.
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA เผยข้อมูลจากดาวเทียมซูโอมิ เอ็นพีพี (Suomi NPP) และจากดาวเทียมอีกหลายดวง เมื่อวันที่ 20 มีนาคม  2567 ไทยพบจุดความร้อนทั้งประเทศเพียง 186 จุด ซึ่งข้อมูลจากดาวเทียมยังระบุอีกว่าจุดความร้อนที่พบส่วนใหญ่เกิดขึ้นในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 81 จุด ตามด้วยพื้นที่เกษตร 36 จุด พื้นที่ป่าอนุรักษ์ 34 จุด พื้นที่เขต สปก. 21 จุด แหล่งชุมชนและอื่นๆ 14 จุด สำหรับจังหวัดที่พบจำนวนจุดความร้อนสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ #แม่ฮ่องสอน 65 จุด #กระบี่ 36 จุด #เชียงใหม่ 23 จุด สาเหตุหลักที่จุดความร้อนลดลงในหลายพื้นที่เพราะผลพวงจากพายุฤดูร้อนที่เข้ามายังประเทศไทยในช่วงนี้
.
 ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านพบจุดความร้อนมากสุดอยู่ที่พม่า 4,075 จุด ตามด้วยกัมพูชา 1,336 จุด เวียดนาม 486 จุด ลาว 392 จุด และไทย 186 จุด
.
 อย่างไรก็ตาม รายละเอียดข้อมูลเฉพาะพื้นที่ท่านสามารถติดตามจากหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบโดยตรง GISTDA ยังคงติดตามและรายงานสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นข้อมูลให้กับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำไปใช้บริหารจัดการในพื้นที่
.
 ท่านสามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://fire.gistda.or.th
 และควรติดตามสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ผ่านแอปพลิเคชัน "#เช็คฝุ่น"
#GISTDA #อว #คุณภาพชีวิต #วิเคราะห์ข้อมูล #มลพิษทางอากาศ #ดาวเทียม #ข้อมูลดาวเทียม #คุณภาพอากาศ #ค่าฝุ่นละออง #ฝุ่นพิษวิกฤติชาติ #รู้สู้ภัยพิบัติ #ไฟป่าหมอกควัน2567 #ไฟ #การประยุกต์ใช้ #พื้นที่เผาไหม้ #แม่ฮ่องสอน #เชียงใหม่ #ตาก