พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ อดีต รอง ผบช.น. เข้ารับฟังการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการออกประกาศใช้กฎกระทรวงกำหนดปริมาณยาบ้า 5 เม็ด

เมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา ที่ห้องประชุม 901 ชั้น 9 สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ อดีต รอง ผบช.น. พร้อมด้วย รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงษ์ พูตระกูล ตัวแทน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้ารับฟังการประชุมเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการประกาศใช้กฎกระทรวงกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ที่ให้สันนิษฐานว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ พ.ศ. 2567 


พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ อดีต รอง ผบช.น. ระบุว่า วันนี้ทางผู้ตรวจการแผ่นดินได้เชิญมาให้ข้อมูลในเรื่องเกี่ยวกับประกาศกฎกระทรวงเกี่ยวกับยาเสพติดซึ่งตนเองได้มีการร้องเรียนการออกประกาศดังกล่าวว่าขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือไม่ นอกจากไม่สร้างให้เกิดผลดีแล้วในทางกลับกันอาจจะสร้างผลร้าย กับประชาชน มากขึ้น ส่วนตัวมองว่าไม่ได้ทำตามหลักวิชาการ เป็นการเร่งรีบที่จะออกประกาศครั้งนี้ส่วนตัวเชื่อว่าการออกอากาศครั้งนี้น่าจะมีเบื้องหน้าเบื้องหลังเพราะพฤติการณ์การแสดงความคิดเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจจะมีปัญหาในภายหลัง 

อย่างกรณีเมื่อเช้า มีเหตุการณ์คลั่งยาบ้าแล้วฆ่าแม่หิ้วหัวประจานนั่นเกิดจากพิษภัยของยาบ้า นี่แสดงให้เห็นว่ารัฐไม่ได้มีการควบคุมหรือออกนโยบายทำให้ผู้เสพนั้นหายไปจริง แต่ กลับเอาตัวยานั้นมาเป็นข้อสันนิษฐานว่าเป็นผู้เสพแล้วสร้างความลำบากให้กับการปฎิบัติหน้าที่ของเจ้าที่มากมายและที่สำคัญที่สุดเป็นนโยบายที่ทำให้เจ้าหน้าที่ทุจริตต่อหน้าที่มากขึ้น

จากเดิมสารยาเสพติดนั้นไม่อยู่ในประกาศแต่อยู่ดีๆนำมาอยู่ในประกาศ ยกตัวอย่างยาเสียสาวมีไว้ไม่เกิน 10 เม็ดถือว่าเป็นผู้เสพ ถามว่ายาเสียสาวคนที่จะถือไว้คือผู้ชาย เพื่อจะใส่ให้ผู้หญิงกินเพื่อล่วงละเมิดทางเพศ มีมั้ยว่าผู้หญิงจะใช้ยาเสียสาวเพื่อตัวเอง ต้องถามว่าอันนี้มามาประกาศใช้ได้อย่างไร 

ด้านพันตำรวจโท กีรป กฤตธีรานนท์ เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวว่า วันนี้ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องกับการออกกฏกระทรวงสาธารณสุข ในเรื่องของการที่มีปริมาณยาเสพติด ที่ถือว่าเป็นการครอบครองเพื่อเสพ ประกอบไปด้วยผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย พม. ป.ป.ส. และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อัยการสูงสุด ซึ่งวันนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะทบทวน เนื่องจากมีผู้เข้ามาร้องเรียน กับผู้ตรวจการแผ่นดินกรณีกฎกระทรวงนี้อาจจะขัดต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งอาจจะเป็นปัญหาในการปฏิบัติงาน ของเจ้าหน้าที่จนก่อให้เกิดความเดือดร้อน ต่อสังคมและประชาชนโดยรวม

ซึ่งนี้จะเป็นการรับฟังข้อมูลในการที่จะเสนอต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อมีคำวินิจฉัย ซึ่งจะมีมีอยู่ 2 กรณี หากขัดต่อกฎหมายก็จะมีการนำส่งศาลปกครอง และหากเป็นเรื่องที่กฎระเบียบนี้ยังไม่เหมาะสมยังมีข้อบกพร่องก็จะเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำการทบทวนต่อไป ส่วนกรอบระยะเวลาเมื่อเราได้รับเรื่องแล้วเราต้องรีบดำเนินการหากจะส่งเรื่องไปยังศาล ก็ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จไม่เกิน 90 วันนับแต่ผู้ตรวจการแผ่นดินได้รับเรื่อง