ทรงสร้างประโยชน์สุขสู่ปวงประชา เสกสรร สิทธาคม [email protected] นายผาย สร้อยสระกลางน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงดำเนินชีวิต(จบ) ผมจำได้ว่าพ่อพายเคยพูดไว้ว่าถ้าจะขุดสระน้ำหนึ่งสระแล้วไปจ้างคนมาทำวันละหนึ่งร้อยบาท ให้นำเงินนั้นไปหยอดกระปุกแทน ก็จะได้เงินกลับมาวันละหนึ่งร้อยแถมสระน้ำอีกหนึ่งสระ “ใช่ผมพูดแบบนั้นเนื่องจากตอนนั้นบ้านพ่อพายแห้งแล้งมาก ไม่มีห้วย ไม่มีคลอง ไม่มีหนอง เราก็ร่วมใจกันทำลงแขกกันวันนี้บ้านนี้ พรุ่งนี้บ้านนู้น เดี๋ยวนี้ไม่อดแล้วทุกงานที่มาร่วมกันทำ ได้ความคิดเรื่องมาได้เพราะคิดว่าน้ำเกิดเพราะเรา มือข้างขวาพ่อให้มา มือข้างซ้ายแม่ให้มานี่คือมรดกของพ่อแม่ อย่านั่งอยู่เฉยๆ ขุดต้องรู้จักให้ขุด ขุดแบบคนในเมืองไม่ได้ คนในเมืองยกขึ้นมาแค่ถึงหัวมันไม่แรง แต่ชาวบ้านเขาขุดพร้อมโยนไปเลย” ผมก็เกิดข้อสงสัยว่าแล้วกว่าที่พ่อผายนั้นจะประสบความสำเร็จจนมีผู้คนอื่นนั้นมาเรียนรู้แล้วทำตามพ่อผายนั้น พ่อผายใช้เวลานานเพียงใดกว่าคนเหล่านั้นจะเชื่อและใช้วิธีการใดให้เขาเชื่อจากใจจริง อีกอย่างหนึ่งคือพ่อผายมีวิธีการสอนเขาอย่างไรให้ เขาประสบความสำเร็จตามรอยพ่อผาย “ผมอธิบายให้ชาวนาที่ไม่ยอมทำนานมาก เพราะ คนเฒ่าคนแก่นะเขาห่วงว่าจะไม่มีข้าวกิน ไม่มีที่ทำนา ก็ไม่ได้คิดว่าอย่างอื่นก็จำเป็นต้องกิน กินข้าวอย่างเดียวได้ไหม กินแต่ผักได้ไหม กินแต่น้ำก็ไหม ก็ไม่ได้ ผมใช้เวลานานกว่า 3 ปี ที่คนจะเชื่อผม ส่วนหนึ่งที่เชื่อเพราะเขาเห็นผลลัพธ์ในสิ่งที่ผมทำ คนเขาจะเชื่อเร็ว พอถึงเวลาผมก็เดินไปพอเห็นเขาขุดก็ชวนมาดูของผม มาดูแล้วให้หาปลากิน ผมไม่ห่วงให้เขากินให้อิ่ม กินอิ่มไหม ใครจะทำแบบนี้บ้าง มีสิบคนมาดูก็ได้สิบสระพอดี “ เมื่อประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งแล้วก็ดีใจที่มีคนเห็นสิ่งที่ทำ พ่อผายได้ให้ปรัชญาไว้ว่า พ่อพายได้พาเขา(ชาวบ้าน) กินข้าวล้อมวงกันใครมีปลาร้าอยู่กลางวง ปลาช่อนตัวใหญ่อยู่ข้างนอก มีคนหนึ่งเขานั่งมองคนอื่นกิน พ่อผายถามเขาว่าทำไมคุณไม่กิน เห็นเขาน่าจะอร่อยเลยจิ้มผิดไปจิ้มดิน พ่อผายก็เลยบอกเขาไปว่าคุณนะโง่ต่อไปคุณจะให้ลูกกินดินงั้นคุณต้องทำ ไปขุดสระ(ซ่อนปรัชญาบางอย่างให้ชีวิตกับคุณภายใต้ประโยคสั้น ๆ นี้) บ้านพ่อผายนั้นก็น้ำเต็มไปหมดไม่คิดเสียดายพื้นที่ใช้สอยในการทำเกษตร แต่พ่อผายนั้นมีวิสัยทัศน์ที่กว้างและยาวไกลยิ่งนัก เพราะคิดว่าต่อมาเดี๋ยวพวกปลา กบก็มา ไม่ต้องไปซื้อเขากิน จะไปซื้อทำไมเงินหายาก ไม่เคยซื้ออาหาร เพราะปลาเยอะ ไก่เยอะ ทำให้รายจ่ายในการดำเนินชีวิตนั้นน้อยมากแต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มี ทั้งนี้น้ำคือชีวิตเพราะคนเราเกิดมาจากน้ำและชีวิตอยู่ได้ก็เพราะว่าน้ำ ตอนนี้พ่อผายได้รับการยกย่องให้เป็นดร.จากการรับพระราชทานจากทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ต่อมาได้ยกระดับให้กลายเป็นปราชญ์เกษตรแห่งแผ่นดิน จากกระทรวงมหาดไทย และในส่วนของการสอนเด็กนั้นจำเป็นต้องสอนเขาตั้งแต่เกิดมา สอนว่าเขาเกิดมากับไม้ ไม้ก็นำไปก่อไฟ แม่คุณต้องกินน้ำร้อน จะทำน้ำร้อนก็ต้องมีไฟ จะมีไฟก็ต้องมีไม้ทำฟืน นั้นแหละทำให้น้ำนมเยอะ แต่ตอนนี้ไฟมันไม่ได้มาจากไม้แล้วความเจริญเข้ามา ก็จะสอนเด็กให้เห็นประโยชน์ของป่า ซึมซับเรื่องราวต่างๆ ของป่า ถ้าไม่มีป่าจะเกิดอะไรขึ้น ค่อยปลูกฝังไปตามธรรมชาติของเด็กเขาการที่จะสอนเด็กไปบังคับไม่ได้ว่าต้องเรียน ต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ ต้องให้เขาเห็นถึงประโยชน์และโทษด้วยตนเองเพื่อให้เขาเรียนรู้และเข้าใจไปเองตามธรรมชาติของเขา ส่วนเรื่องของความเชื่อนั้นเป็นกลอุบาย พ่อพายบอกว่า “ก็เคยทำเหมือนกันที่นาของผมมีต้นไม้ใหญ่ผมเอาดอกไม้ไปปักห้ามทำลายเด็ดขาด เพราะต้นนี้เป็นแม่ข่ายของต้นไม้ เป็นพญาไม้ มีพระแม่ธรณีอาศัยอยู่นี้ คุณทำผิดก็ต้องได้โทษต้องระวัง คนก็ไม่กล้าทำเพราะเขาเชื่อเขากลัวว่าผีมี ผีในต้นไม้ใครอยากให้มีมันก็มี มันมีเพราะคำพูดเรา ไม้รังนี้เอามาสร้างบ้านความเชื่อว่าเงินทองจะไหลมาเทมา และเรื่องความเชื่อที่ว่าด้วยเรื่องทำนาต้องตัดต้นไม้ทิ้ง ผมคิดว่าเป็นเรื่องของความโลภของคน ถ้าปลูกข้าวส่วนหนึ่ง ทำอย่างอื่นส่วนหนึ่งไม่ใช่ทำสิ่งเดียว เกษตรแบบผสมผสานผมคิดว่าหลักปรัชญาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นดีที่สุดแล้ว คนสมัยนี้กับคนสมัยก่อนต่างก่อน สมัยก่อนเขาทำนาทำไร่ไม่ตัดต้นไม้ทิ้ง แต่สมัยนี้ทำนาทำไร่ต้องตัดต้นไม้อื่นให้เกลี้ยงไม่ให้เหลือเลย แต่คนสมัยก่อนเขาทำนาดำ เวลาเหนื่อยเขาจะมีร่มเงาให้พัก” “ผมจำได้ว่าเคยเข้าเฝ้าสมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และพระองค์ทรงตรัสว่าอยากเห็นข้าพเจ้าต้องจับเสียม จับจอบ ขุดต้นไม้ ถ้าปลูกต้นไม้ก็เท่ากับเห็นข้าพเจ้า ถ้ารักในหลวงหรือสมเด็จพระเทพก็ต้องรัก ต้องห่วงต้นไม้และแผ่นดิน พื้นที่บริเวณนั้นก็จะมีสัตว์และพืชนานาชนิด นี้คือสิ่งที่ในหลวงทรงทำให้เรา ผมก็เลยพยายามทำให้ทุกครอบครัวมีแบบนี้ เห็นไหมมาหาผมเนี่ยร่มเย็น ต้นไม้เต็มไปหมด ผมคิดว่าการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชนั้นดี ถ้าเราไม่เอาเงินเป็นตัวตั้งเวลาทำการเกษตร ไม่รู้ว่าจะมีประโยชน์ใดบ้าง แต่อย่างน้อยก็เป็นประโยชน์ต่อระบบนิเวศ” พ่อพายนั้นมิได้แค่สำเร็จแต่ตนเองแล้วไม่ได้แบ่งปันความสำเร็จของตนเองไปหาคนรอบข้าง พ่อพายมีเครือข่ายปราชญ์แผ่นดินที่ตอนนี้ขยายไปไกลแล้ว น่าจะเกือบทั่วอำเภอแล้ว แต่ผมเชื่อว่าสักวันคงจะขยายไปทั่วประเทศ หากเจตจำนงที่พ่อพายต้องการนั้นมีผู้คนสานต่อ และตอนนี้มีผู้สานต่อแล้วคนท่านหนึ่งคือนายถนอม มะธิปิไขย ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษของโรงเรียนวัดโกรกประดู่ ที่ไม่จำเป็นต้องลงมือทำเรื่องอะไรเหล่านี้เลยไม่เห็นจำเป็น นั่งอยู่ในห้องแอร์ บริหารงานของโรงเรียนอย่างเดียวก็พอ แต่ท่านผอ.นั้นมีความรักที่มีต่อป่าไม้ ผอ.ได้เล่าให้ฟังว่า “ผมทำเกษตรแบบนี้ทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน ผมขยายต่อมาจากพ่อพายเพราะผมอยู่กับท่านมา 12 ปี เริ่มทำแล้วก็ขยายเป็นศูนย์เรียนรู้ ก็ได้เดินตามรอยสมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่องอนุรักษ์พันธุกรรมพืชผมก็ทำศูนย์เรียนรู้อยู่ในบริเวณป่ารอบโรงเรียน และเรื่องทำสวนพฤกศาสตร์ แต่ต้องมีข้อมูลทางวิชาการไว้อ้างอิง วันนี้ในทางการต่อยอดของทางโรงเรียนผมคิดว่ายังไม่ต่อยอดเท่าไหร่ ยังเป็นเรื่องของภูมิปัญญาที่ต้องอนุรักษ์ ส่วนเด็กรุ่นใหม่ยังไม่เข้าใจ ผมก็เลยทำโครงการต่อเนื่องของรัฐบาล เรื่องลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ นำฐานพวกนี้ใส่เขาไป เมื่อก่อนผมพานักเรียนมาประจำเพราะบ้านพ่อพายกับโรงเรียนใกล้กัน สมัยที่ผมอยู่ที่นี้ (ตำบลเดียวกับพ่อพาย) จะทำเป็นตารางแล้วจะระบุว่าสัปดาห์ไปแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญากี่วัน แต่ที่นู้นผมยังไม่เคยพามา” คุณทรงเดช ชวดรัมย์ วิทยากรประจำศูนย์อีโตน้อย กล่าวเสริมถึงการปลูกผักหวานป่าว่า “ใช้เหล็กและค้อนตอกลงไปให้เป็นรู ส่วนผักหวานป่าให้นำไปล้างออก ผึงลมให้แห้งเอามาห่อผ้า รดน้ำพอเมล็ดแตกก็นำไปวางที่หลุมที่ขุดไว้ เพราะว่าเวลาเมล็ดนั้นแตกแล้วจะมีรากออกมา ให้รากนั้นลงไปในดินแล้วตัดขวดพลาสติกครอบไว้ ถ้าไม่ครอบไว้ ไก่ก็จะมาเขี่ยหรือสัตว์ต่าง ๆ มากิน ใช้ระยะเวลา 3 ปีได้กินยอดผักหวานป่าแน่นอน เมื่อผักหวานป่าโตแล้วสับรากรอบ ๆ เพราะเมื่อโตแล้วสับรากจะยิ่งงอกขึ้น ผักหวานป่าสามารถทำนอกฤดูก็ได้ แต่ไม่นิยมกินเพราะไม่มีไข่มดแดง วิธีรูดใบทีละกิ่งก็จะแตกยอดใหม่ โดยปีนี้เครือข่ายปราชญ์หมู่บ้านของทางภาคอีสานโดยพ่อผาย ในปี 2560 เราจะทำเรื่องปลูกยางนาให้ได้สิบล้านลบหนึ่งต้นเพื่อถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพราะคาดว่าสมเด็จพระพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จฯ ไปที่บุรีรัมย์ เนื่องจากพระองค์ท่านเดินไปมา 2 ปี แล้วพระองค์ท่านทรงดูแลเรื่องของข้าว ทางเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านของบุรีรัมย์ได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์เป็นผู้เก็บรวบรวมต้นยางนาทั่วจังหวัดบุรีรัมย์ว่ามีจำนวนเท่าไหร่” และยังมีลูกข่ายของพ่อพายที่สานต่อ ทั้งคุณสกุล แก้วเลื่อน และคุณทรงเดช ชวดรัมย์ ผู้ช่วยของพ่อผายที่ตอนนี้เป็นวิทยากรประจำศูนย์อีโตน้อย ที่ค่อยให้ความรู้แก่คนที่มาเรียนรู้ แต่กระนั้นต่อให้คนภายนอกสืบสานเจตนารมณ์ของพ่อพายแล้วแต่คนในครอบครัวนั้นไม่สนใจอะไร ก็อาจจะไร้ความหมายสำหรับพ่อพายและอาจจะเป็นจุดที่ทำให้พ่อพายขาดความน่าเชื่อถือเนื่องจากคนในครอบครัวยังสอนไม่ได้เลย แต่พ่อพายนั้นโชคดีที่ลูกของเขานั้นรักในสิ่งที่พ่อทำไม่ได้มีการต่อต้าน ลูกสาวคนหนึ่งของพ่อพายได้บอกว่า “พ่อบอกว่าที่ปลูกต้นไม้เยอะเพื่อที่จะให้เป็นมรดกของลูกหลานในอนาคต” ตอนนี้ก็ทำให้ลูกหลานได้อยู่ได้กินบนพื้นที่ของพ่อแม่ มีต้นไม้หลายอย่างอยู่ ทั้งไม้เศรษฐกิจ เช่น ไม้สัก ยางนา ประดู่ เต็งรัง ส่วนไม้ที่กินได้ มีชมพู่ ส้มโอ ลำไย ผักหวาน ขนุน น้อยหน่า กล้วย สะตอ ฯลฯ พ่อสอนให้ขุดสระรอบนา แล้วทำร่องให้ปลาวิ่งไปวิ่งมาได้ ปลาจะโตเร็วเพราะมีที่ให้ออกกำลังกาย น้ำในสระส่วนใหญ่ก็เป็นน้ำฝน เก็บไว้ใช้ทำการเกษตร รดผัก รดต้นไม้ ทำนาบ้างที่พ่อผายขุดบ่อไว้เยอะเพื่อไว้เลี้ยงต้นไม้เวลารดน้ำจะได้ง่ายเมื่อมีน้ำล้อมรอบไว้ ในสระก็เลี้ยงปลา ปลาก็จะว่ายไปหากันได้ ปลาในสระก็มีทั้งเอามาปล่อยและมาเองตามธรรมชาติ มีสระทั้งหมดเชื่อมโยงกันได้ ที่ทำอย่างนี้เพราะเหมือนอยู่ในเกาะทำให้ร่มรื่นดีและเพื่อให้ปลามันโตเร็วมันออกไปหากิน อีกหนึ่งประโยชน์คือบ่อฝั่งหนึ่งตื้นก็เหมือนบ่ออนุบาลแบบธรรมชาติ อีกฝั่งหนึ่งลึก ปลาส่วนใหญ่ก็นำมากิน และไว้รองรับแขกผู้มาเยือนทั้งผู้เข้าร่วมอบรมของ หลักสูตรวิทยากรกระบวนการเพื่อการเปลี่ยนแปลงสู่การพึ่งตนเองและพึ่งพากันเอง (วปอ.) อีกบางส่วนเอาไว้ขายบ้าง ขายได้ประมาณ หมื่นกว่าบาทต่อปี จากเงินลงทุนปีละ ห้าพันกว่าบาทฯ และมีไม้ที่เป็นสมุนไพร เช่น ไพรรักษาอาการปวด ว่านหางจระเข้รักษาอาการผุผอง เป็นแผล น้ำร้อนลวก ว่านกาบหอยร่วมกับใบเตยและหญ้านาง ทำเป็นน้ำคลอฟิลเป็นยาฤทธิ์เย็นแก้ไข้ แก้ร้อนใน มะขามป้อม โคคลาน ฯลฯ ส่วนพวกไม้สัก เต็งรังเมื่อโตเต็มที่ก็ตัดขาย รายได้เฉลี่ยต่อวันประมาณ 300 – 400 บาท อย่างกล้วยก็แปรรูปเป็น กล้วยฉาบ กล้วยเบรกแตก สูตรนำมาจากลูกเขยกับลูกสาว “พ่อบอกว่าให้ทำตามพ่อหลวง ดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง รู้จักเก็บหอมรอมริบ รู้จักแบ่งปัน อย่าฟุ่มเฟือย ฉันไม่เคยคิดจะไปอยู่ในเมือง พ่อฉันปลูกฝังตั้งแต่เด็ก เห็นพ่อทำงานก็ทำตามพ่อตั้งแต่เด็ก หิ้วบุ้งกี้ตามพ่อ และเมื่อเห็นพ่อทำได้ก็อยากทำตามพ่อ พ่อทำได้ทำไมเราจะทำไม่ได้ฉันก็เลยลงมือปลูก เมื่อมีคนบอกว่าแก่ขนาดนี้จะปลูกไปทำไม ฉันก็บอกว่าปลูกไว้ให้ลูกหลาน พ่อทำไม่ไหวแล้วฉันก็ต้องสานต่อ” พื้นที่ตรงนี้จะมีคนมาเรียนรู้หรือจัดอบรม เช่นกระทรวงเกษตรฯจะให้งบประมาณมาจัดอบรม จะมีการเชิญชนชาวบ้านมาเรียนรู้การทำงานของพ่อผายเพื่อที่จะนำเอาความรู้ที่ได้ไปทำ จัดปีละหนึ่งครั้ง ระยะเวลา 4 คืน 5 วัน และก็มีองค์กรหลายแห่งก็มาดูงาน “พ่อผายสอนฉันเรื่องทำเกษตรแบบพอเพียงปลูกอยู่ ปลูกกิน ปลูกอะไรที่เรากินได้ พ่อบอกว่าถ้าอยากให้ต้นไม้โตไวให้เดินเข้าไปหาบ่อย ๆ เดินชนบ้าง แตะใบบ้าง ทำอะไรกับเขาบ้าง เขาจะได้รับความอบอุ่นจะได้โตเร็ว ถ้าเราปลูกฝังเขาไว้แล้วเดินหันหลังออกมาไม่ได้ไปดูจะโตไม่ดี ถ้าเราปลูกเอาใจใส่เขาจะโตเร็ว พ่อบอกไม้ที่เอาไม่ปลูกทนร้อน เหมาะกับพื้นที่เรา” คำกล่าวจากลูกสาวของ พ่อผาย ส่วนสุดท้ายที่ขอพูดถึงคือทั้งหมดนั้นเรากล่าวถึงบุคคลรุ่นพ่อผายแล้ว รุ่นลูกแล้ว แต่ถ้าไม่พูดถึงรุ่นหลานซึ่งเป็นสมัยปัจจุบันแล้วนั้นคงจะเหมือนขาดอะไรไปบางอย่าง ผมได้เห็นครอบครัวที่มีความสุขที่สุดครอบครัวหนึ่งบนโลกใบนี้ เขาใช้ชีวิตกันอย่างเรียบง่ายมากและได้พูดคุยกับคุณวีระ สิทธิสาร เลขาศูนย์เรียนรู้ชุมชนกลุ่มอีโตน้อย (หลานเขยพ่อผาย) ในเรื่องที่เกี่ยวกับการสานต่อเจตจำนงของพ่อผาย พี่วีระบอกว่า “พ่อสอนให้เราไม่ลืมวัฒนธรรม ประเพณีและรากเหง้าของตัวเองแม้ว่าเราจะประสบความสำเร็จหรือเติบโตไปขนาดไหน และต้องอดทน ทำอยู่ ทำกิน ไม่รอวาสนา และให้รักษาสิ่งเหล่านี้ไว้บอกต่อรุ่นลูกของผมด้วย และผมยังซึมซับในเรื่องของการแบ่งปัน พึ่งพาตนเองมาจากพ่ออีกด้วย” โดยคุณวีระได้นำผลผลิตต่างๆ ภายในพื้นที่ของพ่อผายไปทำการแปรรูปเป็นสินค้าชนิดใหม่เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเพื่อสร้างรายได้ทั้ง กล้วยฉาบ กล้วยเบรกแตก โดยวิธีการขายนั้นได้นำไปฝากร้านค้าทั่วไปในชุมชน ขายทางสื่อสังคมออนไลน์ และขายฝากเพื่อน หรือผลิตภัณฑ์อื่นอีกที่ทำขึ้นมาเพื่อหารายได้ โดยสูตรต่างๆ ที่ทำมาขายนั้นใช้เวลากว่า 7 ปีกว่าสูตรนั้นจะลงตัวและสามารถทำออกมาขายได้ คุณวีระพาผมไปดูบ่อน้ำบ่อแรกที่พ่อผายขุดขึ้นมาเพื่อเก็บน้ำ ปัจจุบันยังเหลือบ่ออยู่ 2 บ่อโดยอีกหนึ่งบ่อได้เปลี่ยนเป็นทุ่งข้าวไปแล้ว แต่ภายในบ่อยังคงมีปลาอยู่และรอบบริเวณสระมีต้นไม้รอบสระ ทั้งต้นกล้วย ไผ่ ส้มโอ ฯลฯ และถัดจากบ่อออกไปนิดหน่อยก็เป็นนาข้าวที่เขียวขจี สวยงาม และสุดท้ายพ่อผายได้กล่าวถึงการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า “ตอนนั้นผมอยู่ไปเป็นวิทยากรที่หนึ่ง เมื่อรู้เรื่องก็นิ่งและเสียใจ แต่คนที่จัดงานบอกให้ผมพูดให้จบก่อน ผมดีใจที่ครั้งหนึ่งในชีวิตที่ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระองค์นั้นคือบุญของผมมาก และอยากขอให้พระองค์ไปสู่สวรรคคาลัยด้วยความสบายใจ เพราะผมจะดำเนินรอยตามคำพ่อสอนทุกคำ” ...............................................................................