วันที่ 12 มีนาคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) โดย กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก.,พล.ต.ต.วิวัฒน์ ชัยสังฆะ, พล.ต.ต.โส.ภณ สารพัฒน์ รอง ผบช.ก, พล.ต.ต.พุฒิเดช บุญกระพือ ผบก.ปอศ.พ.ต.อ.วงศ์ปกรณ์ เปรมกุลนันท์, พ.ต.อ.จักรกริช เสริบุตร รอง ผบก.ปอศ., ว่าที่ พ.ต.อ.ธีรภาส ยั่งยืน ผกก.3 บก.ปอศ. พ.ต.ท.นนทพัทธ์ ยอดแก้ว, พ.ต.ท.ภาสกร นภาโชติ, พ.ต.ท.ณรัชพงศ์ สินสิริยานนท์, พ.ต.ท.ชวลิต น้ำใจสัตย์ รอง ผกก.3 บก.ปอศ. เจ้าหน้าที่ชุดจับกุม นำโดย พ.ต.ท.ภาสกร นภาโชติ รอง ผกก.3 บก.ปอศ., พ.ต.ต.ประภาส วังงาม สว.กก.3 บก.ปอศ, ร.ต.อ.สุริยน วิกยานนท์ รอง สว.กก.3 บก.ปอศ, ว่าที่ ร.ต.ท.ปัณณ์วิชญ์ สร้อยปลิว, ร.ต.ต.ไพโรจน์ รังสิวรารักษ์ รอง สว.(ป) กก.3 บก.ปอศ, จ.ส.ต.สุริยา ชินวงศ์ และ ส.ต.อ.นคเรศ อุตสา ผบ.หมู่ กก.3 บก.ปอศ. ได้ร่วมกันจับกุม 1. MR.LI อายุ 26 ปี สัญชาติ มาเลเชีย 2. MR.CHEONG อายุ 42 ปี สัญชาติ มาเลเชีย 3. น.ส.ณัฐนิช ฯ อายุ 30 ปี

โดยกล่าวหาว่ากระทำผิดฐาน "ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน, ร่วมกันโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวงนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง และเปิดหรือยินยอมให้ผู้อื่นใช้บัญชีเงินฝากของตน โดยมีได้มีเจตนาใช้เพื่อตนเอง หรือเพื่อกิจการที่ตนเกี่ยวข้องโดยประการที่รู้ หรือควรจะรู้ว่าจะนำไปใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือความผิดอาญาอื่นใด"พร้อมของกลาง 1. คอมพิวเตอร์ 33 เครื่อง 2. โทรศัพท์มือถือ 65 เครื่อง 3. สมุดบัญชีธนาคาร 84 เล่ม 4. บัตรกดเงินสด 13 ใบ 5. ซิมการ์ด 25 อัน 6. กระเป๋าแบรนด์เนม 15 ใบ 7. นาฬิกาแบรนด์เนม 7 เรือน 8.วัตถุคล้ายทอง 15 ชิ้น 9. รถยนต์ ยี่ห้อเมอร์เซเดส-เบนซ์ (Mercedes-benz) 1 คัน รวมมูลค่าของกลางทั้งหมด 8 ล้านบาท สถานที่จับกุม คอนโดมีเนียมแห่งหนึ่ง ถ.พระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร และในพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา

พฤติการณ์ สืบเนื่องจากมีผู้เสียหายเข้าร้องทุกข์ต่อตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) โดย กก.3 บก.ปอศ. ว่าได้ถูกกลุ่มคนร้ายซักชวนผ่านเพจเฟซบุ๊กหลอกให้ลงทุนหุ้นไทยและหุ้นต่างประเทศ โดยมีการแอบอ้างบุคคลที่มีชื่อเสียงในวงการหุ้น เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ ก่อนซักชวนเข้าร่วมกลุ่มไลน์ VIP แนะนำการลงทุนในหุ้นต่างประเทศซึ่งมีความแม่นยำและน่าเชื่อถือสูง และมีข้อมูลลับที่ใช้ในการลงทุน โดยให้ลงทุนผ่านแอปพลิเคชัน Nicshare (ซึ่งเป็นแอปปลอม) โดยช่วงแรกสามารถทำกำไรได้จริงและสามารถถอนเงินได้บางส่วน เพื่อตั้งใจให้ผู้เสียหายหลงเชื่อและโอนเงินลงทุนเพิ่มอีกหลายครั้ง แต่เมื่อลงทุนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ สุดท้ายก็ไม่สามารถถอนเงินออกมาได้

โดยกลุ่มคนร้ายอ้างว่าถ้าต้องการจะถอนเงินจะต้องการวางเงินประกันการลงทุนเพิ่มและจะต้องเสียภาษี 20% ของกำไร จึงจะสามารถถอนเงินได้ เมื่อผู้เสียหายทำตามที่คนร้ายบอก แต่ก็ยังไม่สามารถถอนเงินออกมาได้ และยังมีการอ้างว่าผู้เสียหายจะต้องเสียค่าธรรมเนียม ค่าประกัน และค่าภาษีเพิ่มซ้ำไปเรื่อยๆ ขณะเดียวกันเมื่อตรวจสอบยังพบว่า แอปพลิเคชันดังกล่าว ไม่ได้รับการอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก..ต.) แต่อย่างใด เบื้องต้นพบว่ามีผู้เสียหายกว่า 50 ราย รวมมูลค่าความเสียหายเป็นเงินจำนวนกว่า 800 ล้านบาท

ภายหลังรับเรื่องร้องทุกข์ เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.3 บก.ปอศ. จึงได้ร่วมกันสืบสวน กระทั่งทราบข้อมูลและกระบวนการหลอกลงทุนดังกล่าว ว่ามีผู้ร่วมขบวนการทั้งคนไทยและชาวต่างชาติจำนวนหลายรายและมีพื้นที่ที่ใช้ในการกระทำความผิดหลายพื้นที่ ทั้งในและต่างประเทศ พบมีนายทุนเป็นชาวต่างชาติ สัญชาติมาเลเซีย เชื้อสายจีนจำนวนหลายราย เบื้องต้นพบยอดเงินหมุนเวียนในกลุ่มคนร้ายกว่า 5,000 ล้านบาท พนักงานสอบสวนจึงได้รวบรวมพยานหลักฐาน พร้อมขอศาลอาญาฯออกหมายจับผู้ต้องหาจำนวน 50 กว่าราย นำไปสู่ปฏิบัติการ "CIB breaks up online scam syndicate สกัดภัยอาซญากรรมออนไลน์ข้ามชาติ"โดยนำหมายค้นศาลอาญาฯ เข้าตรวจคันคอนโดมีเนียมหรู 5 แห่ง ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และสามารถจับกุม ผู้ต้องหาได้จำนวน 2 ราย ได้แก่ MR.UI อายุ 26 ปี สัญชาติมาเลเซีย และ น.ส.ณัฐนิชฯ อายุ 30 ปี ซึ่งเป็นแฟนกัน และทำหน้าที่เป็นผู้จัดหาบุคคลเพื่อจดจัดตั้งนิติบุคคลและเปิดบัญชีม้า ตามคำสั่งของนายทุนซึ่งเป็นชาวต่างชาติ สัญชาติมาเลเซีย เชื้อสายจีน

ทั้งนี้จากการตรวจค้นพบพยานหลักฐาน เป็น คอมพิวเตอร์ 33 เครื่อง, โทรศัพท์มือถือ 65 เครื่อง, สมุดบัญชีธนาคาร 84 เล่ม, บัตรกดเงินสด 13 ใบ, ชิมการ์ด 25 อัน,กระเป๋าแบรนด์เนม 15 ใบ, นาฬิกาแบรนด์เนม 7 เรือน และวัตถุคล้ายทอง 15 ชิ้นและหลักฐานอื่นๆอีกหลายรายการที่ได้หรือใช้ในการกระทำความผิด มูลค่าประมาณ 5 ล้านบาท

นอกจากนี้ยังสามารถจับกุม MR.CHEONG อายุ 42 ปี สัญชาติมาเลเซีย ได้อีก 1 ราย ในพื้นที่ชายแดน ไทย-มาเลเซีย อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา โดยเป็นนายทุนและเป็นผู้มาติดต่อรับบัญชีจากผู้ต้องหาทั้ง 2 รายข้างต้น พร้อมกับตรวจยึดรถหรู ยี่ห้อเมอร์เซเดส-เบนซ์ (Mercedes-benz) ได้จำนวน 1 คัน มูลค่าประมาณ 3 ล้านบาท
จากการตรวจสอบประวัติ MR.LI สัญชาติมาเลเซีย (ผู้ต้องหาที่ 1) พบว่ามีประวัติเคยต้องโทษ ถูกดำเนินคดีที่ประเทศมาเลเซีย ในข้อหาเปิดหรือยินยอมให้ผู้อื่นใช้บัญชีเงินฝากของตน(บัญชีม้า) รับโอนเงินจากการกระทำความผิดมาแล้วกว่า 5 ครั้ง ก่อนจะเข้ามาพักอาศัยในประเทศไทยได้ประมาณ 3 ปี โดยไม่พบประวัติการทำงานในไทยแต่อย่างใด 

ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้นำตัวผู้ต้องหาทั้งหมด และของกลางส่งพนักงานสอบสวน กก.3 บก.ปอศ.เพื่อดำเนินการตามขั้นตอน พร้อมจะทำการสืบสวนขยายผลหาผู้ร่วมกระทำความผิดในขบวนการ มาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

สอบถามคำให้การเบื้องต้น ผู้ต้องหาทั้ง 3 ราย ให้การรับสารภาพบางข้อกล่าวหา โดยรับสารภาพว่าได้รับว่าจ้างจากนายทุนชาวต่างชาติ ให้หาบุคคลเพื่อจดจัดตั้งนิติบุคคลและเปิดบัญชีธนาคารในนามนิติบุคคล เพื่อให้สอดคล้องกับแอปพลิเคชันที่ใช้ในการหลอกลงทุน เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ และหลบเลี่ยงการตรวจสอบการทำธุรกรรมทางการเงินของภาครัฐ ซึ่งเมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วนายทุนชาวต่างชาติจะส่งคนมารับบัญชีที่ประเทศไทย โดยได้รับค่าจ้างในการดำเนินการดังกล่าวเริ่มต้นครั้งละ 100,000 บาท ทำมาแล้ว 2 ปีกว่า ก่อนจะมาถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) จับกุมไว้ดังกล่าว

โดยตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) เตือนภัย ขอฝากถึงพี่น้องประชาชนที่สนใจลงทุนในหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากับบริษัทต่างประเทศ ที่ไม่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ท่านอาจตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพโดยไม่รู้ตัว หากต้องการลงทุนแนะนำให้เลือกลงทุนกับบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตอย่างถูกต้องเท่านั้น เพื่อป้องกันมิให้ถูกหลอกลวงและเกิดความเสียหายจากผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ได้รับอนุญาต และกลุ่มมิจฉาชีพ โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุญาตได้ที่เว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ และหากไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือมีเบาะแสเกี่ยวกับการกระทำความผิดตามกฎหมาย สามารถแจ้งมาได้โดยตรงที่กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (CIB)