พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า...▪️อ.สุลักษณ์ กับ รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ 2475▪️ 

ถ้าจะไม่พูดถึงภาพยนต์แอมิเนชัน 2475 

“รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ“ แล้ว คงเชยเต็มทน โดยเฉพาะคนไทย  

ผมเองดูถึง 2 รอบ จึงมีความคิดว่า “ผู้สร้างภาพยนต์เรื่องนี้ตั้งใจจะวางสารัตถะของเรื่อง ในการสื่อสารเรื่องราวออกมาสู่ประชาชนให้เป็นกลาง อย่างเต็มที่” เพราะถ้าจะตั้งใจทำภาพยนต์โจมตีคณะราษฎรจริงๆ แล้ว ไม่น่าตกหล่นข้อมูลในทางลบที่ควรนำออกมาเสนอ ซึ่งยังมีอยู่อีกมากมาย ดังนั้นผมจึงขอรับประกันได้ว่าภาพยนต์เรื่องนี้ มีเนื้อหาสระ

“ดีที่สุด และเหมาะสม ทั้งสำหรับคณะผู้ก่อการ 2475 และประชาชนในยุคนี้” แล้วครับ 

▪️ ใครที่แสดงตนออกมาว่า เดือดร้อนจากภาพยนต์เรื่องนี้ คงจะได้รับความรู้ทางประวัติศาสตร์ผิดพลาดมา หรือแกล้งผิดพลาดก็มี เช่น 
กรณีของ อ.สุลักษณ์ ที่ออกมาพูดว่า
 
(1) รัฐธรรมนูญที่ ในหลวง ร.7 จะพระราชทานนั้น พระมหากษัตริย์ ยังทรงมีอำนาจอยู่ ซึ่งก็เป็นความจริงเพียงบางส่วน  เพราะในช่วงนั้น ฝ่ายที่ต้องการเรียกร้องให้สยามมีรัฐธรรมนูญ ก็เนื่องมาจากส่วนใหญ่เห็นว่า ญี่ปุ่นก้าวหน้าเพราะมีรัฐธรรมนูญ จึงอยากมีรัฐธรรมนูญบ้าง โดยไม่รู้ว่ารัฐธรรมนูญญี่ปุ่นในตอนนั้น มีการปรับเปลี่ยนมาแล้วถึง 2 ครั้ง เพื่อแก้ไขปัญหาที่ประชาชนที่ยังไม่เข้าใจ “ประชาธิปไตย” ให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ซึ่งญี่ปุ่นก็เลียนแบบมาจากรัฐธรรมนูญฉบับแรกของหลายประเทศในยุโรป ที่เขียนไว้แบบนี้เพื่อให้ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเสียก่อน ดังนั้น องค์พระจักรพรรดิ์ก็ยังทรงมีพระราชอำนาจอยู่อย่างเต็มที่ทั้ง 2 ฉบับ แนวคิดนี้จึงอยู่ในรัฐธรรมนูณฉบับของในหลวง ร.7 เหมือนกัน ซึ่งก็มีครบมีทั้ง นายกรัฐมนตรี ครม. รัฐสภา และ ส.ส.ไม่ใช่มีแต่กษัตริย์ตามที่ อ.สุลักษณ์ออกมาพูดไว้ 
ถ้าคิดกันอย่างเป็นธรรมแล้ว รัฐธรรมนูญของในหลวง ร.7 น่าจะดีกว่ารัฐธรรมนูญของคณะราษฎรที่ใช้ประธานคณะราษฏร แทน นายกรัฐมนตรี และมี คณะกรรมการคณะราษฏร แทน คณะรัฐมนตรี 

ต่อมา เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2  จึงมีการแก้ครั้งที่ 3 ให้พระจักรพรรดิ์ลงมาอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ  ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าญี่ปุ่นเจริญมาได้เพราะส่งคนไปเรียนที่ประเทศทางตะวันตก แล้วกลับมาพัฒนาประเทศ ของตัวเอง ไม่ใช่เจริญมาเพราะมีรัฐธรรมนูญ หรือเพราะมี”นายกรัฐมนตรี”บริหารประเทศ ตามที่คนบางส่วนในสยามยุคนั้นเชื่อ 
แต่อย่างใด 

กรณีนี้ ทำให้มีนักวิชาการหลายคนกล่าวว่า “ญี่ปุ่น กับสยามเจริญก้าวหน้ามาใกล้เคียงกัน แข่งกันส่งคนไปศึกษาในประเทศตะวันตก ในจำนวนใกล้เคียงกัน แต่เมื่อจบการศึกษาแล้ว “นักศึกษาของญี่ปุ่น กลับมาช่วยพัฒนาประเทศ แต่นักศึกษาทุนหลวงของไทย กลับมาปฏิวัติ “ 
ผู้ที่ส่งตัวเองไปเรียน 


เรื่องที่ 2  อ.สุลักษณ์ ระบุว่าจอมพล ป.ได้นิรโทษกรรมให้ พระองค์เจ้าบวรเดช ก็ไม่ถูกต้องอีก เพราะพระองค์ได้รับการนิรโทษกรรมมาตั้งแต่สมัยนายควง เป็น นายกฯ เมื่อปี 2488 ก่อนที่จอมพล ป. จะกลับมาเป็นนายกฯ ครั้งที่ 2 ถึง 3 ปี ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับจอมพล ป.นั้น ในตอนที่พระองค์เสด็จกลับไทย(2492) จอมพล ป.ได้ถวายพระเกียรติ โดยมอบให้ พลโท  กาจ กาจสงคราม รอง ผบ.ทบ และ ร.อ.พระองค์เจ้าเฉลิมทิฆัมพร ไปรับเสด็จถึงชายแดน