“พิมพ์ภัทรา”กำชับคุมเข้มมาตรการเฝ้าระวังอุบัติเหตุและอุบัติภัยช่วงวันหยุดยาวเทศกาลปีใหม่ 2567 ด้าน “วีริศ” รับลูก ย้ำทุกนิคมอุตสาหกรรม และท่าเรืออุตสาหกรรม ใน 16 จังหวัด ฉลองอย่างปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ สั่งวางมาตรการกำกับดูแลเฝ้าระวัง 24 ชั่วโมงตามมาตรฐาน PSM  เตรียมพร้อมรับมือกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า นางสาวพิมพ์ภัทรา  วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม มีความห่วงใยในความปลอดภัยและอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นในช่วงหยุดยาวเทศกาลปีใหม่ 2567 ตามประกาศของรัฐบาล ตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2566 – 1 มกราคม 2567 จึงสั่งการให้ กนอ. กำชับไปยังนิคมอุตสาหกรรมทั้ง 68 แห่ง และท่าเรืออุตสาหกรรม 1 แห่ง ใน 16 จังหวัด ให้เพิ่มความเข้มงวดในการเฝ้าระวังความปลอดภัยและป้องกันอุบัติเหตุในช่วงเวลาดังกล่าวให้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ กนอ. จึงขอความร่วมมือไปยังนิคมอุตสาหกรรม/ท่าเรืออุตสาหกรรม ให้เพิ่มความเข้มงวดในการเฝ้าระวังด้านความปลอดภัยในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นพิเศษ โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้สารเคมีอันตรายร้ายแรง (Highly Hazardous Chemicals) หรือมีปริมาณครอบครองของเหลวไวไฟหรือก๊าซไวไฟตามปริมาณที่กำหนด ตามระบบ “การจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิต (Process Safety Management : PSM)” เพื่อป้องกัน ควบคุม และลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุอย่างมีประสิทธิภาพ

“ช่วงเทศกาลปีใหม่ที่กำลังจะมาถึงนี้ เป็นช่วงเวลาที่ประชาชนจะเดินทางกลับภูมิลำเนา หรือเดินทางท่องเที่ยวไปตามสถานที่ต่างๆ เป็นจำนวนมาก ผมจึงกำชับให้ทุกนิคมอุตสาหกรรม/ ท่าเรืออุตสาหกรรม มอบหมายให้พนักงานปฏิบัติงานนอกเวลาทำการในช่วงวันหยุดยาวตลอด 24 ชั่วโมง กำหนดมาตรการกำกับดูแล เฝ้าระวังต่างๆ และหากเกิดกรณีฉุกเฉินให้รีบประสานงานกับศูนย์เฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย (ศสป.) กนอ. สำนักงานใหญ่ รวมถึงต้องปฏิบัติตามคำสั่ง กนอ.ในเรื่องของการรายงานข้อเท็จจริงกรณีเกิดเหตุ และติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งรายงานเหตุการณ์ให้ผู้อำนวยการสำนักนิคมฯ/ท่าเรือฯ ทราบโดยเร็วที่สุด เพื่อประเมินระดับความรุนแรงและผลกระทบได้อย่างทันท่วงที”นายวีริศกล่าว

โดย กนอ.ยังขอความร่วมมือจากผู้อำนวยการสำนักงานนิคมอุตสาหกรรม/ท่าเรืออุตสาหกรรม ให้จัดเตรียมบุคลากร อุปกรณ์/เครื่องมือ ระบบสาธารณูปโภค การบริการ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ/อุบัติภัยด้วย รวมถึงช่องทางประสานขอความช่วยเหลือจากผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรม หรือผู้ดูแลระบบสาธารณูปโภคภายในนิคมอุตสาหกรรม/ท่าเรืออุตสาหกรรม และหน่วยงานภายนอก อาทิ หน่วยงานป้องกันสาธารณภัย หน่วยงานท้องถิ่น และปฏิบัติตามขั้นตอนของแผนป้องกันและบรรเทาภัยระดับนิคมอุตสาหกรรมอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ ต้องสร้างความตระหนักกับผู้ประกอบการในการให้ความสำคัญกับการเฝ้า

 

#กนอ #ท่าเรือ #ปีใหม่ #นิคมอุตสาหกรรม #โรงงาน