พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พร้อมคณะพรรคประชาชาติ ได้เยี่ยมและให้กำลังใจครอบครัวพล.ต.ต.จำรูญ เด่นอุดม อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน และประธานมูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามในภาคใต้ รวมทั้งยังเคยเป็นหนึ่งในผู้ร่วมผลักดันสถานีโทรทัศน์ภาษามลายูศอ.บต. ได้เสียชีวิตอย่างสงบ เมื่อวันที่ 26 ม.ค.67 ด้วยโรคประจำตัว 

ในโอกาสนี้ พ.ต.อ.ทวีฯได้ลงพื้นที่ไปคาระวะที่หลุมฝังศพ ณ กุโบร์โต๊ะอาเยาะห์ อ.เมือง จ.ปัตตานีอีด้วย  โดยมี นางสุดา เด่นอุดม ภรรยาพล.ต.ต.จำรูญฯ และครอบครัว ให้การต้อนรับพร้อมได้กล่าวขอบคุณ ซึ่งทางครอบครัวมีความประทับใจ และดีใจที่พ.ต.อ.ทวีฯไม่ถอดทิ้ง

ขณะที่ พ.ต.อ.ทวีฯ ได้สอบถามความเป็นอยู่ของครอบครัวพร้อมกล่าวชื่นชมพล.ต.ต.จำรูญฯที่ได้ทำคุณประโยชน์ ให้สังคมมากมายโดยเฉพาะการผลักดันทีวีภาษามลายูศอ.บต. อีกทั้งในขณะที่ดำรงค์ตำแหน่งอยู่ที่ศอ.บต.  ท่านไปพบและได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทุกวัน ได้ร่วมประชุมเรื่องภาษา ซึ่งทางอยากให้มีทีวีภาษามลายูถือเป็นผู้ที่ทรงคุณค่า ท่านหนึ่ง  

นอกจากนี้ พ.ต.อ.ทวีฯ ยังได้คาราวะ หลุ่มศพ พล.อ.ณรงค์ เด่นอุดม อดีตแม่ทัพภาคที่ 4  พี่ชาย พล.ต.ต.จำรูญฯที่ได้เสียชีวิต อย่างสงบ ในวัย 80 ปี เมื่อช่วงเช้า เวลา 05.00น. วันที่ 21 มิ.ย.2563 ที่ผ่านมา ด้วยโรคชรา ทั้งมีมีโรคประจำตัวคือโรคหัวใจ ที่อยู่ใกล้กันกับหลุ่มฝั่งศพ พล.ต.ต.จำรูญฯอีกด้วย 

สำหรับสถานีวิทยุโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียงภาษามลายู เกิดขึ้นในขณะที่  พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม ดำรงค์ตำแหน่ง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ให้ความสำคัญ เพื่อแสดงความเป็นอัตลักษณ์ทางภาษามีความสำคัญในการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ อีกทั้งในขณะนั้นพลตำรวจตรีจำรูญ เด่นอุดม ได้เป็นประธานคณะกรรมการสถานีวิทยุโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียงภาษามลายู และคณะกรรมการสถาบันภาษามลายูไทยแลนด์หลายครั้ง

ขณะเดียวกัน พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง ได้กล่าวช่วงหนึ่งระหว่างทำหน้าที่เป็เลขาธิการศอ.บต.ขณะนั้น ถึงเจตนารมณ์ของการจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียงภาษามลายู ต้องการจะส่งเสริมให้มีการศึกษาเรียนรู้  การปกป้องรักษาภาษามลายู ซึ่งเป็นภาษาที่กำเนิดในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มาหลายร้อยปี ให้ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ โดยอาจจะเริ่มต้นจากสถานศึกษาทั้งในระดับประถมและมัธยมศึกษา และการถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ  ในรูปแบบของภาษามลายูผ่านสื่อทั้งวิทยุ โทรทัศน์ และต้องการเปิดพื้นที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแล รวมถึงเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆให้ครอบคลุมทุกมิติ ภาษามลายูมีความสำคัญกับคนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้  เป็นตัวกลางในการสื่อสารระหว่างภาครัฐกับภาคประชาชน ประชาชนรับรู้และเข้าใจในเรื่องราวต่างๆได้ง่าย และภาษามลายูเป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่นที่ต้องส่งเสริม จะต้องทำให้ประชาชนในพื้นที่รับข้อมูลข่าวสารที่เป็นความจริง ภาษามลายูเป็นสมบัติ เป็นมรดกของทุกคน เป็นสิ่งที่บรรพบุรุษหวงแหน จึงเป็นหน้าที่ของลูกหลานในพื้นที่ ที่จะต้องดูแลรักษาให้คงอยู่กับเราตลอดไป              

รวมทั้งการประชุมวันนี้เพื่อหารือกรอบและแนวทางในการดำเนินรายการทีวีภาษามลายู จาก 2 ชั่วโมง/วัน จำนวน 8 สาระ 15 รายการ ออกอากาศทางทีวีช่อง NBT ส่วนแยกจ.ยะลา ที่มีอยู่เดิมให้สามารถออกอากาศได้ 24 ชั่วโมง  โดยศอ.บต.และบอร์ดทีวีภาษามลายู จะเข้าพบนายอภินันท์ จันทรังษี ในขณะนั้นได้ดำรงค์ตำแหน่งอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์คนใหม่ เพื่อเดินหน้าตามแผนงานที่ปรับเปลี่ยน หากใช้สถานีและโครงข่ายของช่อง 11 ได้ รวมทั้งใช้ทีมงานของช่อง 11 บางส่วน ก็จะประหยัดงบประมาณและการผลิตเนื้อหาแบบมืออาชีพ  ทั้งจะมีการเจรจาขอใช้ดาวเทียมของช่อง 11 ซึ่งมีสถานีอยู่เพื่อเปิดช่องทีวีภาคภาษามลายูเต็มรูปแบบยึดมั่นนโยบายส่งเสริมการใช้ภาษามลายูของพี่น้องจังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจากการมีทีวีภาษามลายูแล้ว ยังเปิด "สถาบันภาษามลายูไทยแลนด์" ขึ้น ซึ่งในอนาคตสถาบันแห่งนี้จะเป็นสถาบันฝึกอบรมผู้จัดรายการทั้งโทรทัศน์และวิทยุให้สามารถใช้ภาษามลายูได้อย่างถูกต้องด้วย

จากนั้น พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้นำขณะเดินทาง ร่วมกิจกรรมระดมทุนซื้อที่ดินเพื่อการกุศลให้เด็กในพื้นที่ปัตตานี บริเวณ ซอยเพชรสุภา ตำบลจะบังติกอ อำเภอเมืองจังหวัดปัตตานี โดยมีแกนนำพรรคประชาชาติและผู้นำในพื้นที่ร่วมให้การต้อนรับและร่วมแห่ขอถ่ายภาพเพื่อเป็นที่ระลึก