ตลอดระยะเวลา 70 ปี แห่งการครองสิริราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อประโยชน์สุขและความเป็นอยู่ที่ดีของปวงประชาราษฎร์ พระราชกรณียกิจสำคัญประการหนึ่งที่ทรงดำเนินรอยตามสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าได้อย่างสมบูรณ์ครบถ้วน คือ การทำนุบำรุงและสืบสานพระบวรพุทธศาสนาให้ยั่งยืนสืบไป “พระผู้ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก”  พระบาทสมเด็จพระปรมินทร์มหาภูมิพลอดุลยเดชทรงผนวช พระพุทธรูปปางประทานพร รพ.ศิริราช ปี 2505 พระพุทธรูปปางประทานพร วัดเทวสังฆาราม ปี 2506  พระพุทธรูปปางประทานพร ภปร วัดบวรนิเวศ ปี 2508 ตั้งแต่โบราณกาล สยามประเทศประกอบด้วยสถาบันหลัก 3 สถาบัน คือ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ การยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาของชนชาติไทย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุขนั้น มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ปรากฏมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้ามายังดินแดนสุวรรณภูมิ เมื่อปี พ.ศ.234 และสืบสานต่อเนื่องมาอย่างมั่นคง พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทุกยุคสมัย ล้วนทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภก ทรงทำนุบำรุงพระบวรพุทธศาสนาและทุกๆ ศาสนาในพระราชอาณาจักร ... สืบถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ยังได้ทรงแสดงพระราชปณิธานไว้ใน ‘นิราศท่าดินแดง’ ว่า “ตั้งใจจะอุปถัมภก               ยอยกพระพุทธศาสนา จะป้องกันขอบขัณฑสีมา     รักษาประชาชนและมนตรี” ล่วงมาถึงสมัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยในพระพุทธศาสนามาตั้งแต่ทรงพระเยาว์  ด้วยทรงได้รับการปลูกฝังจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชนนี  ต่อมาทรงศึกษาค้นคว้าด้วยพระองค์เองและทรงศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนายิ่งนัก  หลังจากทรงเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ดูแลทุกข์สุขประชาราษฎร์มากว่าสิบปี ... ในวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ.2499 พระองค์ทรงแถลงพระราชดำริที่จะบรรพชาอุปสมบทต่อมหาสมาคม อันประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์และคณะทูตานุทูต ความตอนหนึ่งว่า พระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จฯ ยกช่อฟ้า เสด็จฯ เป็นประธานทรงฝังลูกนิมิต  เครื่องอัฐบริขารนาคหลวง พระไตรปิฏกฉบับคอมพิวเตอร์ สังคยนาพระไตรปิฎกฉบับสมบูรณ์ ถวายสมณศักดิ์-พัดยศ “.. โดยที่พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ดีศาสนาหนึ่ง  เนื่องในบรรดาสัจธรรมคำสั่งสอนอันชอบด้วยเหตุผล จึงเคยคิดอยู่ว่าถ้าโอกาสอำนวย ข้าพเจ้าควรจักได้บวชสักเวลาหนึ่งตามราชประเพณี ซึ่งจักเป็นทางสนองพระเดชพระคุณพระราชบุพการีตามคตินิยมด้วย  และนับตั้งแต่ข้าพเจ้าได้ครองราชย์สืบสันตติวงศ์ต่อจากพระเชษฐาธิราช ก็ล่วงมากว่าสิบปีแล้ว  เห็นว่าน่าจะถึงเวลาที่ควรจะทำตามความตั้งใจไว้นั้นแล้วประการหนึ่ง อนึ่ง การที่องค์สมเด็จพระสังฆราชหายประชวรมาได้ในคราวประชวรครั้งหลังนี้ ก่อให้เกิดความปีติยินดีแก่ข้าพเจ้ายิ่งนัก  ได้มาคำนึงว่าถ้าในการอุปสมบทของข้าพเจ้า ได้มีองค์สมเด็จพระสังฆราชเป็นพระอุปัชฌาย์   แล้วก็จักเป็นการแสดงออกซึ่งความศรัทธาเคารพในพระองค์ท่านของข้าพเจ้าได้อย่างเหมาะสมอีกประการหนึ่ง จึงได้ตกลงใจที่จะบรรพชาอุปสมบทในวันที่ 22 เดือนนี้” วันที่ 22  ตุลาคม  พ.ศ.2499 พระองค์เสด็จฯ ทรงผนวช ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม   โดย สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า (มรว.ชื่น นพวงศ์) วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงเป็นพระราชอุปัชฌาย์ ทรงได้รับพระสมณนามว่า “ภูมิพโลภิกขุ” จากนั้นเสด็จฯ ประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหารเป็นเวลา 15 วัน แม้จะเป็นระยะเวลาอันสั้น แต่ทรงแสดงถึงพระราชศรัทธาในพุทธศาสนาอย่างแท้จริง ทรงบำเพ็ญพระราชจริยาวัตรดุจพระนวกะทั่วไป  เสด็จฯ ออกทรงรับบาตรจากประชาชน ทรงศึกษาและปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด   พระพุทธนวราชบพิตร พระสมเด็จจิตรลดา เสด็จฯ ทรงกดพิมพ์นำฤกษ์พระ 25 พุทธศตวรรษ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพอพระราชหฤทัยที่จะฟังธรรม ปฏิบัติธรรม และสนทนาธรรมกับพระภิกษุผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอยู่เป็นเนืองนิตย์ และทรงทำนุบำรุงพระบวรพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ขออัญเชิญมาบางส่วนดังนี้ ... นอกเหนือจากที่พระองค์ ทรงสร้างพระพุทธรูป-พระเครื่อง ขึ้น ในโอกาสสำคัญๆ อาทิ พระพุทธรูปปางประทานพร ภปร., พระพุทธนวราชบพิตร, พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำรัชกาล, พระสมเด็จจิตรลดา, เหรียญพระชัยหลังช้าง ฯลฯ โดยทรงพระราชทานไว้ ณ หน่วยงานของรัฐและวัดวาอารามต่างๆ ตลอดถึงสถานที่สำคัญทั่วประเทศ และเสด็จฯ เป็นประธานหล่อพระพุทธรูป-พระเครื่อง ตามที่พุทธศาสนิกชนกราบบังคมทูลเชิญอีกมากมาย เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของพุทธศาสนา สืบทอดงานศิลปวัฒนธรรม และให้พุทธศาสนิกชนได้มีพระพุทธรูปไว้บูชาประจำท้องถิ่น อันจะนำไปสู่ความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชนในชาติ และมีความร่วมมือร่วมใจสืบทอดพระศาสนาให้แผ่ไพศาลสืบต่อไปแล้ว ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในทุกวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา รวมถึงวันสำคัญต่างๆ ของท้องถิ่นหรือชุมชนตามคำกราบบังคมทูลเชิญ ทั้งในส่วนของพระราชพิธีและส่วนพระองค์ นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จไปบำเพ็ญพระราชกุศลในที่ต่างๆ อีกด้วย ทรงทำนุบำรุง บูรณปฏิสังขรณ์ และสร้างวัดวาอารามในชุมชนท้องถิ่นต่างๆ โดยพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์หรือเงินที่มีผู้ทูลเกล้าฯ ถวายโดยเสด็จพระราชกุศล เพื่อให้ภิกษุสงฆ์และพุทธศาสนิกชนได้ปฏิบัติศาสนกิจได้โดยสะดวก ทั้งยังใช้เป็นสถานที่ศึกษาเล่าเรียนและเป็นศูนย์กลางการพัฒนาชุมชนในทุกๆ ด้าน อันเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศ ทรงอุปถัมภ์ด้านการคณะสงฆ์ ทรงพระราชทานสมณศักดิ์และตำแหน่งแก่พระภิกษุสงฆ์ผู้มีความเพียร ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม แตกฉานในพระไตรปิฎก มีปฏิปทาน่าเลื่อมใส และสร้างคุณูปการต่อพระบวรศาสนาและพุทธศาสนิกชน ทรงส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรมของพระภิกษุและสามเณร ทั้งที่เป็นทางการและส่วนพระองค์ พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์แก่สามเณรที่สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค  เมื่อจะอุปสมบทให้เป็น ‘นาคหลวง’ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงมีพระบรมราชโองการให้มีการสังคายนาตรวจชำระพระไตรปิฎกครบชุด ทั้งฉบับบาลีและฉบับแปลเป็นภาษาไทย นับเป็นการชำระพระไตรปิฎกในประเทศไทยเป็น “ครั้งที่ 5” หลังตรวจชำระแล้วเสร็จสมบูรณ์แล้ว ได้ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้มหาวิทยาลัยมหิดล จัดทำ ‘พระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์’ นับเป็นครั้งแรกของโลกอันเป็นเกียรติประวัติสูงสุด จนไทยได้รับยกย่องให้เป็นศูนย์กลางแห่งพระพุทธศาสนา โดยองค์การพุทธทั่วโลกได้ลงมติให้ประเทศไทยเป็นที่ตั้งถาวรของสำนักงานใหญ่องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (The Word Fellowship of Buddhists) ตลอดไป บำเพ็ญพระราชกุศลในวันสำคัญทางศาสนา กฐินพระราชทาน ทรงเททองพระพุทธรูป-พระพิมพ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็น “เอกอัครศาสนูปถัมภก” ในพระบวรพุทธศาสนาโดยแท้ พร้อมกระนั้น พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อทุกๆ ศาสนาในผืนแผ่นดินไทยจนเป็นที่ประจักษ์และเทิดทูลของประชาราษฎร์ทั่วทั้งแผ่นดินขอน้อมฯ รำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ธ สถิตในดวงใจไทยนิรันดร์ สัปดาห์พระเครื่อง:โดย รามวัชรประดิษฐ์