บก.ปคบ.ร่วมกับ กรมวิชาการเกษตร บุกตรวจค้นโกดังสถานที่ครอบครองวัตถุอันตราย ชนิดที่ 4 (สารคลอร์ไพริฟอส) ซึ่งเป็นวัตถุอันตรายที่ห้ามมิให้มีการผลิต การนําเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครอง โดยผิดกฎหมาย ตรวจยึด อายัด และวัตถุอันตรายชนิดที่3 ที่ต้องขึ้นทะเบียนแต่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน มูลค่ากว่า 1.5 ล้านบาท
 

วานนี้(วันที่ 25 มีนาคม 2567) กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก. พล.ต.ต.วิทยา  ศรีประเสริฐภาพ ผบก.ปคบ.,พ.ต.อ.สำเริง อำพรรทอง รอง ผบก.ปคบ.,พ.ต.อ.ณัฐวัฒน์ เกศะรักษ์ รอง ผบก.ปคบ.,พ.ต.อ.ภาคภูมิ  ศรีลาภะมาศ รอง ผบก.ปคบ.,พ.ต.อ.อนุวัฒน์ รักษ์เจริญ รอง ผบก.ปคบ.,พ.ต.อ.ชัฏฐ นากแก้ว รอง ผบก.ปคบ.,พ.ต.อ.ปัญญา  กล้าประเสริฐ รอง ผบก.ปคบ.,พ.ต.อ.ชวินโรจน์ ภีมรัชตธำรงค์ผกก.2 บก.ปคบ.,พ.ต.ท.อุดมศักดิ์ สุวรรณแสง รอง ผกก.2 บก.ปคบ.,พ.ต.ท.ธีรภพ พันธุชาติ รอง ผกก.๒ บก.ปคบ. เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดปฏิบัติการที่ 2 กก.2บก.ปคบ. นำโดย ปฏิบัติ พ.ต.ท.จำรูญ คำมา สว.กก.2   บก.ปคบ.,ร.ต.อ.มนูญ แทงทอง รอง.สว.กก.2 บก.ปคบ พร้อม เจ้าหน้าที่ชุดปฎิบัติการที่ 2 ร่วมกับเจ้าหน้าที่สารวัตรเกษตร กรมวิชาการเกษตร

พฤติการณ์แห่งคดี  สืบเนื่องจาก ด้วย กองกำกับการ 2 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ได้รับหนังสือสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 4 อุบลราชธานี ที่ กษ 0920/1061 ลง 20 มีนาคม 2567 เรื่อง ขอความอนุเคราะห์เจ้าพนักงานตำรวจสืบสวนและร่วมตรวจค้น สถานประกอบการที่ต้องสงสัยว่ามีฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 รายละเอียดที่แจ้งแล้วนั้น


เจ้าพนักงานชุดดังกล่าวได้สืบสวนทราบว่า สถานที่ลักลอบเก็บวัตถุอันตรายแห่งหนึ่งเขตพื้นที่ ต.คลองม่วง อ.ปากช่อง  จ.นครราชสีมา มีการลักลอบเก็บปัจจัยผลิตทางการเกษตร และวัตถุอันตรายทางการเกษตรที่ผิดกฎหมายไว้เป็นจำนวนมาก

ต่อมาวันนี้ (25 มี.ค.67) เจ้าพนักงานชุดดังกล่าวได้ร่วมกันเดินทางมาตรวจสอบที่ดังกล่าวโดยมี นายสุวิท (ขอสงวนนามสกุ)  แสดงตนเป็นผู้ดูแล/นำตรวจสอบสอบ ผลการตรวจค้นพบผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัยเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 (สารคลอร์ไพริฟอส)จำนวน 4 รายการ (สารพาราควอต) จำนวน 1 รายการ และผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัยเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 (สารเมโทมิล) จำนวน 1รายการ (มูลค่าของกลาง 1,510,000 บาท) เนื่องจากสิ่งของที่ตรวจพบต้องสงสัยว่ามีไว้เป็นความผิด ตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 จึงได้ตรวจยึด นำของกลางส่งพนักงานสอบสวน กก.2 บก.ปคบ. เพื่อจะได้ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป


ซึ่งจากการกระทำดังกล่าว เป็นความผิด ดังนี้
1.มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ ๔ โดยผิดกฎหมาย ตาม มาตรา 43,74 (ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
2.มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 โดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม มาตรา 23,73 (ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
3.มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ที่ต้องขึ้นทะเบียนแต่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ ตาม มาตรา 23,73(ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
เจ้าพนักงานตำรวจชุดดังกล่าวจะได้ร้องทุกข์กล่าวโทษ ต่อ พงส.กก.2 บก.ปคบ. เพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดที่สอบสวนถึงตามกฎหมายต่อไป
 
เตือนภัย ก่อนเลือกซื้อสินค้าที่เป็นวัตถุอันตรายทางการเกษตร ให้เกษตรกรตรวจเลือกซื้อสินค้าที่ผ่านการขึ้นทะเบียน จากกรมวิชาการเกษตร โดยให้ดูทะเบียนวัตถุอันตราย ที่ฉลากแสดงไว้ที่ผลิตภัณฑ์ ฉลาก เอกสาร คำแนะนำ ในการใช้ที่ถูกต้อง หากเกษตรกรผู้บริโภคนำวัตถุอันตรายไปใช้ในอัตราที่เหมาะสม ทำให้สิ้นเปลือง วัตถุอันตรายที่ไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องมาใช้อาจก่อให้เกิดผลเสียหาย หรือนำมาใช้ไม่ถูกวิธีอาจทำให้เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม พืช สัตว์ หรือแม้กระทั่งต่อผู้ใช้เอง อาจทำให้เกิดการตกค้างของสารพิษในสิ่งแวดล้อมได้ ทำให้ผู้บริโภคได้รับผลิตภัณฑ์สินค้าที่ไม่ได้คุณภาพเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค และวัตถุอันตราย ชนิดที่ ๔ ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้ประกาศ ห้ามผลิต นำเข้าและมีไว้ในครอบครอง  ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสิบปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ