ตรัง “จัดแถว” ผู้ติดยาเสพติด เข้าค่าย “ศูนย์ขวัญแผ่นดินจังหวัดตรัง” ติวเข้มกิจกรรมหนีห่างไม่เกี่ยวข้องยาเสพติด ขณะที่ ผู้ว่าฯปิ้งไอเดียร์ จัดตั้งเป็นรุ่นทำกิจกรรมร่วม สร้างเกราะป้องกัน เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 24 มกราคม 2560 ณ โรงเรียนวิวัฒนพลเมืองฝ่ายปกครอง กองร้อยอาสาสมัครรักษาดินแดนตรัง นายศิริพัฒ พัฒกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง นายพงษ์ศักดิ์ คารวานนท์ ปลัดจังหวัดตรัง เป็นประธานและร่วมในพิธีปิดกิจกรรมการอบรม “ค่ายศูนย์ขวัญแผ่นดิน” โดยมีกลุ่มผู้ติดยาเสพติดเข้ารับการอบรมจำนวน 110 คน นายพงษ์ศักดิ์คารวานนท์ ปลัดจังหวัดตรัง กล่าวว่า การดำเนินการโครงการ ค่ายศูนย์ขวัญแผ่นดินจังหวัดตรัง ให้กับกลุ่มเสี่ยงติดยาเสพติด เพื่อให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเสพยาเสพติด ด้วยการอบรมให้ความรู้ด้านวิชาการ การทำกิจกรรมกลุ่ม การฝึกอาชีพ กิจกรรมนันทนาการ การฝึกระเบียบวินัย สร้างภาวะจิตใจให้เข้มแข็ง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเอาชนะยาเสพติดพื่อกลับตัวเป็นคนดีมีคุณภาพของครอบครัว สังคม และประเทศชาติ นายศิริพัฒ พัฒกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง กล่าวถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดยาเสพติดในพื้นที่จังหวัดตรังว่า มีความเสมอต้นเสมอปลาย มีทั้งลดและเพิ่ม ที่ลดเนื่องมาจากการดำเนินการของภาคราชการ ประชาชน ประสบความสำเร็จ แต่ก็ยังมีเร็ดลอดโดยมีกลุ่มเสี่ยงใหม่ๆเกิดขึ้น เป็นมามาจากวัย ซึ่งวัยรุ่นอยากรู้อยากเห็น ที่ได้รับอิทธิพลจากสื่อต่างๆไม่ว่าจะเป็นสื่อออนไลน์ซึ่งยังแก้ไม่ตก ตนเชื่อว่าในที่สุดแล้วเราต้องมีแนวทางใหม่ๆในการแก้ไขและป้องกันยาเสพติด นายศิริพัฒ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ต้องทำให้บุคคลกลุ่มนี้ได้เป็นคนที่ดูแลตัวเอง แก้ปัหาด้วยตัวเอง หากเขาเหล่านั้นแก้ตัวเองได้แล้ว เขาย่อมรู้โทษที่เขาได้รับ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกาย สังคม เพื่อจะได้มีภูมิคุ้มกันมีศักยภาพพอที่จะไปพูดกับคนที่เริ่มติด หรือติดแล้ว จะพูดได้ชัดเจนกว่า น่าเชื่อถือมากกว่า และตนเชื่อว่า สิ่งเหล่านี้จะยั้งยืน ทางภาคราชการเองจะต้องหามาตรการหลักสูตร อบรมบุคคลกลุ่มดังกล่าวให้มีคุณสมบัติแบบนั้นได้ สามารถที่จะรู้ผิด รู้ชอบด้วยตัวของเขาเอง และสร้างความเข้มแข็งให้ตัวเอง อย่างน้อยกลุ่มที่ผ่านการอบรมสามารถที่จะสร้างความเข้มแข็ง ตั้งมั่น รู้สาเหตุถึงการเสพยา หรือค้ายา โดยรู้วิธีการของการเลิก ตัวนี้จะเปรียบเสมือนผลซักฟอเข้มข้นที่จะไปละลายสิ่งไม่ดีออกจากตัวเองได้ “สิ่งที่ตนเป็นห่วงเนื่องจาก เราไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาได้อย่างยั้งยืน แม้ว่าทางจังหวัดตรังจีหลักสูตรมานานกว่า 10 ปี แต่ว่าความยั้งยืนไม่มีเพราะว่าเราอาจจะต้องมีการติดตามผลของการฝึกอบรมที่จะต้องครบวงจรอย่างแท้จริง มีการประเมินผลระหว่างอบรม จบหลักสูตรต้องมีการประเมินผลอย่างเข้มงวดและชัดเจน ผมจึงคิดว่า สมควรที่จะมีการจัดตั้งเป็นรุ่นๆ มีประธาน เลขา เหรัญญิก ประชาสัมพันธ์กิจกรรม นันทนาการรุ่น มีการพบปะจัดรวมรุ่น โดยให้วิทยากรเป็นที่ปรึกษา เหล่านี้จะสามารถตรวจสอบได้ว่า ตกลงแล้วใครกี่คนที่กลับมา ใครกี่คนที่จากไปและไปแบบไหนที่ไม่เข้ามาร่วม ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของการแก้ปัญหาระยะยาว ที่ผู้ติดยาต้องแก้ปัญหาด้วยตัวเอง ตัวเขาอาจแก้ไม่ได้ แต่ระบบกลุ่ม ระบบรุ่นจะสามารถช่วยได้ในอันที่จะเกิดความรัก ความสามัคคีที่ดีต่อกัน” นายศิริพัฒ กล่าว