งซึ่งจะมีระบบ Near Infrared (NIR) Technology  เพื่อตรวจสอบในเรื่องของความชื้นและอีกส่วนจะมีกระบวนการบันทึกภาพถ่ายและทำการแยกระดับของความขาวสะอาด หรือการปนเปื้อนเช่นขนนกและจัดลำกับของเฉดสี ว่าอยู่ในระดับใด โดยการคิดค้นเฉดสีก็เป็นครั้งแรกของโลกเช่นกัน ซึ่งจะมีค่าระดับ W1 คือขาวที่สุด ไปจนถึงระดับ W5 จะเป็นสีขาวออกไปทางโทนสีเหลือง และจะมีตัว Stopper กั้นตัวถาดไว้และจะมีเซ็นเซอร์ของระบบจัดการแบบอัตโนมัติ จากนั้นข้อมูลทุกอย่างจะถูกรวบรวมขึ้นเพื่อ Upload ไปยังระบบ Bird’s Nests E-bidding Thailand หรือ BET เพื่อให้ผู้ซื้อผู้ขายสามารถประมูลรังนกจากที่ไหนในโลกก็ได้และทำให้ได้คุณภาพรังนกที่สูงขึ้น ตอนนี้ที่ได้ดำเนินการไปมีข้อมูลว่า ผู้ขายสามารถได้ราคาของรังนกที่เป็นธรรม ผู้ซื้อก็จะได้สินค้าตรงตามที่ต้องการด้วย 

 ดร.รณฤทธิ์ กล่าวอีกว่า สำหรับระบบและเครื่องมือดังกล่าว ถือเป็นการพลิกโฉมวงการการประมูลรังนกครั้งแรกในประเทศไทยและเป็นเครื่องมือที่คิดค้นโดยคนไทยและใช้วัสดุอุปกรณ์ในประเทศทั้งหมด ซึ่งนวัตกรรมนี้ จะทำให้ผู้ซื้อลดค่าใช้จ่ายไปได้มากทั้งค่ารถจากการเดินทาง ค่าโรงแรมที่ต้องมารอเข้าไปประมูลรังนก ส่วนผู้จัดก็จะลดจำนวนคนในกระบวนการจัดการประมูลแบบดั้งเดิม ส่วนผู้ขายก็จะลดความความเสี่ยงจากการดูด้วยตาและจับสัมผัสจากผู้ซื้อและได้ราคาที่เป็นธรรมซึ่งมีตัวเลขที่สูงขึ้นในทุกครั้งที่มีการประมูลเนื่องจากมีฐานข้อมูลที่ยืนยันด้วยวิทยาศาสตร์ผ่านเทคโนโลยี และกระบวนการดังกล่าวจะสามารถผลักดันให้ รังนกของประเทศไทยมีคุณภาพที่ดีขึ้น และสามารถนำไปจำหน่ายในตลาดโลกได้ความต้องการของตลาดและทำให้เกษตรกรไทยมีอาชีพที่มั่นคงในชุมชนที่อาศัยและทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย