วันที่ 27 ธันวาคม 2566 กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง โดย พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก.,พล.ต.ต.วิทยา ศรีประเสริฐภาพ ผบก.ปคบ.,พ.ต.อ.ณัฐวัฒน์ เกศะรักษ์ รอง.ผบก.ปคบ.,  พ.ต.อ.สำเริง อำพรรทอง รอง ผบก.ปคบ.,พ.ต.อ.ภาคภูมิ ศรีลาภะมาศ รอง ผบก.ปคบ.,พ.ต.อ.ปัญญา กล้าประเสริฐ รอง.ผบก.ปคบ.,พ.ต.อ.ชัฏฐ นากแก้ว รอง ผบก.ปคบ.,พ.ต.อ.อนุวัฒน์ รักษ์เจริญ รอง.ผบก.ปคบ.,      พ.ต.อ.ชวินโรจน์ ภีมรัชตธำรงค์ ผกก.2 บก.ปคบ.,พ.ต.ท.อุดมศักดิ์ สุวรรณแสง รอง ผกก.2 บก.ปคบ.,พ.ต.ท.ธีรภพ พันธุชาติ รอง ผกก.2 บก.ปคบ. แถลงข่าวกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.2 ปคบ. ร่วม บริษัท ปตท. ตรวจค้นสถานที่ผลิตน้ำมันหล่อลื่นปลอมโดยผิดกฎหมาย ปลอมยี่ห้อ ปตท. และน้ำมันหล่อลื่นไม่มีเลขทะเบียน (ธพ.) ในพื้นที่จังหวัดลพบุรี, นครสวรรค์, สระบุรี, และนนทบุรี รวม 6 จุด ยึดของกลางกว่า 75,000 ลิตร มูลค่าความเสียหายกว่า 5 ล้านบาท
ด้วย เจ้าพนักงานตำรวจ ชป.2 กก.2 บก.ปคบ. ได้รับแจ้งจากสายลับ ว่ามีการนำผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่น ขนาดบรรจุ 200 ลิตร ภายใต้เครื่องหมายการค้า Ptt Lubricants และเครื่องหมายการค้าอื่นๆ มาขายผ่านสื่อออนไลน์ ซึ่งมีราคาถูกกว่าท้องตลาดทั่วไป ต้องสงสัยว่าเป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่นปลอมที่อาจเป็นความผิด ตาม พ.ร.บ.การค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2543 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง


เจ้าพนักงานตำรวจชุดสืบสวน โดยการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่น ภายใต้เครื่องหมายการค้า Ptt Lubricants ชื่อการค้าหนึ่งบรรจุในถังเหล็ก ขาดบรรจุ 200 ลิตร จำนวน 2 ถัง ในราคาถังละ 12,500 บาท ในเขตพื้นที่ จ.สระบุรี จึงได้นำส่งให้กับ บริษัท ปตท. น้ำมันเครื่องและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR) เพื่อตรวจสอบความถูกต้องและตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำมันหล่อลื่นดังกล่าว ต่อมาบริษัท ปตท. น้ำมันเครื่องและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR) แจ้งว่าน้ำมันหล่อลื่นดังกล่าวเป็นน้ำมันหล่อลื่นที่บริษัท ปตท. น้ำมันเครื่องและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR) ไม่ได้ผลิตขึ้น และมีคุณภาพแตกต่างจากของบริษัทฯ จึงเชื่อว่าเป็นน้ำมันหล่อลื่นปลอม


จากการสืบสวนขยายผลและปากคำของผู้ต้องหา ทราบว่ามีสถานที่ลักลอบผลิตและสถานที่เก็บเพื่อจำหน่าย ในพื้นที่จังหวัดลพบุรี, นครสวรรค์, สระบุรี และนนทบุรี รวม 6 จุด จึงได้รวบรวมพยานหลักฐานเพื่อขออนุมัติจากศาลเข้าตรวจค้นสถานที่ ดังนี้
 
1.วันที่ 3 พฤศจิกายน 2566 ได้ตรวจค้นบ้านพักในเขตพื้นที่ อ.เมืองลพบุรี จ.ลพบุรี โดยมี นายเอ (นามสมมุติ) เจ้าของ/นำตรวจค้น  ผลการตรวจค้นพบ1) วัตถุดิบน้ำมันหล่อลื่น จำนวน 2,800  ลิตร

2) ฉลาก และอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต จำนวน 13 รายการ2.วันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 ได้ตรวจค้นบ้านพักและอาคารในเขตพื้นที่ อ.เก้าเลี้ยว  จ.นครสวรรค์ โดยมี นายบี (นามสมมุติ) ผู้ดูแล/นำตรวจค้น พบอาคารชั้นเดียวดัดแปลงเป็นโรงงานบรรจุน้ำมันหล่อลื่น พบถังบรรจุน้ำมันขนาด 200 ลิตร จำนวนหลายยี่ห้อ  ผลการตรวจค้นพบ1) วัตถุดิบน้ำมันหล่อลื่น จำนวน 48,400 ลิตร2) ฉลากและอุปกรณ์การผลิต  จำนวน 26 รายการ


3.วันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 ได้ตรวจค้นบ้านพักในเขตพื้นที่ อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี

โดยมี นายซี (นามสมมุติ) เจ้าของ/นำตรวจค้นผลการตรวจค้นพบ 1) ผลิตภัณฑ์น้ำมันพาวเวอร์แทรค  2) ผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่น ชื่อการค้ายี่ห้อหนึ่งรวม 3 รายการ จำนวน 6,821  ลิตร เป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่นปลอม


4.วันที่ 13 พฤศจิกายน 2566 ได้ตรวจค้นบ้านพักในเขตพื้นที่ อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี โดยมี นายดี (นามสมมุติ)เจ้าของ/นำตรวจค้น
ผลการตรวจค้นพบ1) ผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่น จำนวน 6 รายการ (จำนวน 16,000 ลิตร)2) ฉลากและอุปกรณ์การผลิต  จำนวน 28 รายการ


จากการตรวจวิเคราะห์พบว่าผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่น ชื่อการค้าหนึ่ง เป็นน้ำมันหล่อลื่นปลอม
5.วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 ร่วมเจ้าหน้าที่บริษัท ปตท. ตรวจสอบแหล่งจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่น   ในเขตพื้นที่ อ.แก่งคอย  จ.สระบุรี ยึดผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่นยี่ห้อหนึ่ง บรรจุในแกลลอน สีดำ ขนาดบรรจุ 6 ลิตร+1 ลิตร (ลังละ 4 แกลลอน+1 กระป๋อง) จำนวน  28  ลัง


จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า ถุงฟอยล์ที่ห่อหุ้มผลิตภัณฑ์ มีโลโก้น้ำมันยี่ห้อดังลักษณะใช้บล็อกสกรีน ตัวอักษรตัวนูน สากมือ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากของจริง
6.วันที่ 25 ธันวาคม 2566 เข้าตรวจสอบบริษัทสถานที่เก็บน้ำมันหล่อลื่น ย่านอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ตรวจยึดผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่นยร่ห้อหนึ่งสูตร 5w-30 บรรจุในกระป๋องสังกะสี ขนาดบรรจุ 4 ลิตร รวมจำนวน 60 แกลลอน

ผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่นดังกล่าวไม่มีเลขทะเบียนน้ำมันหล่อลื่น ธพ ที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมธุรกิจพลังงาน ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2543รวมตรวจค้นและยึดน้ำมันหล่อลื่นปลอม ในพื้นที่จังหวัดลพบุรี, นครสวรรค์, สระบุรี, และนนทบุรี รวม 6 จุด ยึดของกลางน้ำมันหล่อลื่นปลอมกว่า 75,000 ลิตร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นน้ำมันหล่อลื่นปลอมที่ผลิตโดยไม่ได้มาตรฐาน และใช้เครื่องหมายการค้าของบริษัท ปตท. ปลอม มูลค่าความเสียหายกว่า 5 ล้านบาท

เบื้องต้นการกระทำดังกล่าวเป็นความผิด ดังนี้1. ร่วมกันปลอมปนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีลักษณะหรือคุณภาพแตกต่างจากที่อธิบดีประกาศกำหนด ตาม ม.25 วรรค 1,49,50 แห่ง พ.ร.บ.การค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2543 อัตราโทษ จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ2. เป็นผู้ค้าน้ำมันจําหน่ายหรือมีไว้เพื่อจําหน่าย ซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีลักษณะหรือคุณภาพแตกต่างจากที่อธิบดีประกาศกําหนด ตาม ม.25 วรรค 1,49,50 แห่ง พ.ร.บ.การค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2543 อัตราโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


3.เป็นผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจําหน่ายซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีลักษณะหรือคุณภาพ ที่ยังมิได้รับความเห็นชอบจากอธิบดี ตาม มาตรา 25,48 แห่ง พ.ร.บ.การค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2543 ประกอบ ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กําหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันหล่อลื่น พ.ศ. 2565 อัตราโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


4. ประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 โดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.ควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2542 มาตรา 17 (3),65 ประกอบ กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้ง การอนุญาต และอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2556 ข้อ 13 (3)(ค) ข้อ 44 (3) อัตราโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


5.ผู้ใดโดยเจตนาก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ ปริมาณ หรือสาระสำคัญประการอื่นอันเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ไม่ว่าจะเป็นของตนเองหรือผู้อื่นโฆษณาหรือใช้ฉลากที่มีข้อความอันเป็นเท็จหรือข้อความที่รู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดเช่นว่านั้น” ตาม มาตรา 47, แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522


6.ร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้า และจําหน่าย เสนอจําหน่าย หรือมีไว้เพื่อจําหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้า ของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วใน อัตราโทษจําคุกไม่เกินสี่ปีหรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ตาม มาตรา 108,110(1) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534
 
พล.ต.ต.วิทยา ศรีประเสริฐภาพ ผบก.ปคบ. ฝากเตือนภัย การเลือกซื้อสินค้าน้ำมันหล่อลื่นควรตรวจสอบราคาในท้องตลาดก่อน อย่าเลือกซื้อสินค้าที่มีราคาต่ำกว่าท้องตลาด ท่านอาจจะได้สินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือสินค้าปลอม และการตรวจสอบผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่นของแท้ เบื้องต้นจะต้องตรวจสอบข้อมูลบนฉลากครบถ้วนชัดเจน ทั้งยี่ห้อ เลขทะเบียนน้ำมันหล่อลื่นเครื่องหมาย ธพ และเครื่องหมาย มอก. เบอร์ความหนืด คุณสมบัติต่างๆ วัน/เดือน/ปี ที่ผลิต ตัวอักษรต้องคมชัดเจน และต้องเลือกซื้อกับตัวแทนจำหน่ายที่สามารถตรวจสอบได้ มีสถานที่ตั้งชัดเจน ซึ่งหากผู้บริโภคซื้อผ่านสื่อออนไลน์ อาจะได้สินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ เมื่อผู้บริโภคนำไปใช้ก่อให้เกิดความเสียหายกับเครื่องยนต์ของยานพาหนะที่ใช้งาน ซึ่งอาจเป็นอันตรายและไม่ปลอดภัยกับผู้บริโภค


หากพี่น้องประชาชนพบเห็นการกระทำความผิด สามารถแจ้งได้ที่ สายด่วน ปคบ. 1135 หรือ เพจ ปคบ. เตือนภัยผู้บริโภค