ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ / ทหารประชาธิปไตย

การทำสงครามในครั้งนี้ถ้าเปรียบเทียบการใช้จ่ายในการทำสงครามของอิสราเอล-ฮามาส ก็เหมือนการทำสงครามของสหรัฐฯ-เวียตกง นั่นคือเศรษฐีรบกับยาจก เศรษฐีใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ที่ล้ำสมัยราคาสูง ไม่ว่าจะเป็นระบบป้องกันภัยทางอากาศอย่าง IRON DOME มูลค่าหลายร้อยล้าน ขณะที่ฮามาสใช้จรวดราคาไม่กี่พันบาท อิสราเอลใช้รถถังราคาแพง ฮามาสใช้จรวดต่อสู้รถถังราคาถูกเป็นต้น

นอกจากนี้อิสราเอลยังมีค่าสูญเสียโอกาสจำนวนมาก จากการที่ต้องเกณฑ์กำลังสำรองมาสมทบ 300,000 นาย ทำให้แรงงานขาดหายไปจากตลาด ทั้งอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม แม้จะใช้แรงงานต่างชาติก็มีปัญหาความปลอดภัยในการทำงานภาคการเกษตร ซึ่งเป็นช่วงที่จะมีผลิตผลส่งออกไปขายยุโรปในช่วงฤดูหนาวจึงเกิดปัญหา

อิสราเอลนั้นต้องพึ่งพาการนำเข้าและส่งออกเป็นหลัก จึงมีผลกระทบมากหากต้องพัวพันในสงครามที่ยืดเยื้อ

มีรายงานว่าเมื่อเริ่มสงคราม 7 ตุลาคม ที่ผ่านมา สหรัฐฯโดยอำนาจประธานาธิบดีได้ขออนุมัติสภาคองเกรส โอนเงินด่วนให้อิสราเอลไปแล้ว 2,000 ล้านดอลลาร์ และกำลังขออนุมัติเพิ่มเติมจากรัฐสภาอีก 14.3 พันล้านดอลลาร์ เพื่อสนับสนุนการทำสงครามของอิสราเอล

นอกจากนี้อิสราเอลยังทำการกู้เงินพิเศษอีก 6,000 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ยังไม่นับรวมงบที่จะได้รับการอุดหนุนจากสหรัฐฯ ที่ส่งให้เป็นประจำทุกปี โดยไม่มีเงื่อนไข อีก 3,000-4,000 ล้านดอลลาร์

จะเห็นได้ว่าอิสราเอลต้องใช้เงินจำนวนมากในการทำสงคราม แต่ผู้ที่จะต้องแบกรับภาระในสงครามนี้ก็คือ ผู้เสียภาษีของอิสราเอล และสหรัฐฯ ทั้งๆที่สหรัฐฯก็มีงบขาดดุล และมีหนี้สาธารณะถึง 125% ต่อ GDP

หมายความว่ามีหนี้เกินรายได้ ดังนั้นจึงมีสภาพเหมือนแชร์ลูกโซ่ คือ กู้หนี้ใหม่มาใช้หนี้เก่า และบางส่วนก็ได้เอาไปอุดหนุนอิสราเอล โดยที่ผู้เสียภาษีส่วนใหญ่มิได้ตระหนัก อันเป็นช่องว่างของระบอบประชาธิปไตยของสหรัฐฯ ทั้งนี้เพราะสมาชิกสภาคองเกรส

และวุฒิสภาส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะมาจากพรรคเดโมแครต หรือ รีพับลิกัน ต่างตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของขบวนการยิวไซออนิสต์ ผ่านคณะกรรมการกิจการสาธารณะ อเมริกา-อิสราเอล (AIPAC) โดยมีผู้อุดหนุนหลัก คือ อุตสาหกรรมผลิตอาวุธ อุตสาหกรรมผลิตพลังงาน อุตสาหกรรมสื่อ อุตสาหกรรมการเงิน และสนับสนุนการมอมเมาด้วยภาพยนตร์ฮอลลีวูด โดยอุตสาหกรรมเหล่านี้ทำหน้าที่เป็น DEEP STATE (รัฐบาลเงา) คอยกำกับรัฐบาล ทั้งนี้มีขบวนการยิวไซออนิสต์เป็นผู้กำกับดูแล อีกทีโดยมีนายใหญ่คือ ตระกูลรอธไชล์ ซึ่งเป็นผู้นำของยิวไซออนิสต์เป็นผู้บงการ

ซึ่งตระกูลรอธไชล์นี้หากเจาะลึกลงไปก็จะพบว่าเป็นเจ้าของใหญ่ของกิจกรรมทั้งหลายที่กล่าวมาข้างต้น ด้วยอิทธิพลทางการเงินที่เป็นผู้วางกลไกการเงินไม่ใช่แค่สหรัฐฯ หรือยุโรป แต่ครอบคลุมไปทั่วโลก ซึ่งนอกจากธนาคารขนาดใหญ่ ยังมีบรรษัทการลงทุนข้ามชาติอีกหลายองค์การ

อนึ่งขบวนการยิวไซออนิสต์ ยังมีอิทธิพลครอบคลุม FED (FEDERAL RESERVED) ของสหรัฐฯ คุมธนาคารกลางอังกฤษ กำกับการบริหารของธนาคารโลก IMF ระบบ SWIFT และ WTO (องค์การการค้าโลก)อีกด้วย

น่าเสียดายที่ไม่อาจจะประเมินค่าใช้จ่าย ของฮามาสในการทำสงคราม แต่ที่เห็นๆคือประชาชนชาวกาซาต้องตกเป็นเหยื่อของสงครามนี้กว่าหมื่นคนแล้ว โดยในจำนวนนี้มีเด็กกว่า 6,000 คน และยังมีผู้ชราและผู้หญิงอีกหลายพันคน

อย่างไรก็ตามแม้สงครามจะยังไม่ยุติแต่ก็ปรากฏว่าฮามาสประสบชัยชนะทางการเมือง ดังจะเห็นได้ว่าการกระทำโดยไร้มนุษยธรรม และการละเมิดกฎหมาย ระหว่างประเทศ ด้วยข้ออ้างป้องกันตนเอง มันเกินขอบเขตของกฎหมาย มนุษยธรรมไปแล้ว เช่น การทิ้งระเบิดโรงพยาบาล หรือโรงเรียนด้วยข้ออ้างและหลักฐานที่ยังไม่เพียงพอว่าฮามาสไปตั้งกองบัญชาการอยู่ใต้โรงพยาบาล เช่น ที่โรงพยาบาลอัล-ซีฟา ที่เป็นโรงพยาบาลใหญ่สุด หรือโรงพยาบาลเด็ก ซึ่งเป็นเหตุให้เด็กที่คลอดก่อนกำหนด ต้องใช้ตู้อบและเครื่องช่วยหายใจจนเสียชีวิตไป 4-5 รายแล้ว เมื่อบุกเข้าโรงพยาบาล และยังไม่พบหลักฐานเพียงพอตามที่กล่าวอ้าง จนกระทั่งมีข่าวว่าพยายามสร้างหลักฐานปลอมขึ้นมา

จากข้อมูลที่นำเสนอโดยสื่อเช่น อัลจาซีรา และการให้ข่าวของอดีตรัฐมนตรีต่างประเทศเลบานอน พบว่าอิสราเอลต้องใช้จ่ายในการทำสงครามประมาณวันละ 260 ล้านดอลลาร์/วัน ยิ่งสงครามยืดเยื้อ นอกจากค่าใช้จ่ายจะเพิ่มสูงเป็นภาระของผู้เสียภาษีอิสราเอลและสหรัฐฯ แถมจะต้องเผชิญปัญหาเงินเฟ้อ แต่อิสราเอลยังตกเป็นฝ่าย เพลี่ยงพล้ำในสงครามการเมือง แม้จะระดมการใช้สื่อเพื่อบิดเบือนความจริงมาตลอด แต่ก็หนีความจริงไม่พ้นในการทำสงครามที่ทารุณโหดร้ายไร้มนุษยธรรม จนสหประชาชาติ ทั้งสมัชชาใหญ่และคณะมนตรีความมั่นคง ต่างมีมติให้หยุดยิงและดำเนินการช่วยเหลือทางมนุษยธรรม แต่อิสราเอลก็ปฏิเสธ จนทำให้มีหลายประเทศตัดสัมพันธ์ทางการทูต เช่น บางประเทศในอเมริกาใต้ สหภาพแอฟริกาใต้ และไอร์แลนด์

จนบัดนี้ก็มีข่าวว่าจะมีการตกลงหยุดการโจมตีเพื่อมนุษยธรรม 4-5วัน โดยจะแลกเปลี่ยนเชลยศึกกัน พร้อมนี้ทางอิสราเอลก็จะเปิดให้รถบรรเทาทุกข์ของun ได้ผ่านแดนวันละ300คัน ทางฮามาสก็จะตอบแทนด้วยการปล่อยเชลยศึกเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตามยังไม่มีสัญญาณการยุติสงครามจากอิสราเอล

ทว่าในการทำสงครามครั้งนี้ใช่ว่าอิสราเอลจะไม่มีผลประโยชน์แฝงเร้น ด้วยมีความจริงเปิดเผยออกมาว่า ชายฝั่งทะเลของกาซา นั่นมีแหล่งน้ำมันจำนวนมหาศาล รวมทั้งก๊าซธรรมชาติ ซึ่งโดยกฎหมายระหว่างประเทศสิทธิและประโยชน์ควรตกกับชาวกาซา และฮามาส แต่อิสราเอลก็ใช้กำลังเข้ายึดครอง และทำสัมปทานให้บริษัทต่างชาติไปดำเนินการเรียบร้อยแล้ว

ดังนั้นอิสราเอล นอกจากแรงกดดันเรื่องต้นทุนแล้ว ยังมีแรงกดดันด้านผลประโยชน์ เพราะถ้าสงครามกับฮามาสยังไม่ยุติ การขุดเจาะน้ำมันก็จะต้องระงับไว้ก่อน โดยอิสราเอลต้องชนะอย่างเดียว เพื่อเข้าครอบครองกาซาให้ได้

นอกจากนี้อิสราเอลยังมีแผนการขุดคลองสุเอซ 2 ที่เริ่มจากเมือง ELAT ในอ่าวอัคบาร์ ซึ่งแนวคลองนี้จะผ่านดินแดนปาเลสไตน์ และกาซา หากสงครามกาซา อิสราเอลไม่ได้ชัยชนะและควบคุมกาซาไว้เบ็ดเสร็จ ผลประโยชน์ที่จะได้จากการขุดคลองก็จะขาดหายไปมาก นี่ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่อิสราเอลโหมทำศึกและเร่งรีบ โดยไม่คำนึงถึงมนุษยธรรม จนเด็กชาวปาเลสไตน์ต้องสังเวยความโลภไปถึง 6,000 กว่าคนแล้ว ด้วยข้ออ้างการปกป้องตนเอง โดยไม่คำนึงถึงกฎหมายระหว่างประเทศ อนุสัญญาเจนีวา และกฎหมายมนุษยธรรม ทว่าผลประโยชน์ส่วนใหญ่จะตกอยู่กับตระกูลรอธไชล์ เพราะบริษัทผู้รับสัมปทานเป็นของเขา

อนึ่งเมื่อขบวนการนัสรุลลอฮ์ ในเยเมนที่มีกองกำลังฮูธี เป็นกำลังหลัก สามารถดำเนินการยึดเรือที่คาดว่าเป็นเรืออิสราเอล ในเส้นทางทะเลแดง เพราะเยเมนมีพื้นที่สำคัญในการควบคุมการเดินเรือในทะเลแดง โดยเฉพาะที่ช่องแคบบาบุลมันดิบ (ประตูแห่งเสียงร้องครวญคราง) เพราะกระแสน้ำไหลแรงมาก ด้วยเป็นช่องแคบกว้างเพียง 3 กม.เศษเท่านั้น

การกระทำของฮูธี ทำให้อิสราเอลตระหนกมาก เพราะเส้นทางจากเมดิเตอร์เรเนียน ผ่านคลองสุเอซ หรือจะไม่ผ่านโดยใช้ท่าเรืออิแลทก็ตาม ย่อมส่งผลกระทบต่อการเดินเรือสินค้าและช่องทางการค้าสู่เอเชียของอิสราเอล ยิ่งถ้าขุดคลองสุเอซ 2 ก็ยังต้องผ่านทะเลแดง อิสราเอลก็ต้องหยุดชะงัก การลงทุนที่หวังผลตอบแทนสูงและระยะยาวทีเดียว

งานนี้คาดว่าสหรัฐฯ อาจต้องมาออกโรงร่วมกับอิสราเอล ด้วยข้ออ้างคือ ปกป้องผลประโยชน์ต่อเส้นทางการค้าสากล จะเป็นอย่างไรคงต้องติดตาม

สุดท้ายมีคำถามต่อรัฐบาลไทยว่า มีแนวทางการเมืองอย่างไร ต่อความขัดแย้งดังกล่าว เตือนกันไว้ล่วงหน้าครับ ก่อนความขัดแย้งจะบานปลาย และนำมาสู่ผลกระทบทางเศรษฐกิจในที่สุด