"ชูวิทย์" อำลานักข่าวสภา แฉ ปมสินบนโรลส์รอยซ์ คนชื่อ ก มีเอี่ยว จี้ สนช. ออก กม. แลกเปลี่ยนข้อมูลแก้ทุจริต เมื่อเวลา 12.30 น. นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ อดีตหัวหน้าพรรครักประเทศไทยได้ เดินทางมาที่รัฐสภาพร้อมกับวิ ทยุทรานซิสเตอร์ โดยนายชูวิทย์กล่าวว่าที่วันนี้ เดินทางมาที่รัฐสภาก็เพื่ อจะมาล่ำลาพรรคพวกผู้สื่อข่ าวและเจ้าหน้าที่รัฐสภา กลัวว่าผู้สื่อข่าวจะเบื่อ จะคิดถึง ก็เลยมาสร้างสีสัน เพราะตนคงจะไม่มีโอกาสกลับมาที่ รัฐสภาในฐานะนักการเมืองอีกแล้ วแต่คงจะกลับมาในอีกสถานะหนึ่ งที่จะสร้างประโยชน์ให้กับบ้ านเมือง แต่เมื่อตนมาเยี่ยมเยือนผู้สื่ อข่าวก็คงจะไม่มามือเปล่า เนื่องจากทราบว่ารัฐบาลคณะรั กษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นั้นมีนโยบายแจกวิทยุทรานซิ สเตอร์ให้กับผู้ประสบอุทกภั ยในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งตนคิดว่านโยบายแจกวิทยุ ทรานซิสเตอร์นั้นเป็นนโยบายที่ ตนก็เลยตั้งใจนำมาบริจาค โดยหลังจากเสร็จธุระที่รั ฐสภาแล้ว ก็จะนำวิทยุไปบริจาคที่ กรมประชาสัมพันธ์ นายชูวิทย์กล่าวต่อว่าเมื่อเดิ นทางมาถึงรัฐสภาแล้วตนก็มีข้อมู ลลับติดไม้ติดมือมาแถลงตามสไตล์ ของตน ซึ่งก็คือเรื่องกรณีที่บริษั ทโรลส์รอยซ์ที่จ่ายสินบนเพื่ อให้ได้ขายชิ้นส่วนเครื่องยนต์ ของเครื่องบินให้ประเทศไทยนั้น โดยการจ่ายสินบนนั้นมี ตนมีข้อมูลการจ่ายจำนวน 3 ครั้งได้แก่เมื่อตอนปี 2534, 2537 และ 2548 ซึ่งกรณีปี 2534 นั้นคงหมดอายุความไปแล้ว เนื่องจากประเทศไทยมีปัญหาว่ าหลังจากตั้งกรรมการสอบการทุจริ ต 30 วันหรืออย่างมากขยายเวลาไปเป็น 60 วัน ถ้าหากไม่มีอะไร แล้วกระแสสังคมเงียบทุกอย่างก็ กลับไปเป็นเหมือนเดิม ดังนั้นตนจึงขอเรียกร้องให้รั ฐบาลมีความจริงจังในด้านการปราบปรามการทุจริต ถามว่าทำไมศาลอังกฤษกล้าลงข้อมู ลว่าบริษัทดังกล่าวจ่ายสินบนกั นมากกว่า 100 ครั้ง มูลค่ามากกว่า 18.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเงินสินบนนั้นตกอยู่ในมื อใครบ้าง นายชูวิทย์กล่าวว่าสำหรับผู้ที่ มีความเกี่ยวข้องกับกรณีการจ่ ายสินบนนี้มีอยู่ 3 กลุ่มได้แก่ 1. กลุ่มนายหน้าที่จ่ายเงินบี้ยใบ้ รายทาง ประสานงานกับกลุ่มต่างๆ 2. หน่วยงานของรัฐ ซึ่งตนไม่ขอเจาะจงว่าเป็นหน่ วยงานของกระทรวงใด และ 3. สายการบินระดับชาติ เมื่อถามว่าพอจะเปิดเผยข้อมู ลได้หรือไม่ว่าใครเข้าไปเกี่ ยวข้องบ้าง นายชูวิทย์กล่าว่าขอเปิดเผยชื่ อย่อก่อน ประกอบไปด้วยพยัญชนะไทยอักษรแรก เมื่อถามต่อว่าบุคคลที่มีชื่อ ก นั้น นั้นเป็นรัฐมนตรีหรือว่ าเป็นผู้บริหารการบินไทย นายชูวิทย์กล่าวว่าผู้สื่อข่ าวรู้อยู่แล้ว ต่อไปนี้ตนก็จะไปอยู่ในฝั่งเดี ยวกับผู้สื่อข่าวแล้ว ดังนั้นสิ่งที่ตนพูดจะเอาไปเป็ นประโยชน์ให้กับประชาชน จะไม่เก็บข่าวแล้ว และต่อจากนี้ก็คงต้องขอฝากเนื้ อฝากตัวกับผู้สื่อข่าวด้วย เมื่อถามต่อว่าคิดว่ารัฐบาล คสช.จะมีศักยภาพพอจะดำเนินการจั ดการกับปัญหาทุจริตได้หมดหรื อไม่ นายชูวิทย์กล่าวว่าไม่ได้ เพราะว่าเรื่องบางเรื่อง คดีบางคดีเกิดมานานแล้ว ถ้าเกิดกรณีทุจริตเลยจากปีหนึ่ งก้ลำบากในการดำเนินคดี เลย 5 ปีไปก็ยิ่งลำบาก ถ้าเลย 10 ปีไปก็ลืมไปได้เลย เมื่อถามต่อว่ามั่นใจหรือไม่ว่ าข้อมูลที่มีนั้นเป็นเรื่องใหม่ นายชูวิทย์กล่าวว่าข้อมูลที่ ตนมีนั้นเป็นแบบที่ศาลอังกฤษมี ที่ศาลอังกฤษสามารถลงข้อมูลได้ ก็เพราะเขามีเรื่ องระบบการแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้ ข้อมูล หมายความว่าเมื่อยอมรับในเรื่ องหนึ่งแล้ว เขาก็จะไม่ลงโทษในอีกเรื่องหนึ่ ง หรือให้ผลประโยชน์ในอีกเรื่ องหนึ่ง อาทิ กรณีบริษัทซัมซุงที่กล้าเปิ ดเผยข้อมูลเพราะเขาอาจจะได้ ผลประโยชน์ทดแทน เช่นรัฐบาลจะไม่เก็บภาษีเขา เป็นต้น ดังนั้นตนขอแนะนำว่ าประเทศไทยควรจะมีระบบแบบนี้บ้ าง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ควรจะออกกฎหมายนี้เพื่อเอื้อให้ เกิดการแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้ข้ อมูลเกิดขึ้น