เมื่อวันที่ 15-17 ธ.ค.ที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)ในฐานะหน่วยงานกลางในการประสานการดำเนินงานสนองพระราชดำริ ทำหน้าที่ติดตามเผยแพร่และขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน ได้จัดกิจกรรมสื่อมวลชนสัญจรในโครงการ "สื่ออาสา สืบสานพระราชดำริ" ขึ้นในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด ,โครงการก่อสร้างอุโมงค์ผันน้ำแม่งัด-แม่กวง บริเวณเขื่อนแม่กวงอุดมธาราอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และ โครงการเกษตรวิชญาตามพระราชดำริสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งการเยี่ยมชมศึกษาตามโครงการอันเนืองมาจากพระราชดำริในครั้งนี้ก็เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สื่อมวลชน และประชาชนทั่วไป ได้มีโอกาสรับรู้ และมีความเข้าใจ ในการดำเนินงานในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อีกทั้งสนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมในการ ดำเนินงานให้บังเกิดผลสำเร็จต่อไปในอนาคตยิ่งขึ้นและสื่อมวลชนได้ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการเผยแพร่พระมหากรุณาธิคุณและถ่ายทอดผลสำเร็จจากแนวพระราชดำริในการพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ สู่ประชาชนและสังคมโดยรวมเน้นย้ำให้ได้ตระหนักถึงพระมหากรุณาธิคุณ และสามารถน้อมนำแนวพระราชดำริไปปฏิบัติใช้ได้อย่างถูกต้องและชัดเจนยิ่งขึ้น โดยในวันที่ 15 ธันวาคม 2559 สำนักงาน กปร.และคณะสื่อมวลชนได้เดินทางไปที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่อง ไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดงานฯ ในครั้งนี้ ซึ่งภายในศูนย์ศึกษาห้วยฮ่องไคร้ฯ ได้จัดนิทรรศการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช "ล้นเกล้าชาวไทย สถิตในดวงใจนิรันดร์”และกิจกรรมครบรอบ 34 ปี ก่อตั้ง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ กิจกรรมจัดขึ้นเมื่อวันที่ 11-17 ธ.ค.ที่ผ่านมา ภายในศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ มีการจัดแสดง “สวนหกศูนย์” ซึ่งเป็นการจำลองศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริทั้ง 6 ศูนย์ทั่วประเทศ พร้อมการนำผลงานเด่นในโครงการขยายผล ผลสำเร็จจากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริสู่การปฏิบัติใช้ของราษฎรในแต่ละพื้นที่มาจัดแสดงและมีการประกวดข้าวขาวดอกมะลิ 105 ข้าวสันป่าตอง กล้วยน้ำหว้า เห็ดหอม เห็ดฟางในตะกร้า ผักสวนครัวในภาชนะ สวนถาด และกิจกรรมการฝึกอาชีพด้านเกษตรปศุสัตว์ และการจัดแสดงสินค้าชุมชนที่เกษตรกรในโครงการฯ นำมาจำหน่ายอีกมากมาย หลังจากได้เยี่ยมชมกิจกรรมต่างๆ ภายในศูนย์ศึกษาห้วยฮ่องไคร้ฯ นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี ได้มอบพันธุ์ไม้พร้อมป้ายชื่อต้นไม้และสมุดบันทึกการปลูกป่าในใจคนจำนวน 84 ต้น วันที่ 16 ธันวาคม 2559 คณะสื่อมวลชนได้ติดตาม นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี องคมนตรีเข้าเยี่ยมชมโครงการก่อสร้างอุโมงค์ผันน้ำแม่งัด-แม่กวง บริเวณเขื่อนแม่กวงอุดมธาราอันเนืองมาจากพระราชดำริ ซึ่งเป็นโครงการที่เป็นผลมาจากพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และ จังหวัดลำพูน มีความต้องการใช้น้ำสูงกว่าปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธาราฯ ราษฎรจึงได้ร้องขอให้แก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอย่างเร่งด่วน จึงได้เกิดโครงการก่อสร้างอุโมงค์ผันน้ำระหว่างเขื่อนขึ้นมา โดยมีการดำเนินการก่อสร้างอุโมงค์ส่งน้ำ 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 แม่แตง–เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชลอันเนืองมาจากพระราชดำริ ขนาดความกว้าง 4.0 เมตร ยาว 25.624 กิโลเมตร ปริมาณน้ำผ่านอุโมงค์สูงสุด 28.50 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และ ช่วงที่ 2 เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล – เขื่อนแม่กวงอุดมธารา ขนาดความกว้าง 4.2 เมตร ยาว 22.975 กิโลเมตร ปริมาณน้ำผ่านอุโมงค์สูงสุด 26.50 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยใช้เครื่องเจาะอุโมงค์ ความยาว 10.476 กิโลเมตร ใช้พื้นที่ใต้ดินของอุทยานแห่งชาติศรีลานนา ทั้งหมด 41 ไร่โดยจะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2564 เขื่อนแม่กวงอุดมธารา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพลอุลยเดช ได้พระราชทานนามและได้พระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินการโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำเพื่อช่วยเหลือราษฎรให้มีน้ำอุปโภคบริโภคและการเกษตร ตั้งแต่เมื่อวันที่. 4 มีนาคม 2519 การนี้กรมชลประทานได้สนองพระมหากรุณาธิคุณดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2536 มีความจุ 263 ล้านลูกบาศก์เมตร ปัจจุบันความต้องการใช้น้ำมีปริมาณเพิ่มขึ้น ดังนั้นเพื่อเป็นการช่วยเหลือราษฎรและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำในโครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริกรมชลประทานจึงได้พิจารณานำแนวทางโครงการเครือข่ายอ่างเก็บน้ำ(อ่างพวง) ซึ่งเป็นศาสตร์พระราชาด้านการจัดการน้ำ ตามแนวพระราชดำริโดยการผันน้ำจากเขื่อนแม่งัดสมบูร์ชลอันเนื่องมาจากพระราชดำริมายังเขื่อนแม่กวงอุดมธาราฯ นับเป็นการใช้เครื่องมือในการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำแม่แตง-แม่งัด -แม่กวง ร่วมกัน ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สำหรับเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล พระบาทสมเด็จพระปรมินทรามหาภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานนามและพระราชทานพระราชดำริให้ก่อสร้างขึ้นเพื่อนำน้ำจากลุ่มน้ำแม่แตงผันมาลงเขื่อนแม่กวงอุดมธารา. โดยกรมชลประทานได้สนองพระราชดำริและดำเนินการสร้างเสร็จในปี 2527 มีปริมาณความจุ. 265 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถส่งน้ำในฤดูฝน ปีละ 175,000 ไร่ และเพิ่มพื้นที่การในฤดูแล้งจากเดิม 17,060 ไร่ เป็น 76,129 ไร่. อีกทั้งมีปริมาณเพียงพอสำหรับผันน้ำไปยังเขื่อนแม่กวงอุดมธาราฯเพื่อให้มีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการปริมาณความต้องการของราษฎรนับเป็นการสรองพระราชดำริเพื่อสร้างประโยชน์ต่อส่วนร่วมให้มีประสิทธิภาพสูงสุดสมดังพระราชปณิธานในพระพระบาทสมเด็จพระปรมินทรามหาภูมิพลอดุลยเดชอย่างสมบูรณ์ จากนั้นในวันที่ 17 ธันวาคม 2559 คณะได้เข้าเยี่ยมชมการดำเนินงานและความสำเร็จในโครงการเกษตรวิชญาตามพระราชดำริ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ที่ทรงมอบที่ดินส่วนพระองค์ในพื้นที่บ้าน กองแหะ หมู่ 4 ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่จำนวน 1,350 ไร่ ให้กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อดำเนินการในลักษณะคลินิกเกษตร เพื่อใช้ในการเผยแพร่ผลงานการวิจัย และเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ทางการเกษตรและพัฒนาการเกษตรให้เหมาะสมกับพื้นที่ และใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ซึ่งเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2549 ได้พระราชทานชื่อใหม่ให้โครงการฯ จากชื่อเดิม คือ โครงการพัฒนาพื้นที่สวนบ้านกองแหะ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นโครงการเกษตรวิชญา ตามแนวพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่ ในพื้นที่ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ พื้นที่ส่วนราชการ เป็นที่ตั้งของอาคารศูนย์เรียนรู้ฯ อาคารฝึกอบรม และอาคารศูนย์อภิบาลเด็กสายใยรักจากแม่สู่ลูก รวมถึงแปลงสาธิตจุดเรียนรู้การพัฒนาการเกษตรแบบครบวงจร ส่วนที่ 2 เป็นพื้นที่ทรงงาน ส่วนที่ 3 เป็นพื้นที่พัฒนาการเกษตร ซึ่งขณะนี้มีเกษตรกรเข้าใช้ประโยชน์จากที่ดินเดิมจำนวน 60 ราย มีการจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ฟื้นฟูปรับปรุงดิน พัฒนาแหล่งน้ำ ส่งเสริมอาชีพ และเป็นศูนย์เรียนรู้ ส่วนที่ 4 เป็นพื้นที่วนเกษตรและธนาคารอาหารชุมชน มีการพัฒนาพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมด้วยการอนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร รวมทั้งเป็นแหล่งรวบรวมพัฒนาพืชสมุนไพรและเป็นแหล่งอาหารตามธรรมชาติให้ชุมชนที่มีส่วนร่วม ส่วนที่ 5 เป็นพื้นที่ป่าไม้ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 70 ของพื้นที่ทั้งหมด เป็นพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ป่าไม้ตามธรรมชาติ และพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยววนเกษตร รวมถึงมีการจัดการเส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติ อีกด้วย สำนักงาน กปร.