นายไพศาล เรืองฤทธิ์ หรือทนายไพศาล นำหลักฐานและหนังสือร้องเรียน ยื่นต่อนายกองตรี ดร. ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (รองนายกรัฐมนตรี นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) ให้ช่วยในการตรวจโครงการวิจัยโครงการพัฒนาหน้ากากป้องกันสารพิษทางทหารเพื่อใช้ป้องกันประเทศ ปี 2560 งบประมาณโครงการ 3.8 ล้าน 

โดยทนายไพศาล เปิดเผยว่า โครงการดังกล่าวเกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลที่แล้ว มีการจัดทำโครงการดังกล่าวเนื่องจากยุคนั้น ประเทศไทยประสบภาวะราคายางพาราตกต่ำจึงมีนโยบายให้นำยางพาราของเกษตรกรไทยมาทำการวิจัยและพัฒนาเป็นยุทธภัณฑ์ทางทหาร ให้ ทำวิจัยและผลิตหน้ากากกันสารพิษจำนวน 50,000 ชิ้นในงบ 150 ล้านบาท และมอบหมายให้ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือ สกอ. (ปัจจุบันเป็น กระทรวง อว.) ตั้งทีมวิจัย โดยมี อ.ชือดัง ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เป็นหัวหน้าวิจัย และมีการใช้งบของ สกอ. จำนวน 3.8 ล้านในการวิจัย จนกระทั่งเล่มวิจัยเสร็จสมบูรณ์ แต่ทางกองทัพบกพบเอกสารใบรับรองคุณสมบัติของหน้ากากปลอมจาก สาธารณรัฐเช็ก ในเล่มวิจัย มีการสวมเลขใบรับรอง จากเลขใบ รับรองเสื้อการรังสีไม่ใช่เลขใบรับรองหน้ากากกันสารพิษ แต่กลับสอดใส้มา จากนั้นกองทัพบกไปแจ้งความที่กองปราบปราม ใช้เวลาสอบสวนเพียง 1 เดือน ก็ส่งสำนวนไปยัง ป.ป.ช.ชี้มูล แต่จนกระทั่งปัจจุบัน ยังไม่มีการชี้มูลความผิดอะไร และแม้ว่าหลังจากที่ กองทัพไปร้องทุกข์ ทาง อ.คนดัง ก็ออกมาปฏิเสธว่า ”ใบรับรองปลอมดังกล่าวเป็นการสอดไส้จากทางกองทัพเองตนไม่รู้เรื่อง

 

ทนายไพศาล ยังตั้งคำถามและข้อสังเกตว่า ตกลงใบรับรองปลอมดังกล่าวมาจากไหนและเหตุใด อาจารย์คนดัง ถึงไม่แจ้งความกลับกองทัพในขณะนั้น และฝากไปยัง ป.ป.ช.ว่า เหตุใดถึงปล่อยระยะเวลาล่วงเลยมาถึงหกปีแต่กลับไม่มีการชี้มูล และต้องการให้ กระทรวง อว. ออกมาชี้แจงถึงโครงการวิจัยดังกล่าวว่ามีการตรวจสอบหรือไม่ เพราะใช้งบประมาณของรัฐ แม้ปัจจุบันโครงการดังกล่าวจะยุติไปแล้ว อีกทั้งต้องการให้กองทัพออกมาเรียกร้องดำเนินการกับผู้ที่เกี่ยวข้อง เพราะหากโครงการดังกล่าวเสร็จสิ้นกองทัพจะมีการจัดซื้อและสูญเสียงบประมาณ 150 ล้านบาท แม้ว่าตอนนี้กองทัพจะยังไม่เสีย 150 ล้านบาทในการจัดซื้อ แต่กองทัพก็เสียเงินจำนวน 50,000 บาทในการทดลองวิจัยโครงการดังกล่าว ก็ถือว่ามีการสูญเสียไปแล้ว 

ด้านนายกองตรี ดร.ธนกฤต บอกว่าตนเองจะรับเรื่องดังกล่าวและส่งต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปตรวจสอบ เพราะถือว่าเป็นจุดเรื่มต้นของความเสียหายต่อรัฐที่อาจจะเกิดขึ้น อีกทั้งตนเองยอมรับได้เห็นเล่มวิจัยตัวตริงดังกล่าวแล้ว มองว่าจะสอดไส้ได้อย่างไรเพราะเล่มวิจัยมีการเข้าเล่มมาสมบูรณ์แล้วจะสอดไส้นั้นเป็นไปได้ยาก และหากหน้ากากกันสารพิษผลิตขึ้นมาจริงก็จะส่งผลไม่ได้คุณภาพและอาจจะทำให้กำลังพลอาจถึงชีวิตได้