ทรงสร้างประโยชน์สุขสู่ปวงประชา เสกสรร สิทธาคม [email protected] อาชีวะอบรมครูสอนประวัติศาสตร์ชาติไทย สืบสานพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 10 (1) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)โดยมอบหมายหน่วยศึกษานิเทศก์จัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาครูผู้สอนวิชาประวัติศาสตร์ชาติไทยในสถานศึกษาอาชีวะภาคกลางสนองพระราชดำริสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรที่ทรงเน้นย้ำให้ภาคการจัดการศึกษาและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญในการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตรชาติไทยประวัติศาสตร์ราชวงศ์ สนองพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินนาถในรัชกาลที่9 เมื่อวันที่ 27-28ธันวาคม 2559 ที่ผ่านมาที่จังหวัดสุพรรณบุรี ทั้งนี้รัฐบาลโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้มีนโยบายด้านการศึกษาสืบสานพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลที่9 นับแต่เสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติตราบจนเสด็จสวรรคตทรงให้ความสนพระราชหฤทัยในการศึกษาไทยทั้งแต่เยาวชนแก่ประชาชนทั่วไป สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่9 ก็ทรงสืบสานทรงเป็นกำลังสำคัญส่งเสริมสนับสนุน มาจนถึงสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ก็ทรงสืบสานทรงเดินตามรอยพระยุคลบาทรวมถึงพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ก็ทรงเป็นกำลังสำคัญ ทรงส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาเฉพาะอย่างยิ่งด้านประวัติศาสตร์ชาติไทย ศิลปวัฒนธรรมประเพณีวิถีชีวิตที่ดีงามของไทย ทรงเป็นกำลังสำคัญให้มีการเรียนรู้ การทะนุบำรุงชาติศาสนา ศิลปวัฒนธรรม โดยรัฐบาลได้สนองพระมหากรุณาธิคุณมีนโยบายให้นำการศึกษาศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์แห่งการสร้างชาติบ้านเมืองด้วยสถาบันพระมหากษัตริย์เพื่อปลูกฝังซึมซับเยาวชนให้เกิดความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ชาติไทยความภาคภูมิใจในความเป็นไทยมาใช้สร้างสังคมให้ดีงามเข้มแข็งบนรากฐานแห่งคุณธรรมจริยธรรมอย่างมีคุณภาพ ผ่านการศึกษาเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย เพื่อปลูกฝังความรักถิ่นรักมาตุภูมิ สถานศึกษาจึงเริ่มมีแนวคิดพัฒนาครูสอนยกระดับความรู้ให้มีคุณภาพได้มาตรฐานด้านประวัติศาสตร์ไทย วัฒนธรรมประเพณี รวมถึงความรู้ความเข้าใจการซึมซับส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งรวมไปถึงภาไทยภาษาถิ่น ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ระเบียบวินัย ยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ สอศ. จึงกำหนดนโยบายมอบหมายหน่วยศึกษานิเทศก์จัดทำโครงการพัฒนาครูผู้สอนวิชาประวัติศาสตร์ชาติไทย โดยมอบหมายให้ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาภาคกลางดำเนินโครงการหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พ.ศ.2556 ในสถานศึกษาอาชีวะกลุ่มภาคกลาง 14 จังหวัด 75 วิทยาลัยส่งครูผู้สอนแห่งละ 2 คนรวม 150 คนเข้าร่วมอบรมในวันเวลาดังกล่าวเป็นจุดเริ่มจากนั้นจึงขยายไปสถานศึกษาอาชีวะภาคอื่นๆต่อไป มีนายวณิชย์ อ่วมศรี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(รองเลขาธิการกอศ.)เป็นประธานเปิดการอบรม พร้อมให้แนวทางในการดำเนินการ นายวณิชย์ อ่วมศรีรองเลขาธิการกอศ.กล่าวว่าการพัฒนาครูสอนประวัติศาสตร์สำคัญมาก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 ได้ทรงเน้นย้ำถึงพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถที่ทรงให้ความสำคัญประวัติศาสตร์ชาติไทยมาก แล้วพระองค์ท่านเองก็สนพระราชหฤทัยทรงให้ความสำคัญ อาชีวศึกษาเองก็จะได้น้อมนำเอาแนวพระราชดำริมาสืบสานอย่างที่สุด รวมถึงรัฐบาลเองก็ให้นโยบายไว้ว่าให้พัฒนาหลักสูตรประวัติศาสตร์ชาติไทย เน้นย้ำการซึมซับภูมิปัญญาไทยวิถีชีวิตวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามแก่ครูผู้สอนเพื่อถ่ายทอดสู่เยาวชนให้สอดคล้องกับสังคมปัจจุบัน “เอาครูมารับฟังจากท่านผู้รู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ชาติไทย ประวัติศาสตร์พระราชวงศ์สถาบันพระมหากษัตริย์ไทยที่เชิญมาบรรยายเพื่อให้ได้รับรู้ไปในแนวทางเดียวกัน แล้วให้ทำเวิร์คช็อปร่วมกัน ให้ได้ข้อสรุปแยกส่วนระหว่างอดีตกับปัจจุบันให้ชัดเจน โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับพระมหากรุณาธิคุณที่ผ่านพระราชกรณียกิจมากมาย ครูต้องมีความเข้าใจและเข้าใจตรงกันแล้วนำไปสอนไปแนะนำเยาวชนสอนไปทางเดียวกัน โดยน่าจะเริ่มให้สอนได้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2560 นี้เป็นต้นไปสอนเด็กนักเรียนนักศึกษาปวช.และปวส.ที่กำลังจะจบ เน้นเป็นพื้นฐานเริ่มต้นเลย เน้นย้ำให้สอนเรื่องพระราชกรณียกิจหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลที่9 แล้วก็ต่อเชื่อมพระราชกรณียกิจสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรรัชกาลที่10 สืบสานต่อเลยเพื่อที่จะได้น้อมนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันในการดำรงตนเป็นคนดีของสังคม” ........................................................................