“ชาวเขาเผ่าม้งทุกคนเรียก ในหลวง รัชกาลที่ 9 ว่า “พ่อในหลวง” เพราะมีความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณไม่มีวันลืมกับสิ่งที่พ่อในหลวงทรงสร้างไว้ให้” เป็นเวลากว่า 50 วันนับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จสวรรคต ยังคงความเสียใจให้กับประชาชนชาวไทยอย่างใหญ่ยิ่ง แต่เหนือสิ่งอื่นใด พระองค์ท่านได้ทิ้งสิ่งของที่ล้ำค่าไว้ให้พวกเราอย่างมากมาย อาทิ คำสอน และสิ่งที่พระองค์ทรงทำไว้ให้เป็นแบบอย่าง พระเมตตาของพระองค์ยังแผ่ไพศาลไปยังชาวเขาเผ่าเล็กๆในทุกพื้นที่ อย่างชาวเขาเผ่าม้งและเผ่าลั๊วะ ในจ.น่านก็เช่นกัน และตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2501 ถึงวันที่ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2525 ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเสด็จพระราชดำเนิน จ.น่านถึง 22 ครั้ง โดยเสด็จพระราชดำเนินมาเยี่ยมทหารที่ รพ.น่าน และ ทรงเสด็จมาที่ หมู่บ้านถ้ำเวียงแก อ. สองแคว ถึง 4 ครั้ง ทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ @ ยามภัยคอมมิวนิสค์แทรกซึมไทย แม้กระทั่งในสถานการณ์ในพื้นที่เวลานั้นมีผู้ก่อการคอมมิวนิสต์ เริ่มเข้ามาเคลื่อนไหวตามแนวชายแดน ไทย – ลาว ตั้งแต่ปี 2508 ได้แผ่ขยายอิทธิพลเข้าครอบคลุมหลายอำเภอในจ.น่าน ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินไปยัง จ.น่าน เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้แก่ทหาร ตำรวจ และอาสาสมัครที่ทำการสู้รับกับกลุ่มผู้ก่อการคอมมิวนิสต์ พิธีอัวเน้ง ที่พระสหายเลายี เคยเเสดงให้ ในหลวงร.9ชม ทั้งนี้เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ได้ประกาศตั้งกองบัญชาการสูงสุดของกองทัพปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทย (ทปท.) สถานการณ์ในพื้นที่ขยายตัวจากการก่อการร้ายเป็นสถานการณ์สงครามมระหว่าง ทปท. และพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยกับกองกำลังของรัฐบาล โดยเรียกว่า สงครามประชาชน หรือสงครามปฏิวัติ จนในปี 2519 พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยได้ขยายการนำสูงสุดมาอยู่ที่ภูพยัคฆ์ จ.น่าน โดยใช้ชื่อว่า สำนัก 708 จากนั้นเมื่อปี 2523 มีการก่อตั้งฐานพัฒนาอาชีพชื่อว่า ฐานแสงเพ็ญ โดยหวังใช้ฐานนี้เป็นที่ตั้งของทหารเพื่อใช้ป้องกันการแทรกซึมของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์แถบตะวันออกของจ.น่าน ครอบครัวของพระสหายเลายี สมศักดิ์ แซ่เท้า (ขวาสุด) ชาวเขาเผ่าม้ง โดยมีการพัฒนา ส่งเสริมอาชีพให้แก่ประชาชน ให้รู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นประโยชน์ เป็นการใช้การเมืองมาสนับสนุนงาน ทหาร จนประสบความสำเร็จ ซึ่งขณะนั้นประจวบเหมาะกับที่ทางรัฐบาลดำเนินการปราบปรามยุติสถานการณ์สงครามปฏิวัติตามนโยบาย 66/23 หลังจากนั้นในปี 2532 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมชาวเขาเผ่าลั๊วะในบริเวณพื้นที่ภูพยัคฆ์เพื่อส่งเสริมอาชีพให้แก่ราษฏรในพื้นที่ โดยการให้ปลูกพืชที่เป็นที่ต้องการของท้องตลาด คือกาแฟพันธุ์อาราบิก้า ที่เติบโตได้ดีในสภาพอากาศที่ค่อนข้างเย็น @ “ชาวลั๊วะ” หันปลูกกาแฟแทนฝิ่น “สันต์ วีรพรคุณวุฒิ” ชาวเขาเผ่าลั๊วะ เล่าว่า ก่อนหน้าที่ในหลวง รัชกาลที่ 9 จะเสด็จมา ชาวลั๊วะเคยทำไร่เลื่อนลอย ปลูกพืชไม่เรื่อยไม่มีที่เจาะจง ทำให้พื้นที่ป่าไม้เสียหายเป็นจำนวนมาก สาเหตุมาจากชาวลั๊วะไม่มีความรู้ในเรื่องเกษตรกรรม และ ในช่วงสถานการณ์คอมมิวนิสต์ ครอบครัวของตนและชาวบ้านคนอื่นๆในหมู่บ้าน เข้าร่วมขบวนการด้วยเช่นกัน เพราะในขณะนั้น ชาวบ้านยังไม่มีความรู้ มีคนชักนำไปทางไหนก็ตามไปแต่หลังจากที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จมาและพระราชทานต้นกาแฟให้เพราะกาแฟ มีอายุ ยืนประมาณต้นละ 40-50 ปี และสามารถเก็บผลผลิตได้นาน หลังจากนั้นชีวิตความเป็นอยู่ของชาวลั๊วะก็ดีขึ้นเรื่อยๆ เริ่มหันมาปลูกกาแฟกันมากขึ้น จนเลิกทำไร่เลื่อนลอยไป เพราะมีการส่งเสริมการปลูกพืชผลการเกษตร เช่น ผัก ข้าว ปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นๆ เช่น มอนเบอร์รี่, ถั่วศุภโชค เป็นต้น  ต้นลิ้นจี่ที่ในหลวงทรงปลูกให้ กาแฟจะออกผลผลิตในช่วงเดือนส.ค.-ธ.ค. สร้างรายได้ปีละ 20,000 - 30,000 บาท ซึ่งทางโครงการหลวงจะรับซื้อไว้ทั้งหมด ตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมา ขายมาตั้งแต่กี่โลละ 9 บาท จนตอนนี้ขายได้กิโลละ 15 บาท ซึ่งถือเป็นความต้องการอย่างมากของตลาด นอกจากนี้มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง และโครงการปิดทองหลังพระยังได้มีการสอนปลูก สอนการดูแล ซึ่งเมื่อผลผลิตเหลือจากที่ส่งไปโครงการหลวง ก็จะส่งไปให้ผู้ผลิตกาแฟในแบรนด์ต่างๆ เช่นกาแฟภูพยัคฆ์ เป็นต้น ส่วนเปลือกกาแฟ เรายังนำมาทำปุ๋ยอินทรีย์เพื่อนำกลับไปใช้กับต้นกาแฟได้อีก @ “เลายี” พระสหายคนสำคัญ นอกจากพระมหากรุณาธิคุนกับชาวเขาเผ่าลั๊วะแล้วในหลวงรัชกาลที่ 9 ยังมีพระมหากรุณาธิคุณ กับชาวเขาเผ่าม้งในการดำเนินโครงการทดลองพืชสวนบนพื้นที่สูงตามโครงการหลวง ซึ่งพระองค์ทรงมีพระสหายเป็น ชาวม้ง ชื่อ "เลายี แซ่ท้าว" ซึ่งเป็นกลุ่มพัฒนาชาวเขา โดยในปี 2507 เลายีไปรับการอบรมที่ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ได้เข้าเฝ้าในหลวง ครั้งแรก ในครั้งนั้น ในหลวงทรงมีรับสั่ง ให้ เลายี มีการแสดงแต่เลายี ไม่รู้จะแสดงอะไร จึงนำเอาประเพณี ของชาวม้ง ที่เรียกว่า "อัวเน้ง" หรือพิธีทำผี ปัดรังควาน เพื่อให้โชคดี หายป่วย มาแสดง กาแฟสด ตากแห้ง ชาวเขาเผ่าม้งทุกคนเรียก ในหลวง รัชกาลที่ 9 ว่า “พ่อในหลวง” เพราะมีความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณไม่มีวันลืมกับสิ่งที่พ่อในหลวงทรงสร้างไว้ให้ ซึ่งหลังจากที่ในหลวงเสด็จมาเยือนหมู่บ้านครั้งแรก ในปี 2514 และต่อมาในปี 2516 ได้เสด็จพระราชดำเนิน บ้านถ้ำเวียงแก อีกครั้ง ในครั้งนี้พ่อในหลวงได้ เข้าไปคล้องแขน เลายี อย่างไม่ถือพระองค์ว่าเลายีเป็นชาวเขา เสด็จพระราชดำเนินเข้าไปประทับในบ้านของ เลายี ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านถ้ำเวียงแกและหัวหน้าศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาบ้านถ้ำเวียงแกในขณะนั้น สันต์  ชาวเขาเผ่าลั๊วะ ในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระดำริกับ เลายี และคณะ เพื่อดำเนินโครงการทดลองพืชสวนบนพื้นที่สูงตามโครงการหลวง และในปี เดียวกันทรงให้จัดชุดเฝ้าตรวจชายแดน (ชฝชต.)ของตำรวจตระเวนชายแดน ชายแดนกองร้อย 402 จำนวน 30 คน โดยมีพระราชดำรัสแก่ ชฝชต. ว่า “เราแต่งตั้งมาแล้วให้ช่วยดูแลเป็นแข้ง เป็นขา เป็นหูเป็นตา ดูแลแผ่นดินแทนเราด้วยนะ เพราะว่าเราเป็นคนไทยด้วยกัน ช่วยป้องกันประเทศ ให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข” “สมศักดิ์ แซ่เท้า” หลานชายของปู่เลายี เล่าว่า พ่อในหลวงมีพระมหากรุณธิคุณกับชาวม้งเป็นอย่างมาก โดยเสด็จมาที่หมู่บ้านถ้ำเวียงแกและทรงแนะนำให้ปลูกกาแฟ ทำสวนลิ้นจี่ และลำไย แทนการปลูกฝิ่น เพราะเป็นยาเสพติด โดยพ่อในหลวงได้พระราชทานลิ้นจี่ พันธุ์ฮงฮวย ไว้ให้ชาวม้งได้ปลูกทดแทน โดยทรงให้ทำฝายเลี้ยงปลา รวมถึงการทำนาขั้นบันได ซึ่งตอนนี้ต้นลิ้นจี่พันธุ์พระราชทานที่พ่อในหลวงทรงปลูก ยังคงอยู่ในสวนหลังบ้าน “เมื่อตอนที่ปู่เลายีประสบอุบัติเหตุรถยนต์พลิกคว่ำ พ่อในหลวง ก็เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยม และตรัสว่า จะมาเป็นครั้งสุดท้าย ตอนนั้นรู้สึกเสียใจ แต่ก็เข้าใจว่าพ่อในหลวงมีภาระมากมายที่ต้องดูแล ผมมีความภูมิใจที่ได้เจอพ่อในหลวง ดีใจมากที่สุด ไม่มีอะไรที่สามารถเอามาแลกเปลี่ยนกับความรู้สึกได้” แต่หลังจากที่ได้ข่าวว่าพ่อในหลวงเสด็จสวรรคต อยากไปหาพ่อในหลวง แต่ไปไม่ได้ ไม่อยากพูดถึงพ่อในหลวง พูดแล้วน้ำตาตก ผมดีใจมากที่ได้มีโอกาสจับมือพ่อในหลวง ตอนนี้ผมก็อยากไปหาพ่อในหลวงเพราะรักพ่อในหลวงมากๆ ผมเคยทำหน้าที่อารักขาพ่อในหลวงตอนที่พ่อในหลวงเสด็จมาที่นี้ ถือเป็นความภูมิใจมากที่สุด” ทั้งนี้ผลผลิตทางการเกษตร ทั้งกาแฟ และลิ้นจี่ ล้วนเป็นผลผลิตที่โครงการหลวงรับซื้อไว้เองทั้งหมดโดยจะมีการสั่งออเดอร์ ว่าต้องการเท่าไหร่ มีการขายอย่างผูกขาด ส่วนที่เหลือจากโครงการหลวงก็นำไปขายในตลาด ซึ่งเป็นส่วนที่สร้างรายได้ให้แก่ชาวเขาเป็นอย่างมาก กองเปลือกกาแฟ และด้วยพระมหากรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ 9 แม้แต่ผู้ก่อการคอมมิวนิสต์ในสมัยนั้นไม่กล้าที่จะแตะต้อง ซึ่ง “น้อม พงษ์ประเสริฐ” หรือ “สหายน้อม” อดีตแนวร่วมก่อการคอมมิวนิสต์ เล่าว่า ศูนย์กลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เป็นส่วนนำผู้ก่อการคอมมิวนิสต์ เพื่อล้มล้างการปกครองที่เผด็จการของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น แต่ผู้ก่อการคอมมิวนิสต์ต้องการการปกครองที่เป็นประชาธิปไตย จึงเกิดการก่อตั้งแนวร่วมขึ้น แต่การล้มล้างของคอมมิวนิสต์เป็นแต่การล้มล้างการปกครองไม่ใช่การล้มล้างสถาบัน และสิ่งที่เรายึดถือคือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ห้ามแตะต้อง แม้ว่าในหลวงรัชกาลที่ 9 จะจากพวกเราชาวไทยไปแล้วแต่สิ่งที่พระองค์ทรงทำและทรงสร้างไว้เป็นสิ่งที่ก่อประโยชน์แก่ชาวไทยทั้งปวง นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดไม่ได้ เรื่อง|ภาพ : ชยณัฎฐ์ มีเงิน