ผู้สื่อข่าวรายงาน เมื่อวันที่ 11 มี.ค.67 ที่ผ่านมา ที่กระทรวงยุติธรรม แจ้งวัฒนะ  พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วย นายสมบูรณ์ ม่วงกล่ำ ที่ปรึกษารัฐมนตรีและโฆษกกระทรวงยุติธรรมฝ่ายการเมือง นายนิยม เติมศรีสุข ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงยุติธรรม และคณะผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม เข้าร่วมประชุมผู้บริหารกระทรวง ครั้งที่ 2 / 2567 โดยมีวาระ การศึกษาทบทวนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี

ทั้งนี้มีการระดมความเห็นแนวทางการจัดกิจกรรม 100 ปี การบังคับใชัประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) ผู้เข้าร่วมประชุม อาทิ พล.ต.อ.ภาณุรัตน์ หลักบุญ เลขาธิการ ป.ป.ส. , นางเอมอร เสียงใหญ่ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ , พันตำรวจตรี ยุทธนา แพรดำ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ รักษาการอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ , น.ส.มัชฌิมธร คัมภิรานนท์ รักษาการผู้อำนวยการสถาบันอนุญาโตตุลาการ, รศ.ดร.มุนินทร์ พงศาปาน ผู้อำนวยการศูนย์นิติศึกษาทางสังคม ประวัติศาสตร์ และปรัขญา, นายวิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ, นายพิเศษ สอาดเย็น ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (ทีไอเจ) รวมถึงผู้แทนจากหน่วยงานทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม หัวหน้ากลุ่มพัฒนากฎหมาย และนักวิชาการ ฯลฯ  ณ ห้องประชุม 10-1 ชั้น 10 อาคารกระทรวงยุติธรรม กรุงเทพฯ

ซึ่ง รศ.ดร.มุนินทร์ พงศาปาน ให้ความเห็นว่า ในฐานะที่ทำวิจัย ประวัติศาสตร์ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เห็นด้วยกับการศึกษาทบทวนที่กระทรวงยุติธรรมควรเป็นแกนหลัก  สืบเนื่องจาก ป.พ.พ. เกิดขึ้นโดยใช้วิธีคัดเลือกและจัดทำการแปลมาจากกฏหมายต่างประเทศโดยตรง ตามประวัติมีพระยามานวราชเสวี เป็นบุคคลสำคัญในการจัดทำในช่วงปี 2466-2468 จัดทำเป็น ป.พ.พ.เป็นผลสำเร็จในสมัยรัชกาลที่ 6 โดย บรรพ 1 และบรรพ 2 ได้รับอิทธิพลจากประมวลกฏหมายแพ่งฝรั่งเศส และมีคณะกรรมการแก้ไขปรับเปลี่ยนไปตามแนวของประมวลกโหมายแพ่งเยอรมัน ผ่านการเปรียบเทียบและชำระโดยประมวลกฏหมายแพ่งญี่ปุ่น

โดยมีผลเริ่มใช้บังคับวันที่ 1 มกราคม 2469 และค่อยๆพัฒนาบรรพอื่นๆตามมาจนครบ 6 บรรพ จนไช้อยู่ในปัจจุบันตลอดมาเกื่อบ 100 ปี ประกอบด้วยบรรพที่ 1 หลักทั่วไป พรรพที่ 2 หนี้ บรรพที่ 3 เอกเทศสัญญา บรรพที่ 4 ทรัพย์สิน บรรพที่ 5 ครอบครัว บรรพที่ 6 มรดก ป.พ.พ.เป็นกฎหมายสำคัญ ที่เป็นข้อพิพาทของเอกชน ซึ่งเกิดข้อพิพาทมากกว่า 2 เท่าของคดีอาญา แม้มีการแก้ไขบ้าง แต่ยังไม่เคยมีการปฏิรูปครั้งใหญ่ การบังคับใช้มาอย่างยาวนานทำให้พบปัญหาต่างๆ อาทิ การตีความ การใช้ภาษาที่เข้าใจยาก สร้างภาระค่าใช้จ่าย เกิดความล่าช้า ไม่ทันสมัย กลายเป็นอุปสรรคการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม การบังคับใช้บางส่วนไม่สอดคล้องเชิงระบบของกฎหมาย ไม่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และสังคม เป็นต้น

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ตัวอย่างปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้ ป.พ.พ. เช่น โทษปรับในทางแพ่งที่กำหนดดอกเบี้ยร้อยละ 7.6 ซึ่งคิดจากฐานอัตราดอกเบี้ยเงินฝากมากกว่าร้อยละ 10 ในยุคนั้น แต่ปัจจุบันดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ระดับร้อยละ 1 หรือในการทำสัญญากู้ยืม ไม่มีกลไกเข้าเจรจาปรับสัญญาเมื่อเกิดเหตุสุดวิสัยที่ทำให้ผู้กู้ไม่สามารถนำเงินมาชำระหนี้ได้ เช่น การเกิดโรคระบาดของโควิด-19 กลายเป็นความเดือดร้อนของประชาชน, การวางทรัพย์ที่ไม่รองรับทรัพย์รูปแบบดิจิทัล, การเช่าอสังหาริมทริพย์ของบุคคลที่กลายเป็นภาระ ไม่คุ้มค่าการลงทุน, การขายฝาก, การขายทอดตลาด เป็นต้น

ด้าน พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า เนื่องในวาระที่จะครบ 100 ปี แห่งการนำ ป.พ.พ.มาใช้ในสังคมไทยจึงมีความสนใจในการน้อมรำลึก 100 ปี ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไทย ที่กระทรวงยุติธรรมเป็นผู้จัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อทบทวนและพัฒนาทั้งเนื้อหาและกระบวนการ โดยจะร่วมมือกับหน่วยงานนิติศาสตร์ฝ่ายต่างๆทั้งฝ่ายตุลาการ นิติบัญญัติ หน่วยงานภาคีื อาทิ สภาทนายความ จุดเริ่มต้นจึงได้ทำความเข้าใจกับหน่วยงานในกระทรวงยุติธรรม ก่อนเริ่มกระบวนการดำเนินงานที่กำหนดไว้เป็นเบื้องต้น ตั้งแต่การตั้งคณะอนุกรรมการฯและคณะกรรมการชุดใหญ่เพื่อศึกษา ป.พ.พ. ทั้งการจัดสัมมนาทางวิชาการ วิจัยและพัฒนาทางวิชาการ การเผยแผ่องค์ความรู้จัดกิจกรรมให้เกิดการรับรู้ตื่นตัวรวมถึงการวิเคราะห์ปรับปรุง ป.พ.พ.โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและกระบวนการนิติบัญญัติ ที่อาจใช้เวลาประมาณ 6-7 เดือน แล้วนำข้อมูลมาประมวลก่อนเผยแพร่ และจัดเวทีรับฟังข้อเสนอต่อสังคมในช่วงสิ้นปี 2567 และในช่วงปี 2568 จะนำข้อเสนอทั้งหมดสู่การจัดกิจกรรมเพื่อรำลึกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) ครบ 100 ปี ต่อไป

สำหรับกรอบเวลาดำเนินการตามโครงการศึกษาทบทวนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี  มีดังนี้ เดือนมีนาคม 2567 กระทรวงยุติธรรมประกาศโครงการฯ เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบ เดือนเมษายน -วันที่ 31 ธันวาคม 2567 คณะอนุกรรมการทั้ง 6 บรรพ ศึกษาปัญหา รับฟังความคิดเห็น และจัดทำข้อเสนอในแต่ละคณะอนุกรรมการฯ เดือนมกราคม - เมษายน 2568 ดำเนินการจัดทำรายงานการศึกษาทบทวนเพื่อเตรียมตีพิมพ์เผยแพร่ และเตรียมการจัดกิจกรรมเผยแพร่ข้อเสนอการศึกษาทบทวน และกิจกรรมทางวิชาการ เดือนพฤษภาคม - ธันวาคม 2568 จัดกิจกรรมเพื่อรำลึก 100 ปี ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์